อนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด

อนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด เป็นนักการเมืองชาวไทย ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ในปี 2566 เคยดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย รองประธานและโฆษกคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้านและการมีส่วนร่วมของประชาชน เคยเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี โฆษกพรรคเพื่อไทย ประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์สื่อสารการเมืองพรรคเพื่อไทย และผู้ดำเนินรายการโทรทัศน์

อนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด
อนุสรณ์ ในปี พ.ศ. 2563
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 – 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555
นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ถัดไปศันสนีย์ นาคพงศ์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด17 ตุลาคม พ.ศ. 2517 (49 ปี)
จังหวัดมุกดาหาร ประเทศไทย
พรรคการเมืองเพื่อไทย

ประวัติ แก้

ดร.อนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด เกิดเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2517 ที่ตำบลศรีบุญเรือง อำเภอมุกดาหาร จังหวัดนครพนม (ปัจจุบันคือ อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีคณะมนุษยศาสตร์ สาขาสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยรามคำแหง ปริญญาโท สาขาการบริหารและพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ระดับปริญญาเอก ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจอุตสาหกรรม คณะบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เป็นนักกิจกรรมและเป็นนักเคลื่อนไหวที่มีดีกรีความนิยมในหมู่คนเสื้อแดง ได้รับรางวัลเยาวชนดีเด่นแห่งชาติ ด้านการส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตย ในขณะศึกษาชั้นมัธยมจากโรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย จังหวัดนครราชสีมา ได้เป็นตัวแทนโรงเรียนเข้าแข่งขัน ในรายการโต้คารมมัธยมศึกษารุ่นที่ 2 ทางไทยทีวีสีช่อง 3 อสมท.ในฐานะหัวหน้าทีม จนได้รับตำแหน่ง นักโต้วาทีชายยอดเยี่ยม จากทั้ง 12 รุ่น โดยสามารถเอาชนะนักโต้วาทีชายทั้งหมด ด้วยผลการโหวตจากประชาชนคนไทยทั้งประเทศ[1]

อนุสรณ์เริ่มมีชื่อเสียง จากการเป็นผู้ดำเนินรายการเล่าข่าว เช่น ข่าวหน้าสี่ ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2551 จากนั้นในปี พ.ศ. 2552 เข้าร่วมเป็นพิธีกรของสถานีประชาธิปไตย สำหรับบทบาทซึ่งทำให้เป็นที่รู้จักของกลุ่มคนเสื้อแดงมากที่สุดคือ การทำหน้าที่โฆษกเวทีการชุมนุมของ นปช.แดงทั้งแผ่นดิน [1] เป็นผู้ดำเนินรายการ The issue และ ที่นี่เอ็มวีห้า[1]

ในปี พ.ศ. 2554 ได้รับแต่งตั้งเป็นรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร[2] ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรักษาการโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี[3] ต่อมาในปี พ.ศ. 2556 ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ[4]

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 110[5]

เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 สังกัดพรรคเพื่อไทย แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง[6]

ในปี 2563 เขาได้รับเลือกจากที่ประชุมใหญ่ให้เป็นรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย[7] และในปี 2566 เขาลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อลำดับที่ 26 สังกัดพรรคเพื่อไทย ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.สมัยแรก

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 ข่าว; ถอด (สี) เสื้อ "อนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด" จากนักโต้คารม สู่โทรโข่งรัฐบาล, มติชนรายวัน, 27 สิงหาคม 2554
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-26. สืบค้นเมื่อ 2011-08-29.
  3. ครม.ตั้ง"พล.ต.ต.ธวัช"รักษาการเลขานายก[ลิงก์เสีย]
  4. คำสั่งกระทรวงศึกษาธิการ ที่ สร ๕๐๕/๒๕๕๖ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (จำนวน ๔ ราย ๑. ศาสตราจารย์ธเนศวร์ เจริญเมือง ฯ)
  5. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
  6. พลวุฒิ สงสกุล (19 กันยายน 2561). "แบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ เตรียมหย่อนบัตรปี 62 ส.ส. ลด 23 จังหวัด อีสานหด 10 ที่นั่ง". THE STANDARD. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕ เก็บถาวร 2022-02-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๑๙๔, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๑๘๑, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

ก่อนหน้า อนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด ถัดไป
ฐิติมา ฉายแสง    
รักษาการโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
(28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 - 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555)
  ศันสนีย์ นาคพงษ์