ในสถาปัตยกรรมโบสถ์พราหมณ์ อรรธมณฑป (อักษรโรมัน: Ardhamandapa) เป็นองค์ประกอบสำคัญในหมู่สิ่งปลูกสร้างทางเข้าของโบสถ์พราหมณ์ องค์ประกอบนี้หมายถึงโถงทางเดินที่สร้างพื้นที่เปลี่ยนผ่านจากข้างนอกสู่ข้างในมณฑปของโบสถ์พราหมณ์[1][2]

ภาพเน้นอรรธมณฑปของกันทาริยามหาเทวมนเทียร ขชุราโห

อรรธมณฑปโดยทั่วไปมักมีลักษณะเปิดเพื่อช่วยให้มีแสงเข้าถึงและมีอากาศถ่ายเท ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าประตูทางเข้าของมณฑป ในกรณีที่มณฑปใด ๆ มีทางเข้าสามทาง ก็จะมีโถงอรรธมณฑปอยู่สามโถงตามแต่ละด้านที่มีประตูเช่นกัน โดยทั่วไปแล้ว ในแง่ของการออกแบบและงานประติมากรรม อรรธมณฑปมีลักษณะคล้ายกันกับมณฑปโดยทั่วไป[3] ในศาสนสถานของฮินดู ไชนะ และพุทธ มีรูปแบบของพื้นที่เปลี่ยนผ่านระหว่างที่ประดิษฐานตรงใจกลางของศาสนสถาน (ครรภคฤห์) กับโลกภายนอกอยู่ ในโบสถ์พราหมณ์ซึ่งสร้างด้วยแบบแผนเต็มขนาดจะประกอบไปด้วยสามโครงสร้างที่ตอบสนองพื้นที่เปลี่ยนผ่านนี้ คือ อรรธมณฑป, มณฑป และ มหามณฑป โดยมีอรรธมณฑปอยู่ต่ำสุด[4][5][6][7]

อ้างอิง แก้

  1. Allen, Margaret Prosser (1991). Ornament in Indian Architecture (ภาษาอังกฤษ). University of Delaware Press. p. 127. ISBN 9780874133998. สืบค้นเมื่อ 28 June 2019.
  2. "A Visual Glossary of Hindu Architecture". brewminate.com. 2 January 2017. สืบค้นเมื่อ 28 June 2019.
  3. "Ardhamandapa". blessingsonthenet.com. สืบค้นเมื่อ 28 June 2019.
  4. Harshananda, Swami. "Ardha-maṇḍapa". สืบค้นเมื่อ 28 June 2019.
  5. "Khajuraho Architecture". Carthage College. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 June 2016. สืบค้นเมื่อ 28 June 2019.
  6. "francofrescura.co.za | Architecture | A glossary of southern african architectural terms". www.sahistory.org.za. สืบค้นเมื่อ 28 June 2019.
  7. Cartwright, Mark (4 September 2015). "Hindu Architecture". World History Encyclopedia. สืบค้นเมื่อ 28 June 2019.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้