หอดูดาวท้องฟ้าซีกใต้แห่งยุโรป

หอดูดาวท้องฟ้าซีกใต้แห่งยุโรป (อังกฤษ: European Southern Observatory; ESO) มีชื่อเต็มอย่างเป็นทางการว่า European Organization for Astronomical Research in the Southern Hemisphere หรือ องค์การแห่งยุโรปเพื่อการวิจัยทางดาราศาสตร์ในท้องฟ้าซีกใต้ เป็นองค์กรวิจัยนานาชาติสำหรับการศึกษาด้านดาราศาสตร์ ภายใต้การสนับสนุนของประเทศต่างๆ ในทวีปยุโรป 14 ประเทศ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1962 มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองมิวนิก ประเทศเยอรมัน ส่วนอุปกรณ์สังเกตการณ์เกือบทั้งหมดตั้งอยู่ที่ประเทศชิลี โดยใช้อุปกรณ์และเทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อให้นักดาราศาสตร์จากยุโรปสามารถศึกษาท้องฟ้าซีกใต้ได้ มีชื่อเสียงจากกล้องโทรทรรศน์ที่ใหญ่ที่สุดและก้าวหน้ามากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เช่น กล้องโทรทรรศน์นิวเทคโนโลยี (New Technology Telescope; NTT) ซึ่งเป็นกล้องรุ่นแรกที่บุกเบิกเทคโนโลยี active optics และกล้องโทรทรรศน์ VLT (Very Large Telescope) ประกอบด้วยกล้องโทรทรรศน์ขนาด 8 เมตรจำนวน 4 ชุด และกล้องประกอบขนาด 1.8 เมตรอีกจำนวน 4 ชุด

อุปกรณ์ทันสมัยจำนวนมากที่หอดูดาวแห่งนี้ได้ช่วยเหลือการค้นพบทางดาราศาสตร์ครั้งสำคัญๆ หลายครั้ง และช่วยสร้างรายการวัตถุทางดาราศาสตร์จำนวนมาก การค้นพบเมื่อไม่นานมานี้รวมถึงการค้นพบ แสงวาบรังสีแกมมาที่อยู่ไกลที่สุด และการค้นพบหลักฐานการมีอยู่ของหลุมดำที่บริเวณใจกลางทางช้างเผือกของเรา ในปี ค.ศ. 2004 กล้องโทรทรรศน์ VLT ได้ช่วยให้นักดาราศาสตร์จับภาพถ่ายแรกของดาวเคราะห์นอกระบบ 2M1207b ที่โคจรรอบดาวแคระน้ำตาลดวงหนึ่งซึ่งอยู่ห่างออกไป 173 ปีแสง นอกจากนี้อุปกรณ์ HARPS ยังได้ช่วยเหลือการค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบอีกเป็นจำนวนมาก รวมถึงการค้นพบ กลีเซอ 581 ซี ซึ่งโคจรรอบดาวแคระแดง กล้องโทรทรรศน์ VLT ยังช่วยในการค้นพบดาราจักรที่ไกลที่สุดเท่าที่มนุษย์เคยรู้จัก คือ Abell 1835 IR1916

อุปกรณ์สังเกตการณ์ แก้

อุปกรณ์สังเกตการณ์เกือบทั้งหมดของ ESO ตั้งอยู่ที่ประเทศชิลี เนื่องจากต้องการมองเห็นท้องฟ้าซีกใต้อย่างชัดเจน โดยตั้งอยู่ในทะเลทราย Atacama อันเป็นหนึ่งในสถานที่ที่แห้งแล้งที่สุดบนโลก มีหอดูดาวทั้งสิ้น 3 แห่งคือ ที่ลาซีญา (La Silla) พารานัล (Paranal) และ Llano de Chajnantor

ลาซิยา แก้

หอดูดาวลาซิยา

ปารานาล แก้

หอดูดาวปารานาล (Paranal)

ยาโน เด ชานันตอร์ แก้

หอดูดาวยาโน เด ชานันตอร์ (Llano de Chajnantor)

รัฐสมาชิก แก้

ประเทศ เข้าร่วมเมื่อ
  เบลเยียม 1962
  เยอรมนี 1962
  ฝรั่งเศส 1962
  เนเธอร์แลนด์ 1962
  สวีเดน 1962
  เดนมาร์ก 1967
  สวิตเซอร์แลนด์ 1981
  อิตาลี 1982, 24 พฤษภาคม
  โปรตุเกส 2000, 27 มิถุนายน
  สหราชอาณาจักร 2002, 8 กรกฎาคม
  ฟินแลนด์ 2004, 1 กรกฎาคม
  สเปน 2006, 1 กรกฎาคม
  เช็กเกีย 2007, 1 มกราคม
  ออสเตรีย 2008, 1 กรกฎาคม

ดูเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

Video clips แก้