ออดรีย์ เฮปเบิร์น

(เปลี่ยนทางจาก ออเดรย์ เฮปเบิร์น)

ออดรีย์ เฮปเบิร์น (อังกฤษ: Audrey Hepburn; 4 พฤษภาคม ค.ศ. 1929 - 20 มกราคม ค.ศ. 1993) เป็นนักแสดงและนางแบบชาวอังกฤษเชื้อสายดัตช์ เธอเป็นหนึ่งในนักแสดงหญิงเพียงไม่กี่คน ที่ถูกจัดอันดับว่าเป็น 1 ใน 10 นักแสดงหญิงที่ยอดเยี่ยมที่สุดของโลกตลอดกาล เธอเป็นแฟชั่นไอคอลและได้รับการขนานนามว่า "เจ้าหญิงแห่งวงการฮอลลีวู้ดยุคทอง" เธอเกิดที่บรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม โตในอาร์เนม ประเทศเนเธอร์แลนด์ โดยในช่วงวัยเด็กและในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 เธอได้เรียนบัลเลต์ที่นี่ หลังจากนั้นย้ายไปยังลอนดอนในปี 1948 โดยเธอได้เรียนการแสดงและทำงานเป็นนางแบบ หลังจากนั้นมีผลงานแสดงภาพยนตร์ และแสดงในละครเวทีเรื่อง Gigi จนสามารถคว้ารางวัลออสการ์ สาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม ในปี 1954 จากภาพยนตร์เรื่อง "Roman Holiday" เธอยังเป็นแฟชั่นไอคอนแห่งยุค 50 และศตวรรษที่ 20 จากการเป็น แบรนด์แอมบาสเดอร์ ของ จีวองซี่ ที่เธอมักจะสวมใส่ในภาพยนตร์ดังหลายเรื่อง เช่น "Breakfast At Tiffany's" เป็นต้น

ออดรีย์ เฮปเบิร์น
เฮปเบิร์นเมื่อปี 1956
เกิดออดรีย์ แคธลีน รัสตัน
4 พฤษภาคม ค.ศ. 1929(1929-05-04)
อิแซลส์ บรัสเซลส์ เบลเยียม
เสียชีวิต20 มกราคม ค.ศ. 1993(1993-01-20) (63 ปี)
รัฐโว สวิตเซอร์แลนด์
สัญชาติบริติช
อาชีพ
  • นักแสดง
  • ผู้ใจบุญ
ปีปฏิบัติงาน
  • 1948–1989 (นักแสดง)
  • 1954–1993 (ผู้ใจบุญ)
ผลงานเด่นรายการทั้งหมด
คู่สมรส
คู่รักโรเบิร์ต วอลเดอส์ (1980–1993; เธอเสียชีวิต)
บุตร2 คน รวมถึงฌอน
บุพการี
ญาติ
รางวัลรายการทั้งหมด
ลายมือชื่อ

ประวัติ แก้

ออเดรย์ คาธลีน รัสตัน (Audrey Kathleen Ruston) เกิดเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 1929 ในเบลเยียม พ่อเป็นนายธนาคารสัญชาติอังกฤษ ส่วนแม่มีเชื้อสายขุนนางของเนเธอร์แลนด์ ผู้เป็นพ่อทิ้งครอบครัวไปตอนเธออายุหกขวบ จากนั้นแม่ก็พาเธอและพี่ชายต่างพ่ออีกสองคนโยกย้ายไปอยู่อังกฤษ

หลังจากพักอาศัยอยู่ต่างถิ่นได้ไม่นาน สงครามโลกครั้งที่สองก็สั่นคลอนแผ่นดินอังกฤษ ครอบครัวของเธอจึงหวนกลับไปเนเธอร์แลนด์ และเพื่อปกปิดพื้นเพเชื้อชาติอังกฤษ ออเดรย์จำต้องเปลี่ยนมาใช้นามสกุลของแม่ และเปลี่ยนชื่อของตนเองเสียใหม่เป็น เอ็ดดา ฟาน ฮีมสตรา (Edda van Heemstra)

เด็กสาวออเดรย์ ป่วยเป็นโรคกล้ามเนื้อ เหตุเพราะขาดสารอาหารในช่วงภาวะขาดแคลน เธอเคยพูดเล่าเมื่อครั้งให้สัมภาษณ์สื่อในภายหลังว่า ช่วงแร้นแค้นนั้น เธอและคนในครอบครัวแทบไม่มีอะไรจะกิน มื้อเช้ามีเพียงน้ำร้อนกับขนมปังคนละชิ้น มื้อเที่ยงมีแต่มันฝรั่งต้ม แต่นั่นก็ไม่ใช่เหตุผลที่เธอจะเลิกให้การสนับสนุนผู้ยึดครองชาวเยอรมัน จนกระทั่งต่อมา ลุงของเธอถูกพลพรรคนาซีฆ่าตาย ทั้งเธอและสมาชิกในครอบครัวจึงเปลี่ยนใจไปอยู่ฝ่ายต่อต้านนาซี

หลังสงครามสิ้นสุด ออเดรย์เดินทางไปอังกฤษ มีความใฝ่ฝันอยากเป็นนักเต้นบัลเลต์ในอนาคต แต่ฝันของเธอก็ดับวูบลงเมื่อรู้ตัวในภายหลังว่ากล้ามเนื้อขาของเธอเป็นอุปสรรค ท้ายที่สุดเธอเบนเข็มไปสู่การแสดง และในปี 1951 ออเดรย์ เฮปเบิร์น (นามสกุลที่สองของตระกูล) เดินทางสู่นิวยอร์ก ปลายทางที่ฮอลลีวูด จนกระทั่งกลายเป็นนักแสดงมีชื่อเสียง

โรเบิร์ต มัตเซน (Robert Matzen) เจ้าของหนังสืออัตชีวประวัติ Dutch Girl ให้ความเห็นเรื่องอดีตช่วงยึดครองของนาซีที่เฮปเบิร์นไม่ปรารถนาจะเอ่ยถึงนั้น เป็นไปได้ว่าเธอเลือกที่จะปกปิดเรื่องเลวร้ายเหล่านั้นด้วยเหตุผลส่วนตัว ในช่วงสงครามเธอพักอาศัยอยู่ในเมืองอาร์เนม ที่ซึ่งนาซียึดครอง และเธอหารายได้จากการเต้นบัลเลต์ ซึ่งตอนนั้นเธอก็ต้องเต้นให้กับนาซี หรือแม้จะเต้นในที่สาธารณะ ผู้ชมส่วนใหญ่ก็ยังเป็นชาวเยอรมันอยู่ดี เมื่อสงครามยุติแล้ว เธอจะถูกตัดสินอย่างไรถ้าเรื่องเหล่านี้ถูกเผยแพร่ในสื่อ

ในวัย 25 ปี ในปี 1954 ออเดรย์ เฮปเบิร์นสามารถคว้ารางวัลออสการ์และลูกโลกทองคำในฐานะนักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยมจาก "Roman Holiday"(1953) ซึ่งทำให้เธอได้รับรางวัลออสการ์ รางวัลลูกโลกทองคำ และรางวัลแบฟตา เธอยังได้รับรางวัลโทนีจากการแสดงในเรื่อง Ondine (1954) นับแต่นั้นมาเธอก็กลายเป็นดาราระดับแถวหน้าของฮอลลีวูด สร้างประวัติศาสตร์ให้กับวงการในเวลาต่อมาด้วยผลงานภาพยนตร์เรื่อง Breakfast at Tiffany’s, Charade หรือ My Fair Lady รวมเวลาทั้งสิ้น 19 ปีก่อนที่เธอจะถอนตัวออกจากวงการ ในปี 1969 เพื่อต้องการมากลับมาดูแลครอบครัวอย่างเต็มที่ แต่ก็ยังคงปรากฏตัวต่อสื่อสาธารณชนและวงการภาพยนตร์อยู่บ่อยครั้ง เช่น งานประกาศผลรางวัลออสการ์ ปี 1986

รักแรกของออเดรย์เป็นรักที่เธอพบเจอในปี 1954 ระหว่างการซ้อมบทละครบรอดเวย์เรื่อง Ondine เขาคือ เมล เฟอร์เรอร์ (Mel Ferrer) ไม่กี่เดือนถัดมาทั้งสองก็แต่งงานกัน และมีโอกาสได้ร่วมแสดงหนังคู่กันอีกครั้งในปี 1956 เรื่อง War and Peace มีลูกชายคนแรก ฌอน เฮปเบิร์น เฟอร์เรอร์ (Sean Hepburn-Ferrer) หลังจากแท้งมาสามครั้ง และครองชีวิตคู่กับเฟอร์เรอร์นาน 14 ปี จนหย่าร้างกันในปี 1970

 
จากภาพยนตร์เรื่อง Breakfast at Tiffany's

จากประสบการณ์ในช่วงสงครามของเธอทำให้เธอมีแรงบันดาลใจในงานทำงานเพื่อเพื่อนมนุษย์ เธอทำงานกับยูนิเซฟตั้งแต่ทศวรรษ 1950 เธอยังอุทิศเวลาและกำลังกายให้กับองค์กร ตั้งแต่ปี 1988 ถึง 1992 เธอทำงานให้กับชุมชนในแอฟริกา อเมริกาใต้ และเอเชีย โดยไม่แสวงหาผลประโยชน์ ในปี 1992 เธอได้รับเหรียญแห่งอิสรภาพของประธานาธิบดี สำหรับการทำงานให้ในฐานะทูตสันถวไมตรียูนิเซฟ

ปี 1980 เธออยู่กับนักแสดง โรเบิร์ต วอลเดอร์ส เธอเสียชีวิตจากมะเร็งที่ไส้ติ่ง ที่บ้านในสวิตเซอร์แลนด์ อายุได้ 63 ปี ในวันที่ 20 มกราคม 1993[1][2][3]

เธอได้รับรางวัลหลังการเสียชีวิตอย่างรางวัล The Jean Hersholt Humanitarian Award จาก Academy of Motion Picture Arts and Sciences สำหรับงานการช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรม เธอได้รับรางวัลแกรมมีจากผลงานบันทึกเสียงเกี่ยวกับการพูด ในผลงาน Audrey Hepburn's Enchanted Tales ในปี 1994 และในปีเดียวกันเธอได้รับรางวัลเอมมี ในสาขา Outstanding Achievement for Gardens of the World นอกจากนี้เธอยังอยู่อันดับ 3 จากการจัดอันดับ ดาราสาวตลอดกาลจากสถาบันภาพยนตร์อเมริกัน

อ้างอิง แก้

  1. Givenchy, Hubert (2007). Audrey Hepburn. London: Pavilion. p. 19. ISBN 9781862057753.
  2. Ferrer, Sean (2005). Audrey Hepburn, an Elegant Spirit. New York: Atria. p. 148. ISBN 9780671024796.
  3. Paris, Barry (2001). Audrey Hepburn. City: Berkley Trade. p. 361. ISBN 9780425182123.