หอแก้วมุกดาหาร (อักษรโรมัน: Ho Kaeo Mukdahan) หรือหอแก้วมุกดาหารเฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษก คือ หอสังเกตการณ์ที่มีความสูง 65.50 เมตร สร้างขึ้นใน พ.ศ. 2539 ในพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี

หอแก้วมุกดาหาร
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งไทย มุกดาหาร ประเทศไทย
พิกัด16°32′35″N 104°43′22″E / 16.54306°N 104.72278°E / 16.54306; 104.72278
สถานะเสร็จสมบูรณ์
เปิดตัวพ.ศ. 2539
การใช้งานพิพิธภัณฑ์ หอสังเกตการณ์
ความสูง
ชั้นสูงสุด65.50 เมตร

หอแก้วมุกดาหาร ตั้งอยู่บนถนนมุกดาหาร - ดอนตาล ห่างจากอำเภอเมืองมุกดาหาร 2 กิโลเมตร เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 08.30 น. -16.30 น. บัตรเข้าชม เด็กคนละ 10 บาท ผู้ใหญ่คนละ 30 บาท ส่วนฐานของหอเป็นอาคารทรง 9 เหลี่ยม ตัวอาคารแบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ ดังนี้

ชั้นที่ 1 เป็นพิพิธภัณฑ์ศิลปะและวัฒนธรรม แสดงเครื่องมือเครื่องใช้ในการดำเนินชีวิตของชาวบ้าน

ชั้นที่ 2 เป็นการจัดนิทรรศการประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของ 8 ชนเผ่าในจังหวัดมุกดาหาร ได้แก่

ชั้นที่ 3-5 เป็นส่วนแกนของหอคอย

ชั้นที่ 6 เป็นหอชมทัศนียภาพ 360 องศา

ชั้นที่ 7 เป็นลูกแก้วมุกดาหาร ประดิษฐานพระพุทธรูปเนื้อเงินแท้ เรียกว่า พระพุทธนวมิ่งมงคลดาหาร และพระพุทธรูปประจำวันเกิด

ลักษณะของหอแก้วมุกดาหาร แก้

หอแก้วมุกดาหาร เป็นหอคอยสูงที่ทันสมัยแห่งหนึ่ง และเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ของจังหวัดมุกดาหาร มีความสูงจากระดับพื้นดินถึงระดับหอชมทัศนียภาพ 50 เมตร และถึงยอดลูกแก้วมุกดาหาร 15 เมตร รวมความสูงทั้งสิ้น 65.50 เมตร มีทั้งหมด 7 ชั้น

ฐานหอแก้วมุกดาหาร มีลักษณะเป็นอาคาร 2 ชั้น ทรง 9 เหลี่ยม เส้นผ่าศูนย์กลาง 40 เมตร มีทางขึ้น 3 ทาง

แกนหอคอย ตั้งแต่ชั้น 3-5 สูง 39.6 เมตร มีช่องลิฟต์และบันไดเวียนสำหรับอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในการขึ้นชมทัศนียภาพโดยมีชานพักเป็นช่วงๆ เส้นผ่าศูนย์กลางตัวแกนหอคอย 6 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางช่องลิฟต์ 3 เมตร

ส่วนบนสุดจะเป็นหอชมทัศนียภาพโดยมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 18 เมตร สามารถทัศนียภาพและวิวทิวทัศน์รอบตัวเมืองมุกดาหาร และแขวงสุวรรณเขต ประเทศลาว ส่วนลูกแก้วมุกดาหารมีลักษณะกลมสีขาวหมอกมัว ตรงกับ ลักษณะแก้วมุกดาหาร ซึ่งเป็นหนึ่งในนพรัตน์ 9 ประการในตำนานของไทย ภายในลูกแก้วมุดกาหาร เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปเนื้องเงินแท้บริสุทธิ์ผสมทองคำปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 50 ซ.ม. (20 นิ้ว) และพระพุทธรูปประจำวันเกิดต่าง ๆ ทั้ง 7 วัน เพื่อให้ประชาชนกราบไหว้ สักการบูชา

แหล่งข้อมูลอื่น แก้