อัชชัยค์ญัรรอห์

31°47′40.50″N 35°13′54.75″E / 31.7945833°N 35.2318750°E / 31.7945833; 35.2318750

ย่านอัชชัยค์ญัรรอห์ ฉากหลังคือใจกลางนครเยรูซาเลม

อัชชัยค์ญัรรอห์ (อาหรับ: الشيخ جراح; ฮีบรู: שייח' ג'ראח) เป็นย่านหนึ่งของเยรูซาเลมตะวันออกที่มีประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวปาเลสไตน์ อยู่ห่างจากเมืองเก่าเยรูซาเลมไปทางทิศเหนือ 2 กิโลเมตรตามถนนสายที่มุ่งหน้าไปยังเขาสโกปัส[1][2] ย่านนี้ได้ชื่อตามสุสานสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 13 ของชัยค์ญัรรอห์ซึ่งเป็นแพทย์คนหนึ่งของเศาะลาฮุดดีน ตัวย่านสมัยใหม่ได้รับการก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1865 และค่อย ๆ กลายเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของชนชั้นสูงมุสลิมในเยรูซาเลมโดยเฉพาะตระกูลอัลฮุซัยนี หลังสงครามอาหรับ–อิสราเอล ค.ศ. 1948 ย่านอัชชัยค์ญัรรอห์มีอาณาเขตจรดดินแดนที่ไม่มีเจ้าของระหว่างเยรูซาเลมตะวันออกซึ่งจอร์แดนตรึงกำลังไว้กับเยรูซาเลมตะวันตกซึ่งอิสราเอลตรึงกำลังไว้ จนกระทั่งย่านนี้ถูกอิสราเอลเข้ายึดครองในช่วงสงครามหกวัน ค.ศ. 1967 กล่าวกันว่าประชากรชาวปาเลสไตน์ของย่านในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นผู้ลี้ภัยที่ถูกขับไล่ออกจากย่านตัลบียาของเยรูซาเลมตะวันตกใน ค.ศ. 1948[3]

ในปัจจุบันอัชชัยค์ญัรรอห์เป็นศูนย์กลางข้อพิพาทเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ระหว่างชาวปาเลสไตน์กับชาวอิสราเอล ชาวอิสราเอลชาตินิยมได้ดำเนินการเพื่อเข้าไปอยู่แทนที่ประชากรชาวปาเลสไตน์ในย่านนี้ตั้งแต่ ค.ศ. 1967[4] ในช่วงห้าทศวรรษที่ผ่านมามีการก่อสร้างนิคมชาวอิสราเอลขึ้นจำนวนหนึ่งประชิดย่านอัชชัยค์ญัรรอห์[5]

อ้างอิง แก้

  1. Zirulnick, Ariel. Bryant, Christa Case. Five controversial Jewish neighborhoods in East Jerusalem Christian Science Monitor. 10 January 2011
  2. Medding, Shira. Khadder, Kareem. Jerusalem committee OKs controversial construction plan เก็บถาวร 2011-02-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน CNN 07 February 2011
  3. Neri Livneh, 'So What's It Like Being Called an Israel-hater?,' Haaretz 16 March 2010.
  4. Israel under pressure to rein in settlers after clashes at al-Aqsa mosque: Fresh skirmishes break out in the early hours of Sunday amid protests by Palestinians against evictions in East Jerusalem, Financial Times, 9 May 2021: "Jewish settlers have for decades targeted Sheikh Jarrah, a middle-class Arab neighbourhood between east and west Jerusalem, aiming to turn it into a majority Jewish area."
  5. Scott A. Bollens (6 January 2000). On Narrow Ground: Urban Policy and Ethnic Conflict in Jerusalem and Belfast. SUNY Press. p. 79. ISBN 978-0-7914-4413-9. These colonies — Ramot Eshkol, Givat Hamivtar, Maalot Dafna, and French Hill — were built in and adjacent to the Arab Sheikh Jarrah quarter.