อัคคีภัยครั้งใหญ่ในกรุงโรม

อัคคีภัยครั้งใหญ่ในกรุงโรม (อังกฤษ: The Great Fire of Rome; ละติน: Magnum Incendium Romae) เกิดขึ้นในคืนวันที่ 18 กรกฎาคม ค.ศ. 64 นักประวัติศาสตร์ แทซิทัส ได้สันนิษฐานว่าต้นตอของไฟมาจากกลุ่มร้านค้ารอบ Circus Maximus ซึ่งเป็นสนามแข่งรถม้า (Chariot Racing) [1] และเนื่องจากบ้านเรือนในกรุงโรมสมัยนั้นสร้างจากไม้ ไฟจึงลุกลามอย่างรวดเร็ว[1] ชาวโรมเกือบจะควบคุมไฟได้หลังจากไฟไหม้ดำเนินมาถึงวันที่ห้า แต่ก็ไม่สามารถดับไฟได้สนิท ทำให้ไฟเริ่มโหมใหม่อีกรอบหนึ่ง[2] ซูโทเนียส นักประวัติศาสตร์ชาวโรมันอีกคนหนึ่ง กล่าวว่า ไฟได้เผาผลาญกรุงโรมไปถึง 6 วัน 7 คืน[3] พื้นที่ทั้งหมด 4 เขตจากทั้งหมด 14 เขตถูกไฟเผาจนพังย่อยยับ ส่วนอีก 7 เขตได้รับความเสียหายอย่างหนัก[4] ไฟยังทำได้เผาทำลายสถานที่สำคัญอย่าง พระราชวังของจักรพรรดิเนโร วิหารแห่งจูปิเตอร์ และบางส่วนของเทวสถานแห่งเวสตา[5]

อัคคีภัยและการสร้างกรุงโรมใหม่ แก้

ตามการบันทึกของแทซิทัส ซึ่งมีอายุ 9 ขวบในเหตุการณ์ดังกล่าว[6] ระบุว่า ไฟได้ลุกลามอย่างรวดเร็วและลุกไหม้ติดต่อกันเป็นเวลานานห้าวัน[2] ทำลายพื้นที่ 4 เขต และสร้างความเสียหายอย่างหนักให้กับพื้นที่อีก 7 เขต[2] ส่วน พลินิผู้อาวุโส นักประวัติศาสตร์อีกคนหนึ่งที่มีชีวิตอยู่ในช่วงที่เกิดอัคคีภัยครั้งใหญ่ ก็ได้กล่าวถึงอัคคีภัยครั้งนี้ด้วย[7] ในขณะที่นักประวัติศาสตร์ชาวโรมันคนอื่น ๆ ไม่ได้กล่าวถึงอัคคีภัยครั้งนี้เลย[8] ส่วนอีกบันทึกหนึ่งเกี่ยวกับขนาดของอัคคีภัยอยู่ในจดหมายของเซเนกา ที่ส่งไปยังพอลแห่งทาร์ซัส ว่า "บ้านเรือนกว่า 132 หลังคาเรือน และอาคารกว่าสี่ช่วงตึกถูกเผาทำลายภายในเวลาหกวัน และไฟเริ่มมอดลงในวันที่เจ็ด"[9] บันทึกดังกล่าวยังระบุว่า อัคคีภัยครั้งนี้ได้เผาทำลายกรุงโรมไปน้อยกว่าหนึ่งในสิบของกรุงโรมทั้งหมด เนื่องจากกรุงโรมมีบ้านพักอาศัยส่วนตัวกว่า 1,700 หลังคาเรือน และห้องชุดกว่า 47,000 หน่วย

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 Tacitus, Annals XV.38
  2. 2.0 2.1 2.2 Tacitus, Annals XV.40
  3. Suetonius, The Lives of Twelve Caesars, Life of Nero, 38
  4. Tacitus, Annals XV.40
  5. Tacitus, Annals XV.41
  6. Barnett, Paul (2002). Jesus & the Rise of Early Christianity. InterVarsity Press. ISBN 0830826998.
  7. Pliny the Elder, Natural Histories, XVII, Pliny mentions trees that lasted "down to the Emperor Nero's conflagration"
  8. Smallwood, E. Mary (1976). The Jews under Roman rule. Leiden: Brill Archive. p. 217. ISBN 90-04-04491-4.
  9. The Correspondence of Paul and Seneca เก็บถาวร 2010-11-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (forged), M.R. James, the translator, says the document is from the 4th century and "is of the poorest kind".

แหล่งข้อมูลอื่น แก้