อนุสัญญาห้ามอาวุธชีวภาพ

อนุสัญญาห้ามอาวุธชีวภาพ[3] (อังกฤษ: Biological Weapons Convention, BWC) หรือ อนุสัญญาว่าด้วยอาวุธชีวภาพและสารพิษ (อังกฤษ: Biological and Toxin Weapons Convention, BTWC) เป็นอนุสัญญาที่ห้ามอาวุธชีวภาพและสารพิษอย่างมีประสิทธิภาพ โดยห้ามไม่ให้มีการพัฒนา การผลิต การได้มา การถ่ายโอน การสะสมและการใช้ อนุสัญญามีชื่อเต็มว่า อนุสัญญาว่าด้วยการห้ามพัฒนา ผลิต และสะสมอาวุธชีวภาพและสารพิษ และว่าด้วยการทำลายอาวุธดังกล่าว (อังกฤษ: Convention on the Prohibition of the Development, Production and Stockpiling of Bacteriological (Biological) and Toxin Weapons and on their Destruction)[4]

อนุสัญญาห้ามอาวุธชีวภาพ
อนุสัญญาว่าด้วยการห้ามพัฒนา ผลิต และสะสมอาวุธชีวภาพและสารพิษ และว่าด้วยการทำลายอาวุธดังกล่าว
ผู้เกี่ยวข้องในอนุสัญญาห้ามอาวุธชีวภาพ
  รัฐที่ไม่ยอมรับที่ปฏิบัติตามอนุสัญญา
วันลงนาม10 เมษายน ค.ศ. 1972
ที่ลงนามลอนดอน, มอสโก และวอชิงตัน ดี.ซี.
วันมีผล26 มีนาคม ค.ศ. 1975
เงื่อนไขให้สัตยาบันโดย 22 รัฐ
ผู้ลงนาม109
ภาคี183[1] ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2019
(รายชื่อ)
Biological Weapons Convention ที่ วิกิซอร์ซ
อนุสัญญาห้ามอาวุธชีวภาพ[2]

อนุสัญญาว่าด้วยการห้ามอาวุธชีวภาพเป็นสนธิสัญญาพหุภาคีเพื่อการลดอาวุธฉบับแรกที่ห้ามการผลิตประเภทของอาวุธทั้งประเภท ความตกลงของอนุสัญญามีสาเหตุมาจากความพยายามอันเป็นเวลายาวนานของประชาคมนานาชาติในการพยายามสร้างเครื่องมือที่ช่วยสนับสนุนพิธีสารเจนีวาของปี ค.ศ. 1925 ที่เป็นพิธีสารว่าด้วยการห้ามการใช้แก๊ส และ แบคทีเรียในการสงคราม

อนุสัญญาเริ่มลงนามกันเมื่อวันที่ 10 เมษายน ค.ศ. 1972 และมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 26 มีนาคม ค.ศ. 1975 เมื่อรัฐบาลของยี่สิบสองประเทศให้การสัตยาบัน ในปัจจุบันอนุสัญญามีภาคีผู้ตกลง 162 ประเทศ

อ้างอิง แก้

  1. "Status of the Biological Weapons Convention". United Nations Office for Disarmament Affairs. สืบค้นเมื่อ 5 May 2021.
  2. United Nations (1972). Biological Weapons Convention.
  3. อาวุธชีวภาพและอนุสัญญาห้ามอาวุธชีวภาพ
  4. "Biological Weapons Convention – UNODA". United Nations Office for Disarmament Affairs (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-15. สืบค้นเมื่อ 2021-02-15.

ดูเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้