อะโครโซม (อังกฤษ: acrosome) เป็นออร์แกเนลล์ส่วนหัวของตัวอสุจิ (สเปิร์ม) ของสัตว์ส่วนใหญ่รวมถึงมนุษย์ มีรูปร่างคล้ายหมวก พัฒนามาจากกอลไจแอปพาราตัส ในสัตว์ที่มีรกสมบูรณ์ เอนไซม์สำคัญในอะโครโซมคือไฮยาลูโรนิเดส (hyaluronidase) และอะโครซิน (acrosin)[1] ซึ่งจะสลายชั้นนอกของเซลล์ไข่ที่เรียกว่า zona pellucida เพื่อให้นิวเคลียสแฮพลอยด์ของอสุจิเข้าไปผสมกับนิวเคลียสแฮพลอยด์ของไข่ได้[2]

การปล่อยถุงอะโครโซมหรือปฏิกิริยาอะโครโซมสามารถกระตุ้นได้ในหลอดทดลอง (in vitro) ด้วยสารที่เซลล์อสุจิอาจเจอได้ตามธรรมชาติเช่น โพรเจสเทอโรน, ฟอลลิคูลาร์ฟลูอิด, รวมถึงแคลเซียมไอออโนฟอร์ A23187 ที่มีการใช้อย่างแพร่หลาย ในการประเมินปฏิกิริยาอะโครโซมของตัวอย่างอสุจิโดยวิธีโฟลว์ไซโทเมทรีหรือการใช้กล้องจุลทรรศน์ฟลูออเรสเซนซ์ จะใส่สารดังกล่าวลงในชุดทดลองเพื่อให้ทำหน้าที่เป็นกลุ่มควบคุมแบบบวก[3] ซึ่งโดยปกติจะทำหลังจากการย้อมสีด้วย fluoresceinated lectin เช่น FITC-PNA, FITC-PSA, FITC-ConA หรือ fluoresceinated antibody เช่น FITC-CD46[4]

อสุจิของมนุษย์

ในผู้ที่มีภาวะ globozoospermia ซึ่งผลิตอสุจิที่มีส่วนหัวกลม กอลไจแอปพาราตัสจะไม่เปลี่ยนเป็นอะโครโซม ทำให้เกิดภาวะการมีบุตรยาก[5]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. "acrosome definition - Dictionary - MSN Encarta". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-14. สืบค้นเมื่อ 2007-08-15.
  2. Larson, Jennine L.; Miller, David J. (1999). "Simple histochemical stain for acrosomes on sperm from several species". Molecular Reproduction and Development (ภาษาอังกฤษ). 52 (4): 445–449. doi:10.1002/(SICI)1098-2795(199904)52:4<445::AID-MRD14>3.0.CO;2-6. ISSN 1098-2795. PMID 10092125.
  3. Miyazaki R, Fukuda M, Takeuchi H, Itoh S, Takada M (1990). "Flow cytometry to evaluate acrosome-reacted sperm". Arch. Androl. 25 (3): 243–51. doi:10.3109/01485019008987613. PMID 2285347.
  4. Carver-Ward JA, Moran-Verbeek IM, Hollanders JM (February 1997). "Comparative flow cytometric analysis of the human sperm acrosome reaction using CD46 antibody and lectins". J. Assist. Reprod. Genet. 14 (2): 111–9. doi:10.1007/bf02765780. PMC 3454831. PMID 9048242.
  5. Hermann Behre; Eberhard Nieschlag (2000). Andrology : Male Reproductive Health and Dysfunction. Berlin: Springer. p. 155. ISBN 3-540-67224-9.