อักษรพม่า

ระบบการเขียนของพม่า

อักษรพม่า (พม่า: မြန်မာအက္ခရာ) เป็นอักษรในตระกูลอักษรพราหฺมี ใช้ในประเทศพม่าสำหรับการเขียนภาษาพม่า ในสมัยโบราณ การเขียนอักษรพม่าจะกระทำโดยการจารลงในใบลาน ตัวอักษรพม่าจึงมีลักษณะโค้งกลมเพื่อหลบร่องใบลาน อักษรพม่าเขียนจากซ้ายไปขวาเหมือนอักษรไทย และอักษรภาษาอื่น ๆ ในตระกูลอักษรพราหฺมี

อักษรพม่า
วลี อักษรพม่า ในภาษาพม่าที่เขียนด้วยอักษรพม่า
ชนิดอักษรสระประกอบ
ภาษาพูดพม่า, บาลี และสันสกฤต
ช่วงยุคประมาณ พ.ศ. 1527 หรือ พ.ศ. 1578–ปัจจุบัน
ระบบแม่
ช่วงยูนิโคดU+1000–U+104F
ISO 15924Mymr
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทศาสตร์สัทอักษรสากล หากไม่มีการสนับสนุนเร็นเดอร์ที่เหมาะสม คุณอาจเห็นเครื่องหมายคำถาม กล่อง หรือสัญลักษณ์อื่นแทนอักขระยูนิโค้ด
ตัวพยัญชนะพม่า ตั้งแต่ กะ ถึง อะ (ถอดเป็นอักษรไทยตามรูป จากซ้ายไปขวาและบนลงล่าง) ก,ข, ค, ฆ, ง, จ, ฉ, ช, ฌ, ญ, ฏ, ฐ, ฑ, ฒ, ณ, ต, ถ, ท, ธ, น, ป, ผ, พ, ภ, ม, ย, ร, ล, ว, ส, ห, ฬ, อ

อักษรพม่าประกอบด้วยพยัญชนะ และสระ โดยมีพยัญชนะ 33 ตัว ตั้งแต่ က (กะ) ถึง (อะ) ซึ่งเสียงของพยัญชนะจะถูกเปลี่ยนแปลงโดยสระที่เขียนเหนือ, ใต้, หรือข้าง ๆ พยัญชนะ เหมือนกับอักษรภาษาอื่น ๆ ในตระกูลอักษรพราหฺมี

อักษรพม่าใกล้เคียงกับอักษรมอญมาก แต่วิธีการออกเสียงเมื่อประสมสระต่างกัน ทั้งนี้เพราะความแตกต่างของทั้ง 2 ภาษา เช่นภาษาพม่ามีวรรณยุกต์แต่ภาษามอญไม่มี กล่าวกันว่าพม่ารับเอาอักษรมอญมาดัดแปลงเมื่อเข้าครอบครองอาณาจักรมอญโบราณ ในทำนองเดียวกันเมื่อพม่าเข้าครอบครองอาณาจักรไทใหญ่ ชาวไทใหญ่ได้นำอักษรพม่าบางตัวไปเขียนภาษาบาลีเพราะอักษรไทใหญ่มีไม่พอ

อักษรพม่า แก้

ชื่อวรรค วรรค
สิถิล (သိထိလ) ธนิต (ဓနိတ) โฆษะ (လဟု) นาสิก (နိဂ္ဂဟိတ)
กัณฐชะ(ကဏ္ဍဇ)
วรรค กะ(ကဝဂ်)
က /k/, ก /kʰ/, ข /ɡ/, ค (ออกเสียง ก ก้อง) /ɡ/, ฆ (ออกเสียง ก ก้อง) /ŋ/, ง
ကကြီး [ka̰ dʑí] ခခွေး [kʰa̰ ɡwé] ဂငယ် [ɡa̰ ŋɛ̀] ဃကြီး [ɡa̰ dʑí] [ŋa̰]
ตาลุชะ
(တာလုဇ)
วรรค จะ(စဝဂ်)
/s/, จ (ออกเสียง ซ) /sʰ/, ฉ (ออกเสียง ซ พ่นลม) /z/, ช (ออกเสียง ซ ก้อง) /z/, ฌ (ออกเสียง ซ ก้อง) ဉ/ည /ɲ/, ญ (ออกเสียง ย นาสิก)
စလုံး [sa̰ lóuɴ] ဆလိမ် [sʰa̰ lèiɴ] ဇခွဲ [za̰ ɡwɛ́] ဈမျဉ်းဆွဲ [za̰ mjɪ̀ɴ zwɛ́] ညကြီး [ɲa̰ dʑí]
มุทธชะ
(မုဒ္ဒဇ)
วรรค ฏะ(ဋဝဂ်)
/t/, ฏ /tʰ/, ฐ /d/, ฑ (ออกเสียง ด) /d/, ฒ (ออกเสียง ด) /n/, ณ
ဋသန်လျင်းချိတ် [ta̰ təlɪ́ɴ dʑeiʔ] ဌဝမ်းဘဲ [tʰa̰ wʊ́ɴ bɛ́] ဍရင်ကောက် [da̰ jɪ̀ɴ ɡauʔ] ဎရေမှုတ် [da̰ jè m̥ouʔ] ဏကြီး [na̰ dʑí]
ทันตชะ
(ဒန္တဇ)
วรรค ตะ(တဝဂ်)
/t/, ต /tʰ/, ถ /d/, ท (ออกเสียง ด) /d/, ธ (ออกเสียง ด) /n/, น
တဝမ်းပူ [ta̰ wʊ́ɴ bù] ထဆင်ထူး [tʰa̰ sʰɪ̀ɴ dú] ဒထွေး [da̰ dwé] ဓအောက်ခြိုက် [da̰ ʔauʔ tɕʰaiʔ] နငယ် [na̰ ŋɛ̀]
โอฏฐชะ
(ဩဌဇ)
วรรค ปะ(ပဝဂ်)
/p/, ป /pʰ/, ผ /b/, พ (ออกเสียง บ) /b/, ภ (ออกเสียง บ) /m/, ม
ပစောက် ([pa̰ zauʔ]) ဖဦးထုပ် ([pʰa̰ ʔóuʔ tʰouʔ]) ဗထက်ခြိုက်‌ ([ba̰ lɛʔ tɕʰaiʔ]) ဘကုန်း ([ba̰ ɡóuɴ]) [ma̰]
เศษวรรค
อวรรค
(အဝဂ်)
/j/, ย /j/, ร (ออกเสียง ย ในสำเนียงกลาง) /l/, ล /w/, ว /θ/, ส (ออกเสียง ซ แลบลิ้น)
ယပက်လက် [ja̰ pɛʔ lɛʔ] ရကောက်‌ [ja̰ ɡauʔ] လငယ် [la̰ ŋɛ̀] ဝ‌ [wa̰] သ‌ [θa̰]
/h/, ห /l/, ฬ /ʔ/, อ
ဟ‌ [ha̰] ဠကြီး [la̰ dʑí] [ʔa̰]

อักษร ก (က) /k/ เมื่อผสมอักษร ย/ร (ျ/ြ) /j/ จะออกเสียงเป็น จ (ကျ/ကြ) /tɕ/

อักษร ข (ခ) /kʰ/ เมื่อผสมอักษร ย/ร (ျ/ြ)/j/ จะออกเสียงเป็น ช (ချ/ခြ) /tɕʰ/

อักษร ค/ฆ (ဂ/ဃ) /ɡ/ เมื่อผสมอักษร ย/ร (ျ/ြ) /j/ จะออกเสียงเป็น จ ก้อง (ဂျ/ဂြ/ဃျ/ဃြ) /dʑ/

อักษร ง (င) /ŋ/ เมื่อผสมอักษร ย/ร (ျ/ြ) /j/ จะออกเสียงเป็น ย นาสิก (ญ) (ငျ/ငြ) /ɲ/

ยูนิโคด แก้

พม่า
Unicode.org chart (PDF)
  0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 A B C D E F
U+100x က
U+101x
U+102x
U+103x
U+104x
U+105x
U+106x
U+107x
U+108x
U+109x


พม่า ส่วนขยาย-A
Unicode.org chart (PDF)
  0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 A B C D E F
U+AA6x
U+AA7x        


ดูเพิ่ม แก้

อ่านเพิ่ม แก้

  • Aung-Thwin, Michael (2005). The mists of Rāmañña: The Legend that was Lower Burma (illustrated ed.). Honolulu: University of Hawai'i Press. ISBN 978-0-8248-2886-8.
  • Harvey, G. E. (1925). History of Burma: From the Earliest Times to 10 March 1824. London: Frank Cass & Co. Ltd.
  • Herbert, Patricia M.; Anthony Milner (1989). South-East Asia. University of Hawaii Press. ISBN 978-0-8248-1267-6.
  • Lieberman, Victor B. (2003). Strange Parallels: Southeast Asia in Global Context, c. 800–1830, volume 1, Integration on the Mainland. Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-80496-7.
  • "A History of the Myanmar Alphabet" (PDF). Myanmar Language Commission. 1993. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 26 มีนาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 30 สิงหาคม 2010.
  • "Representing Myanmar in Unicode Details and Examples" (PDF). Martin Hosken. สืบค้นเมื่อ 24 กรกฎาคม 2012.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

โปรแกรมการแปลงอักษรพม่า แก้

แปลงอักษร แก้