หุ่นเชิด (อินเทอร์เน็ต)

ในอินเทอร์เน็ต หุ่นเชิด (อังกฤษ: sockpuppet) หมายถึงอัตลักษณ์ออนไลน์ที่ใช้เพื่อหลอกหลวงผู้อื่น คำว่าหุ่นเชิดมีที่มาจากการเคลื่อนไหวตุ๊กตาหุ่นเชิดด้วยมือไปมา และเดิมใช้อ้างถึงอัตลักษณ์ปลอมของบุคคลหนึ่งบุคคลใดในสังคมอินเทอร์เน็ตเพื่อกล่าวถึงหรือกล่าวโต้ตอบกับตัวเอง ประหนึ่งว่าหุ่นเชิดคือคนอีกคนหนึ่ง[1] ปัจจุบันนี้ คำว่าหุ่นเชิดหมายความรวมถึงการใช้อัตลักษณ์ที่ไม่ถูกต้องเพื่อสนับสนุน ปกป้องหรือชื่นชมบุคคลที่สามหรือองค์กรอื่นใด[2] หรือการใช้หุ่นเชิดเพื่อหลบเลี่ยงการถูกระงับการใช้งานหรือการถูกแบน ข้อแตกต่างที่สำคัญระหว่างการใช้นามแฝง[3] และการใช้หุ่นเชิดคือ หุ่นเชิดจะใช้ในทำนองว่าบุคคลนั้น ๆ เป็นบุคคลที่สามที่ไม่เกี่ยวข้องกับผู้เชิดหุ่น ในสังคมออนไลน์หลายแห่งมีนโยบายว่าด้วยการบล็อกหุ่นเชิดเพื่อป้องกันความเสียหายด้วย

คำว่าหุ่นเชิดปรากฏขึ้นครั้งแรกในวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2536[4] แต่ยังไม่ปรากฏการใช้งานมากนักในเครือข่าย USENET จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2539 ที่ปรากฏการใช้งานมากขึ้น ต่อมานิตยสารยูเอสนิวส์แอนด์เวิร์ดรีพอร์ต (U.S. News and World Report) ฉบับวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2543 เป็นผู้ใช้คำว่าหุ่นเชิดในความหมายของบุคคลหนึ่งบุคคลใดที่มีบุคคลอีกบุคคลหนึ่งคอยควบคุมการกระทำอยู่ ซึ่งต่อมาความหมายนี้เองและตัวอย่างการใช้ได้รับการบรรจุในพจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับออกซฟอร์ด[5]

การเขียนวิจารณ์หนังของตนเองโดยใช้ชื่ออื่นมีมาก่อนยุคอินเทอร์เน็ต แต่ก็นับว่าเป็นหุ่นเชิดได้ โดยมีตัวอย่างจากผู้มีชื่อเสียง เช่น วอล์ท วิธแมน แอนโนที เบอร์เกส[6] และเบนจามิน แฟรงคลิน[7]

อ้างอิง แก้

  1. "Definition of sockpuppet". WordSpy.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-10-15. สืบค้นเมื่อ 2013-01-27.
  2. Stone, Brad (July 16, 2007). "The Hand That Controls the Sock Puppet Could Get Slapped". New York Times.
  3. นามแฝงที่ใช้ในทางที่ถูกต้องอาจใช้คำว่า alt ที่ย่อมาจาก alternate identity (อัตลักษณ์อีกอันหนึ่ง) ได้
  4. Dana Rollins (July 9, 1993). "Arty/Scotto:". NewsgroupGroups Google Groups. 248375@AUDUCADM.DUC.AUBURN.EDU. สืบค้นเมื่อ June 3, 2009. ... one is merely the sock puppet manifestation of the other... {{cite newsgroup}}: ตรวจสอบค่า |newsgroup= (help)
  5. OED, online edition, June 2011 (accessed August 18, 2011). The reference is to one Jennifer Brand, a 24-year-old student who backed President Clinton in 1996, by calling Gore ‘a sock puppet.’
  6. Amy Harmon, "Amazon Glitch Unmasks War Of Reviewers," New York Times, February 14, 2004.
  7. "Name that Ben," PBS.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้