อนุสัญญาคอนสแตนติโนเปิล

อนุสัญญาคอนสแตนติโนเปิล (อังกฤษ: Convention of Constantinople)[4][5] เป็นสนธิสัญญาซึ่งลงนามโดยสหราชอาณาจักร เยอรมนี จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี สเปน ฝรั่งเศส อิตาลี เนเธอร์แลนด์ รัสเซีย และจักรวรรดิออตโตมัน เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม ค.ศ. 1888 ในคริสร์ทศวรรษ 1880 อังกฤษได้ยึดครองทางกายภาพเหนือคลองสุเอซและอียิปต์ ฝรั่งเศส ผู้ซึ่งเคยมีสิทธิ์เหนือคลองและยังคงถือหุ้นส่วนใหญ่ของบริษัทคลองสุเอซไว้ หวังว่าจะทำให้การควบคุมของอังกฤษอ่อนแอลงและพยายามที่จะโน้มน้าวให้ชาติยุโรปสนับสนุนการทำให้คลองเป็นเขตระหว่างประเทศ ทั้งสองชาติยินยอมให้คลองเป็นกลางตามสนธิสัญญาดังกล่าว มาตรา 1 รับประกันให้เรือทุกลำผ่านเข้าออกคลองได้ทั้งในช่วงสงครามและสันติภาพ แต่มาตรา 10 กลับอนุญาตให้เคดีฟดำเนินมาตรการเพื่อ "การป้องกันอียิปต์และการธำรงรักษาความสงบเรียบร้อย" ข้อความหลังได้ถูกใช้เพื่อปกป้องผลประโยชน์โดยอังกฤษในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง[2] และโดยอียิปต์เพื่อต่อต้านการเดินเรือของอิสราเอลภายหลัง ค.ศ. 1948

อนุสัญญาคอนสแตนติโนเปิล
ประเภทอนุสัญญาการค้าหลายฝ่าย
วันร่าง2 มีนาคม ค.ศ. 1888
วันลงนาม29 ตุลาคม ค.ศ. 1888
ที่ลงนามคอนสแตนติโนเปิล
วันตรา22 ธันวาคม ค.ศ. 1888[1]
วันมีผล8 เมษายน ค.ศ. 1904[2][3]
ผู้ลงนามสหราชอาณาจักร เยอรมนี จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี เนเธอร์แลนด์ สเปน ฝรั่งเศส รัสเซีย และจักรวรรดิออตโตมัน
ผู้เก็บรักษาจักรวรรดิออตโตมัน
ภาษาฝรั่งเศส

ชาติผู้ลงนามประกอบด้วยมหาอำนาจยุโรปทั้งหมดในเวลานั้น และสนธิสัญญาดังกล่าวได้ถูกตีความว่าเป็นการรับประกันสิทธิ์ในการผ่านเข้าออกคลองสุเอซของเรือใด ๆ ทั้งในช่วงสงครามและสันติภาพ

อ้างอิง แก้

  1. Barclay, p. 308
  2. 2.0 2.1 Love, p.171
  3. Allain, p.53
  4. The Encyclopaedia Britannica, Vol.7, Edited by Hugh Chisholm, (1911), 3
  5. "Britannica, Istanbul". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-18. สืบค้นเมื่อ 2010-07-25.

บรรณานุกรม แก้