อสมมาตรของแบริออน

อสมมาตรของแบริออน (อังกฤษ: Baryon asymmetry) เป็นปัญหาทางฟิสิกส์เกี่ยวข้อเท็จจริงที่ปรากฏในปัจจุบันถึงความไม่สมดุลระหว่างสสารแบริออนกับแอนติแบริออนในเอกภพ ไม่ว่าแบบจำลองมาตรฐานในวิชาฟิสิกส์อนุภาค หรือทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป ก็ยังไมสามารถให้คำอธิบายที่แจ่มแจ้งได้ว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ตามสมมุติฐาน เอกภพมีภาวะเป็นกลางจากประจุทุกชนิด[1] การเกิดบิกแบงควรจะทำให้เกิดสสารและปฏิสสารขึ้นเป็นจำนวนพอๆ กัน ซึ่งจะทำให้มันเกิดการหักล้างกันและกัน กล่าวคือ โปรตอนจะหักล้างกับแอนติโปรตอน อิเล็กตรอนจะหักล้างกับแอนติอิเล็กตรอน นิวตรอนจะหักล้างกับแอนตินิวตรอน เป็นเช่นนี้ไปเรื่อยๆ กับอนุภาคมูลฐานทุกชนิด ผลก็คือเอกภพจะเต็มไปด้วยทะเลโฟตอนโดยไม่มีสสารเกิดขึ้นเลย แต่เอกภพของเราไม่ได้เป็นเช่นนั้น หลังจากบิกแบงแล้ว มีบางสิ่งบางอย่างที่ทำให้กฎเกณฑ์ทางฟิสิกส์แตกต่างไปสำหรับสสารและปฏิสสาร

มีทฤษฎีอยู่หลายทฤษฎีที่พยายามอธิบายปรากฏการณ์แบริโอเจเนซิส แต่ ณ ปัจจุบันยังไม่มีทฤษฎีที่เป็นเอกฉันท์ที่สามารถอธิบายปรากฏการณ์นี้ได้

อ้างอิง แก้

  1. Sarkar, Utpal (2007). Particle and astroparticle physics. CRC Press. p. 429. ISBN 1584889314.