อดุลย์ แสงสิงแก้ว

พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว นักการเมืองชาวไทยและอดีตตำรวจชาวไทย ดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 12 ประธานสโมสรเพื่อนตำรวจ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์นิตยสาร Cop's Magazine ประธานกรรมการ มูลนิธิ พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว[1] อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน[2] อดีตนายตำรวจราชองครักษ์พิเศษ [3] อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ประธานคณะกรรมการนโยบายการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว[4] ประธานกรรมการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง[5]กรรมการในคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ อดีตรองประธานกรรมการคนที่หนึ่ง ใน คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ กรรมการ สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ [6]ประธานคณะกรรมการควบคุมการขอทาน กรรมการในคณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหา การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น[7] อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ คนที่ 9,รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติฝ่ายกิจการพิเศษ, อดีตเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด และอดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2549 และเป็นผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.) ระหว่างวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ถึงวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ครั้งที่สองวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2556 ถึงวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2556 ครั้งที่สาม วันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2556 ถึงวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2556 โดยขยายระยะเวลาครั้งที่ 1 จนถึง 30 พฤศจิกายน และครั้งที่ 2 จนถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2556[8] เป็น หัวหน้าผู้รับผิดชอบในเขตท้องที่ตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงและรองผู้อำนวยการศูนย์รักษาความสงบ[9] ตั้งแต่วันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2557 ถึง วันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2557 ในเหตุการณ์วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557

อดุลย์ แสงสิงแก้ว
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ดำรงตำแหน่ง
30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 – 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
(3 ปี 85 วัน)
นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา
ก่อนหน้าปวีณา หงสกุล
ถัดไปอนันตพร กาญจนรัตน์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
ดำรงตำแหน่ง
23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 – 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
(1 ปี 166 วัน)
นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา
ก่อนหน้าสุรศักดิ์ กาญจนรัตน์
(รักษาราชการแทน)
ถัดไปประวิตร วงษ์สุวรรณ
(รักษาราชการแทน)
สมาชิกวุฒิสภา
เริ่มดำรงตำแหน่ง
11 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
(4 ปี 343 วัน)
รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 – 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
(4 ปี 350 วัน)
หัวหน้าประยุทธ์ จันทร์โอชา
ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 – 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
(1 ปี 235 วัน)
ก่อนหน้าเพรียวพันธ์ ดามาพงศ์
ถัดไปวัชรพล ประสารราชกิจ
(รักษาราชการแทน)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด8 เมษายน พ.ศ. 2497 (70 ปี)
จังหวัดนครพนม ประเทศไทย
คู่สมรสอรัญญา แสงสิงแก้ว
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ยศ พลตำรวจเอก

ประวัติ แก้

เกิดเมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2497 เกิดที่ตำบลนาราชควาย อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม เป็นบุตรชายคนเดียว ในจำนวนพี่น้อง 7 คน ของนายอุดม และ นางอัมรา แสงสิงแก้ว ต่อมาได้สมรสกับนางอรัญญา อรัณยกานนท์ เมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2528 โดยภายหลังรัฐประหาร ในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 นางสาว อุษณีย์ แสงสิงแก้ว น้องสาวของพลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว ได้รับเลือกเป็นรักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) นับเป็นผู้หญิงคนแรกที่ได้รับตำแหน่งนี้[10]

การศึกษา แก้

จบโรงเรียนอนุบาลนครพนม, ประถมศึกษา โรงเรียนสุนทรวิจิตร, มัธยมศึกษา โรงเรียนปิยะมหาราชาลัย, มัธยมศึกษาปีที่ 4-5 ที่โรงเรียนเทเวศร์ศึกษา, นักเรียนโรงเรียนนายร้อยตำรวจ (นรต.) รุ่น 29, ปริญญาโทด้านพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, โรงเรียนเสนาธิการทหารบก หลักสูตรฝ่ายอำนวยการ, จบวิทยาลัยเสนาธิการทหารรุ่นที่ 33, วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรรุ่นที่ 42, จบหลักสูตรมินิครุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ หลักสูตรความเป็นเลิศของนักบริหาร มธ. สถาบันวิทยาลัยตลาดทุนรุ่น 5

ปริญญากิตติมศักดิ์ ปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยนครพนม พ.ศ. 2556 [11]

การทำงาน แก้

พล.ต.อ. อดุลย์ เคยดำรงตำแหน่งหน้าที่ ดังนี้

  • รองสารวัตรปราบปราม สน.ปทุมวัน
  • ผู้บังคับหมวด หน่วยปฏิบัติการพิเศษ จ.นครพนม
  • สารวัตรปกครองป้องกัน สภ.เมืองมุกดาหาร
  • สารวัตร สภ.กิ่ง อ.หว้านใหญ่ จ.มุกดาหาร
  • สารวัตร สภ.นิคมคำสร้อย จ.มุกดาหาร
  • ผบ.ร้อย. 4 หห.1 รร.นรต.
  • หน.ผ.3 ยุทธการ กก.ตชด.13 จ.กาญจนบุรี
  • รอง ผกก.อก.ตชด.ภาค 1
  • รองผู้กำกับ 2 กองบังคับการสนับสนุน กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน
  • อาจารย์ภาควิชาทหารและทหารฝึก โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
  • รองผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยตำรวจ
  • รองกองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 1
  • ผู้กองบังคับการสำนักงานแผนงานและงบประมาณ
  • ผู้กองบังคับการตำรวจจราจร
  • ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจนครบาล
  • รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล
  • ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 3 และ 9
  • ผู้ช่วย ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
  • ที่ปรึกษา (สบ.10)
  • รองผู้บัญชาการตำรวจแห่ง
  • เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด

ตำแหน่งที่ทำให้เขามีชื่อเสียงคือผู้บัญชาการศูนย์ปฏิบัติงานสำนักงานตำรวจแห่งชาติส่วนหน้า[12]เนื่องจากดูแลความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้

นอกจากนี้ ยังเคยดำรงตำแหน่งพิเศษ อาทิ คณะที่ปรึกษาฝ่ายวางแผนยุทธศาสตร์ กรุงเทพมหานคร กรรมการข้าราชการตำรวจ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ กรรมาธิการการมีส่วนร่วมของประชาชน กรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กรรมการองค์การตลาด นายตำรวจราชสำนักเวร นายตำรวจราชสำนักพิเศษ กรรมการข้าราชการตำรวจโดยตำแหน่ง และกรรมการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบสืบเนื่องจากความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้

และยังเคยได้รับรางวัล ปี 2526 รางวัลตำรวจดีเด่น และ ปี 2527 คนไทยตัวอย่าง ของมูลนิธิธารน้ำใจ เพื่อนร่วมรุ่น[13]

ต่อมา พล.ต.อ. อดุลย์ ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เมื่อ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555[14] ต่อจากพล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ ซึ่งเกษียณอายุราชการเมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2555

ในวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 พล.ต.อ. อดุลย์ เป็นหนึ่งในผู้ทำการรัฐประหารในนามคณะรักษาความสงบแห่งชาติในฐานะรองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ แต่หลังจากนั้น 2 วัน พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้ออกคำสั่งให้ พล.ต.อ. อดุลย์ พ้นจากตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เข้าไปปฏิบัติหน้าที่ที่สำนักนายกรัฐมนตรี โดยมี พล.ต.อ. ดร.วัชรพล ประสารราชกิจ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นผู้รักษาราชการแทน[15] แต่ยังคงดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ อย่างไรก็ตามมีรายงานว่าเขาขอปลด ตัวเองเพื่อให้ พล.ต.อ. ดร.วัชรพล ประสารราชกิจ เพื่อนของเขาเป็นรักษาการผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติอีก 4 เดือน

มีหลักฐานสนับสนุนในเรื่องนี้เนื่องจาก พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา รู้จักกับ พล.ต.อ. อดุลย์ แสงสิงแก้ว มานาน[16]ในงานวิจัยเรื่อง "กองทัพไทยกับภัยคุกคามรูปแบบใหม่" พล.อ. ประยุทธ์ ได้สัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญ 7 คน คือ นายศักดิ์สิทธิ์ ตรีเดช , นายจุฑาธวัช อินทรสุขศรี , พล.อ. อนุพงษ์ เผ่าจินดา ,ดร.ปณิธาน วัฒนายากร พ.ต.อ. ทวี สอดส่อง นายถวิล เปลี่ยนศรี และ พล.ต.ท. อดุลย์ แสงสิงแก้ว (ยศในขณะนั้น)

ในวันที่ 30 สิงหาคม ปีเดียวกัน ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในรัฐบาลของ พล.อ. ประยุทธ์ จันทรโอชา โดยเป็นข้าราชการตำรวจคนแรกที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนี้ [17] เขาแต่งตั้งให้ พล.ต.อ. สุวัฒน์ จันทร์อิทธิกุล เป็นผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และ ภายหลังจากที่พลตำรวจเอก สุวัฒน์ ลาออก[18] เขาแต่งตั้ง พล.ต.อ. อำนาจ อันอาตม์งาม เป็นผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์

จากนั้น ในวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ในรัฐบาลของ พล.อ. ประยุทธ์ จันทรโอชา[19]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ แก้

  •   มาเลเซีย :
    • พ.ศ. 2562 -   เครื่องราชอิสริยาภรณ์หยาง มูเลีย เซเตีย มาห์โกตา มาเลเซีย ชั้นที่ 2 [26]
    • พ.ศ. 2555 -   เครื่องราชอิสริยาภรณ์เกปาลาวานัน ปาสุกานต์ โปลิส ชั้นที่ 1[27]

อ้างอิง แก้

  1. ประธานกรรมการ มูลนิธิ พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว
  2. ราชกิจจานุเบกษา, รัฐมนตรีลาออก, เล่มที่ ๑๓๖, ตอน พิเศษ ๑๑๘ ง, ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๒, หน้า ๑
  3. อดีตนายตำรวจราชองครักษ์พิเศษ
  4. ประธานคณะกรรมการนโยบายการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว
  5. ประธานกรรมการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
  6. กรรมการในคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้
  7. ประธานคณะกรรมการควบคุมการขอทาน กรรมการในคณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
  8. อดีตเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
  9. หัวหน้าผู้รับผิดชอบในเขตท้องที่ตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงและรองผู้อำนวยการศูนย์รักษาความสงบ
  10. เปิดชีวประวัติ อดุลย์ แสงสิงแก้ว
  11. "พิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษามหาวิทยาลัยนครพนม ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๔-๒๕๕๕". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2014-05-24.
  12. "โยกย้ายยึดหลัก'เข้าขามองตารู้ใจ'". คมชัดลึก. 14 กันยายน 2011.
  13. พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว คนไทยตัวอย่าง ของมูลนิธิธารน้ำใจ เพื่อนร่วมรุ่น
  14. ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการตำรวจ. เล่ม 129 ตอนพิเศษ 124 ง หน้า 5. วันที่ 10 สิงหาคม 2555.
  15. คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 7/2557 เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการให้ปฏิบัติหน้าที่และให้รักษาราชการแทน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 131 ตอน 88 ง พิเศษ หน้า 1 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
  16. ส่องความคิด'ประยุทธ์'ผ่านงานวิจัย'ภัยคุกคามประเทศ'
  17. "พระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (ครม. ประยุทธ์ 1)" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 31 สิงหาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 31 สิงหาคม 2014.
  18. ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
  19. "พระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (ครม. ประยุทธ์ 5)" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 24 พฤศจิกายน 2017. สืบค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2017.
  20. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 10 ตุลาคม 2010 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๑๘ ข หน้า ๒, ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐
  21. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 7 มกราคม 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๒๖, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
  22. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๑๑๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕, ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๒๓
  23. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๐๐ ตอนที่ ๑๑๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๖, ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๒๖
  24. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๒๑๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๘๓, ๑๖ ธันวาคม ๒๕๓๑
  25. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษและเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๕๔ - ๒๕๕๕, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๒๖, ๒๐ มกราคม ๒๕๕๘
  26. สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งมาเลเซียพระราชทานเครื่องราชฯ “ตานศรี” ให้ “บิ๊กอู๋”
  27. ราชกิจจานุเบกษา. "ประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2022. สืบค้นเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2022.


ก่อนหน้า อดุลย์ แสงสิงแก้ว ถัดไป
พลเอก สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์
(รักษาราชการแทน)
   
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน (ครม. 61)
(23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 – 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2562)
  พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ
(รักษาราชการแทน)
ปวีณา หงสกุล    
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคม
และความมั่นคงของมนุษย์
(ครม. 61)

(30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 – 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560)
  พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์
พลตำรวจเอก เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์    
ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
(1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 – 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2557)
  พลตำรวจเอก ดร.วัชรพล ประสารราชกิจ
(รักษาราชการแทน)