อภิสิทธิ์ อ้นรักษ์

อภิสิทธิ์ อ้นรักษ์ (16 มีนาคม พ.ศ. 2519 – ) หรือ เปาอ้น เป็นผู้ตัดสินฟุตบอลชาวไทยที่ได้รับการมอบหมายให้เป็นผู้ตัดสินระดับนานาชาติจากฟีฟ่า เขายังได้รับเลือกให้เป็นผู้ตัดสินที่ 4 อย่างเป็นทางการในเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก 2553[1] และเป็นผู้ตัดสินในรอบรองชนะเลิศเอเอฟเอฟ ซูซูกิ คัพ 2010 ด้วยเช่นกัน

อภิสิทธิ์ อ้นรักษ์
ชื่อเต็ม อภิสิทธิ์ อ้นรักษ์
วันเกิด 16 มีนาคม พ.ศ. 2519 (48 ปี)
จังหวัดสมุทรปราการ ประเทศไทย
ในประเทศ
ปี ลีก หน้าที่
พ.ศ. 2543–2555 ไทยพรีเมียร์ลีก ผู้ตัดสิน
ระหว่างประเทศ
ปี ลีก หน้าที่
พ.ศ. 2552–2555 รายการฟีฟ่า ผู้ตัดสิน

ประวัติ แก้

วันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 อภิสิทธิ์ได้รับการกำหนดให้เป็นผู้ตัดสินรอบชิงชนะเลิศโตโยต้า ลีกคัพ 2553 ระหว่างทีมสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด กับสโมสรฟุตบอลการท่าเรือไทยกรีฑาสถานแห่งชาติ ที่กรุงเทพมหานคร

ส่วนวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2553 อภิสิทธิ์ได้รับการกำหนดให้เป็นผู้ตัดสินที่ 4 อย่างเป็นทางการในรอบรองชนะเลิศนัดที่ 2 ของรายการเอเอฟเอฟ ซูซูกิ คัพ 2010 ซึ่งเป็นการแข่งระหว่างทีมอินโดนีเซียกับทีมฟิลิปปินส์ ณ เกลอรา บังการ์โน สเตเดียม ที่จาการ์ตา

ในวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2553 ในการแข่งขันไทยพรีเมียร์ลีก 2553 รอบเพลย์ออฟระหว่างสโมสรฟุตบอลจังหวัดนครปฐมกับสโมสรฟุตบอลจังหวัดศรีสะเกษ ได้เกิดเหตุแฟนบอลทำร้ายผู้ตัดสิน ซึ่งอภิสิทธิ์ได้รับบาดเจ็บและเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล โดยเขาได้ถูกกล่าวหาว่ารับเงินจากสโมสรฟุตบอลจังหวัดศรีสะเกษ แต่ทางอภิสิทธิ์ก็ปฏิเสธว่าไม่ได้รับสินบนจากทีมดังกล่าว[2][3] ในขณะที่แฟนบอลที่ได้รับการตั้งข้อหาร่วมกันทำร้ายผู้ตัดสินที่มามอบตัวก็ปฏิเสธว่ามิได้ทำร้ายอภิสิทธิ์แต่อย่างใด[4] ทั้งนี้ อภิสิทธิ์ได้เรียกร้องให้ทุกฝ่ายเคารพกฎกติกาการแข่งขัน หากการตัดสินผิดพลาดจริง ก็ยินดีให้ตรวจสอบตามขั้นตอนที่วางไว้ เพื่อเป็นการยกมาตรฐานวงการฟุตบอลให้สูงขึ้น[5]

เดือนตุลาคม พ.ศ. 2555 อภิสิทธิ์เป็นหนึ่งในสองผู้ตัดสินระดับฟีฟ่าที่ได้รับการเสนอห้ามมิให้ทำหน้าที่เป็นระยะเวลา 3 เดือน ภายหลังจากการเกิดความเห็นว่าผิดพลาดในการทำหน้าที่เมื่อครั้งที่สโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ชนะทีมสโมสรฟุตบอลโอสถสภา 4 ประตูต่อ 2 ของการแข่งขันไทยลีก[6] ในขณะเดียวกัน พลตรีชินเสณ ทองโกมล ซึ่งเป็นประธานกรรมการแต่งตั้งและประเมินผลผู้ตัดสิน ได้ออกมาเปิดเผยว่ามีการเรียกร้องให้ยุติการทำหน้าที่ผู้ตัดสินจริง หากแต่เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ที่เกิดจากการปลุกกระแสของผู้เสียผลประโยชน์[7]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. เชิ้ตดำไทยในเอเอฟซีแชมเปี้ยนส์ ลีก 2012[ลิงก์เสีย]
  2. เปาอ้น ยันตัดสินต่อแม้โดนสกรัมอ่วม เหตุรักฟุตบอลสุดใจ[ลิงก์เสีย]
  3. ‘อภิสิทธิ์’ โต้ไม่รับสินบน[ลิงก์เสีย]
  4. ‘ไชยา’ ไม่ขอโทษ ชี้เชิ๊ตดำเป่าพลาด[ลิงก์เสีย]
  5. "'จ่าเอ้' ปืนขู่-มอบตัว : ข่าวสดออนไลน์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2012-10-25.
  6. เชือดเปาฟีฟ่า 2 ราย จับ มงคลชัย แบน 3 เดือนชวดขึ้นอีลิท
  7. Sport - Manager Online - เปาไทยประท้วง เสธ.ตุ้ม ยันมีคนปั่นกระแสหยุดเป่า[ลิงก์เสีย]