ออกขุนชำนาญใจจง

ออกขุนชำนาญใจจง เป็นนักการทูตสยามที่เดินทางเยือนประเทศฝรั่งเศสและโรมในฐานะคณะทูตในปี ค.ศ. 1688 เขาสืบทอดตำแหน่งคณะทูตจากเจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) ในปี ค.ศ. 1686

ออกขุนชำนาญใจจง
ออกขุนชำนาญใจจงในปี ค.ศ. 1689 วาดโดย คาร์โล มารัตตา
อาชีพขุนนาง นักการทูต
มีชื่อเสียงจากนักการทูตของกรุงศรีอยุธยา

โปรตุเกส (1684) แก้

ออกขุนชำนาญใจจงเป็นสมาชิกของคณะทูตชุดแรกที่ถูกส่งไปยังโปรตุเกส โดยออกเดินทางจากสยามในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1684[1] คณะทูตสยามได้เดินทางไปพร้อมกับคณะทูตโปรตุเกสที่กำลังเดินทางกลับจากอาณาจักรอยุธยา ซึ่งได้ถูกส่งมายังอยุธยาโดยสมเด็จพระเจ้าเปโดรที่ 2 แห่งโปรตุเกส[2] คณะทูตสยามยังได้นำของขวัญเตรียมถวายแด่พระมหากษัตริย์ฝรั่งเศส พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 และกำลังกำหนดให้มีเอกอัครราชทูตสามคนเดินทางไปเข้าเฝ้า[3]

การเดินทางขาไปบนเรือของสยาม บัญชาการโดยกัปตันเรือชาวโปรตุเกส[4] ในรัฐกัว หลังจากรอคอยมานานกว่าหนึ่งปี คณะทูตได้เดินทางต่อด้วยเรือโปรตุเกส แต่กลับประสบอุบัติเหตุแตกกลางทะเลนอกแหลมอะกัลลัสเมื่อวันที่ 27 เมษายน ค.ศ. 1686 หลังจากการผจญภัยหลายครั้ง ออกขุนชำนาญใจจงและชาวสยามที่เหลือรอดชีวิตสามารถเดินเท้าผ่านภูมิประเทศต่างๆในแอฟริกาจนไปถึงอาณานิคมดัตช์ที่แหลมกูดโฮปได้ในที่สุด ในเวลาหลายเดือนต่อมา คณะทูตได้เดินทางกลับไปทางตะวันออกโดยเรือของฮอลันดาผ่านปัตตาเวีย ก่อนจะถึงสยามในเดือนกันยายน ค.ศ. 1687[5]

ในระหว่างการเดินทาง ออกขุนชำนาญใจจงได้เรียนภาษาโปรตุเกส อันเป็นการเตรียมการสำหรับการเจรจากับประเทศตะวันตกในภายภาคหน้า[5] ออกขุนชำนาญใจจงได้ประจำอยู่ที่บางกอกในเดือนตุลาคมระหว่างการต้อนรับคณะทูตฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1687 อันประกอบด้วยเรือรบ 5 ลำ นำโดยซีมง เดอ ลา ลูแบร์ และโกลด เซเบอแร ดูว์ บูแล ผู้อำนวยการบริษัทอินเดียตะวันออกของฝรั่งเศส

ฝรั่งเศสและโรม (1688) แก้

ออกขุนชำนาญใจจงยังได้เป็นสมาชิกคณะผู้แทนอันประกอบด้วยข้าราชการสามคนที่ถูกส่งไปเข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ในฝรั่งเศส และสมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 11 ในโรม ตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชในปี ค.ศ. 1688 ทูตอีกสองคนในคณะประกอบด้วยออกขุนวิเศษภูบาลและออกหมื่นพิพิธราชา[1] อีกสามวันต่อมา ครูสอนคำสอนจากตังเกี๋ยอีกสามคนได้เดินทางมาด้วย และนักเรียนชาวสยามห้าคนถูกส่งตัวไปศึกษายังวิทยาลัยหลุยส์ เลอ กรองด์ ในปารีส[6]

คณะทูตสยาม และหลวงพ่อกีย์ ตาชารด์ ได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 11 เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม ค.ศ. 1688 หลังจากการเดินทางเยือนปารีสครั้งแรกไม่สามารถเข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ได้ จึงเดินทางต่อไปยังโรม หลังจากเข้าพบเป็นครั้งแรก คณะทูตได้เข้าเฝ้าพระสันตะปาปาอีกครั้งหนึ่งเมื่อวันที่ 5 มกราคม ค.ศ. 1689[7] ภาพจิตรกรรมคณะทูตสยามได้วาดขึ้นโดยจิตรกรที่มีชื่อเสียง คาร์โล มารัตตา

ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1689 คณะทูตสยามได้รับโอกาสเข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 และได้มีการให้สัตยาบันสนธิสัญญาพาณิชย์เซเบเรต์ที่ได้บรรลุในปี ค.ศ. 1687[7]

หลังการสวรรคตของพระนารายณ์มหาราช พระเพทราชาได้ขึ้นครองราชสมบัติและความสัมพันธ์ระหว่างสยามกับฝรั่งเศสได้เปลี่ยนแปลงไป ทำให้คณะทูตของออกขุนชำนาญติดค้างอยู่ในประเทศฝรั่งเศสรวมทั้งประสบปัญหาในการเดินทางกลับ ในปี ค.ศ. 1690 คณะทูตได้เดินทางกลับถึงสยามโดยกองเรือรบหกลำ อับราฮัม ดูเกส-กุยตอน แต่เนื่องจากลมฟ้าอากาศที่ไม่เป็นใจทำให้เหลือเรือรบเพียงลำเดียวที่แล่นถึงบาลัสซอรฺ ปากแม่น้ำคงคา ที่ซึ่งคณะทูตได้ลงจากเรือ[8] และเดินทางกลับอยุธยาทางบก

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 Smithies, p.3
  2. Smithies, p.55
  3. Smithies, p.32
  4. Smithies, p.13
  5. 5.0 5.1 Smithies, p.4
  6. Smithies, p.5
  7. 7.0 7.1 Smithies, p.7
  8. Smithies, p.9

บรรณานุกรม แก้

  • Smithies, Michael (1999), A Siamese embassy lost in Africa 1686, Silkworm Books, Bangkok, ISBN 9747100959