แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล

(เปลี่ยนทางจาก องค์การนิรโทษกรรมสากล)

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล หรือ องค์การนิรโทษกรรมสากล[3] (อังกฤษ: Amnesty International หรือ Amnesty หรือ AI) เป็นองค์การพัฒนาเอกชนที่มีจุดประสงค์ "ในการค้นคว้าและดำเนินการป้องกันและยุติการทำร้ายสิทธิมนุษยชน และเพื่อแสวงหาความยุติธรรมสำหรับผู้ที่ถูกละเมิดสิทธิ"[4]

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล
ผู้ก่อตั้งปีเตอร์ เบเน็นสัน, อีริค เบเกอร์
ก่อตั้งกรกฎาคม 1961; 62 ปีที่แล้ว (1961-07)
สหราชอาณาจักร
ประเภทไม่แสวงหากำไร
องค์การนอกภาครัฐนานาชาติ
สํานักงานใหญ่ลอนดอน, WC1
สหราชอาณาจักร
ที่ตั้ง
  • ทั่วโลก
บริการป้องกันสิทธิมนุษยชน
สาขาวิชาการสนับสนุนทางกฎหมาย, ความสนใจของสื่อ, การรณรงค์อุทธรณ์โดยตรง, การวิจัย, การวิ่งเต้น
สมาชิก
สมาชิกและผู้สนับสนุนมากกว่า 7 ล้านคน[1]
เลขาธิการ
แอกเนส กาลามาร์ด[2]
เว็บไซต์www.amnesty.org

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพสำหรับการรณรงค์ต่อต้านการทรมานโดยเจ้าหน้าที่รัฐ[5] และรางวัลองค์การสหประชาชาติสาขาสิทธิมนุษยชน (United Nations Prize in the Field of Human Rights) ในปี ค.ศ. 1978[6] ทุกวันนี้ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล มีสมาชิกและผู้สนับสนุนมากกว่า 10 ล้านคนในกว่า 150 ประเทศและดินแดน ซึ่งทุกคนได้รวมพลังกันเพื่อที่จะทำให้โลกนี้เป็นสถานที่ซึ่งทุกคนมีสิทธิมนุษยชน นอกจากนี้ยังมีกลุ่มคนในท้องถิ่น กลุ่มเยาวชนและนักเรียนนักศึกษา กลุ่มผู้เชี่ยวชาญอื่นๆ สมาชิกรายบุคคล และผู้ประสานงานอีกหลายพันกลุ่ม อยู่ในกว่า 100 ประเทศและเขตการปกครองนอกจากนี้ยังมีสำนักงาน (Section/Structure) ที่จัดตั้งในระดับชาติขึ้นในพื้นที่มากกว่า 70 ประเทศ และในประเทศต่างๆ อีกกว่า 20 ประเทศยังมีการจัดตั้งองค์กรประสานงานอื่นๆ (coordinating structures) อีกด้วย แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลยังเป็นองค์กรที่ได้รับการยอมรับและให้ความเชื่อถือ โดยองค์กรฯ จัดส่งผู้แทนไปพบรัฐบาลและองค์กรระหว่างประเทศ เช่น องค์การสหประชาชาติ และมีส่วนร่วมในการอภิปรายในประเด็นสิทธิมนุษยชนระดับนานาชาติ

การถูกคุกคามโดยรัฐ แก้

องค์กรแอมเนสตี้ มีส่วนในการช่วยเหลือด้านสิทธิมนุษยชน แต่มักจะมีอุปสรรคต่อการทำงาน โดยเฉพาะประเทศที่ปกครองระบอบเผด็จการแบบคอมมิวนิสต์ ฟาสซิสต์ และประเทศที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่ไม่เสรีที่แทรกแซงโดยกลุ่มคณาธิปไตยและกลุ่มอำนาจนิยมเบ็ดเสร็จ และมักจะถูกคุกคามและกดดันโดยรัฐเสมอ โดยเฉพาะในจีน ฮ่องกง[7] พม่า

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. "Who we are". Amnesty International. สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2015.
  2. "Dr Agnès Callamard appointed as Secretary General of Amnesty International". amnesty.org. 29 มีนาคม 2021. สืบค้นเมื่อ 4 เมษายน 2021.
  3. องค์การนิรโทษกรรม จาก หนังสืออธิบายศัพท์การทูตและการเมืองระหว่างประเทศ โดย ฯพณฯเอกอัครราชทูตกลศ วิเศษสุรการสากล[1] เก็บถาวร 2009-02-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  4. "About Amnesty International". Amnesty International. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 ธันวาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2008.
  5. Amnesty International - The Nobel Peace Prize 1977
  6. United Nations Prize in the field of Human Rights
  7. "แอมเนสตี้เตรียมปิดสำนักงานในฮ่องกงภายในสิ้นปีนี้ หลังเผชิญกฎหมายความมั่นคงฉบับใหม่จากรัฐบาลจีน". THE STANDARD. 26 ตุลาคม 2021.

อ่านเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้