อักษรมองโกเลีย (มองโกเลีย: Mongγol bičig, ซีริลลิก: Монгол бичиг, Mongol bichig) เป็นอักษรที่ใช้เขียนภาษามองโกเลีย

อักษรมองโกเลีย
ชนิดอักษรสระ-พยัญชนะ
ภาษาพูดภาษามองโกเลีย
ภาษาเอเวนค์
ช่วงยุคประมาณ พ.ศ. 1747 (ค.ศ. 1204)–ปัจจุบัน
ระบบแม่
ระบบลูกอักษรแมนจู
อักษรโตโด (Clear script)
Vaghintara script
ช่วงยูนิโคดU+1800–U+18AF
ISO 15924Mong
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทศาสตร์สัทอักษรสากล หากไม่มีการสนับสนุนเร็นเดอร์ที่เหมาะสม คุณอาจเห็นเครื่องหมายคำถาม กล่อง หรือสัญลักษณ์อื่นแทนอักขระยูนิโค้ด

เมื่อพ.ศ. 1751 เจงกิสข่านรบชนะไนมันและนำอักษรอุยกูร์ ตาตาร์-ตอนกา ซึ่งต่อมาพัฒนาเป็นอักษรอุยกูร์ มาเขียนภาษามองโกเลีย อักษรอุยกูร์เหล่านี้มาจากอักษรซอกเดีย ที่มาจากอักษรอราเมอิกอีกต่อหนึ่ง

ระหว่างพ.ศ. 1800 – 2000 ภาษามองโกเลียเขียนด้วยอักษรจีน อักษรอาหรับและอักษรพักปา ในช่วงที่ได้รับอิทธิพลจากสหภาพโซเวียต ภาษามองโกเลียเขียนด้วยอักษรละตินเมื่อ พ.ศ. 2474 และใช้อักษรซีริลลิกเมื่อ พ.ศ. 2480 ใน พ.ศ. 2484 รัฐบาลออกกฎหมายล้มเลิกอักษรมองโกเลีย แต่ได้มีการฟื้นฟูอักษรดังกล่าวอีกเมื่อ พ.ศ. 2537 ปัจจุบันมีการสอนการใช้อักษรนี้ในโรงเรียน ประชาชนราวครึ่งหนึ่งในมองโกเลียรู้อักษรนี้นิดหน่อยหรือไม่รู้เลย ส่วนใหญ่จะอ่านได้เฉพาะอักษรซีริลลิก อักษรมองโกเลียนี้ยังใช้อยู่ในเขตปกครองตนเองมองโกเลียใน ในประเทศจีน

อักษรนี้แยกสระและพยัญชนะออกจากกัน เขียนในแนวตั้งจากบนลงล่าง บรรทัดจากซ้ายไปขวา ซึ่งต่างจากอักษรที่เขียนในแนวตั้งอื่นๆที่มักจะเขียนจากขวาไปซ้าย อักษรมีรูปร่างต่างกันขึ้นกับตำแหน่งภายในคำ


ยูนิโคด แก้

อักษรมองโกเลียได้รับการบรรจุลงในยูนิโคดใน ช่วงรหัส U+1800–U+18AF

Mongolian[1][2]
Official Unicode Consortium code chart (PDF)
  0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 A B C D E F
U+180x FVS
1
FVS
2
FVS
3
MVS FVS
4
U+181x
U+182x
U+183x
U+184x
U+185x
U+186x
U+187x
U+188x
U+189x
U+18Ax
Notes
1.^ ตั้งแต่ยูนิโคดเวอร์ชัน 14.0
2.^ ส่วนสีเทาคือบริเวณที่ไม่ได้ถูกกำหนดอักษร


อ้างอิง แก้