หว้า (ชื่อวิทยาศาสตร์: Syzygium cumini) เป็นไม้ประเภทไม้ยืนต้น มีถิ่นกำเนิดจากอินเดียจนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในไทยพบทั่วไปตามป่าดิบชื้นและป่าผลัดใบ ตั้งแต่ระดับใกล้น้ำทะเลจนถึงระดับความสูง 1,100 เมตร เป็นพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำเพชรบุรี[3]

หว้า
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: พืช
เคลด: พืชมีท่อลำเลียง
เคลด: พืชดอก
เคลด: พืชใบเลี้ยงคู่แท้
เคลด: โรสิด
อันดับ: อันดับชมพู่
วงศ์: วงศ์ชมพู่
สกุล: ชมพู่
(L.) Skeels.[2]
สปีชีส์: Syzygium cumini
ชื่อทวินาม
Syzygium cumini
(L.) Skeels.[2]
ชื่อพ้อง[2]
รายการ
  • Calyptranthes caryophyllifolia Willd.
  • Calyptranthes cumini (L.) Pers.
  • Calyptranthes cuminodora Stokes
  • Calyptranthes jambolana (Lam.) Willd.
  • Calyptranthes jambolifera Stokes
  • Calyptranthes oneillii Lundell
  • Caryophyllus corticosus Stokes
  • Caryophyllus jambos Stokes
  • Eugenia brachiata Roxb.
  • Eugenia calyptrata Roxb. ex Wight & Arn.
  • Eugenia caryophyllifolia Lam.
  • Eugenia cumini (L.) Druce
  • Eugenia djouat Perrier
  • Eugenia fruticosa (DC.) Roxb.
  • Eugenia jambolana Lam.
  • Eugenia jambolifera Roxb. ex Wight & Arn.
  • Eugenia obovata Poir.
  • Eugenia obtusifolia Roxb.
  • Eugenia odorata Wight
  • Eugenia tenuis Duthie
  • Eugenia tsoi Merr. & Chun
  • Jambolifera chinensis Spreng.
  • Jambolifera coromandelica Houtt.
  • Jambolifera pedunculata Houtt.
  • Myrtus corticosa Spreng.
  • Myrtus cumini L.
  • Myrtus obovata (Poir.) Spreng.
  • Syzygium brachiatum (Roxb.) Miq.
  • Syzygium caryophyllifolium (Lam.) DC.
  • Syzygium fruticosum DC.
  • Syzygium jambolanum (Lam.) DC.
  • Syzygium obovatum (Poir.) DC.
  • Syzygium obtusifolium (Roxb.) Kostel.
  • Syzygium pseudojambolana Miq.
  • Syzygium tenue (Duthie) N.P.Balakr.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ แก้

ลักษณะ ลำต้น ไม้ยืนต้นสูง 10-35 เมตร เปลือกต้นค่อนข้างเรียบ สีน้ำตาล ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม รูปไข่หรือรูปรี กว้าง 3-7 เซนติเมตร ยาว 8-14 เซนติเมตร มีจุดน้ำมันที่บริเวณขอบใบ ดอกช่อ สีขาวหรือสีเหลืองอ่อน ออกที่ซอกใบหรือปลายยอด ฐานรองดอกเป็นรูปกรวย กลีบเลี้ยง 4 กลีบ กลีบดอก 4 กลีบ เกสรตัวผู้มีจำนวนมาก ออกดอกและติดผลราวเดือน ธันวาคม-มิถุนายน ผลเป็นผลสด รูปรีแกมรูปไข่ ฉ่ำน้ำ มีสีม่วงดำ ผิวเรียบมัน มีขนาด 1 เซนติเมตร ผลแก่ ราวเดือนพฤษภาคม เมล็ด มี 1 เมล็ด รูปไข่

ประโยชน์ แก้

  • เปลือกต้น ต้มน้ำดื่มแก้บิด อมแก้ปากเปื่อย
  • เนื้อไม้ ใช้ทำสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ในร่ม
  • ผลดิบ แก้ท้องเสีย ผลสุก รับประทานได้ ใช้ทำเครื่องดื่ม มีรสเปรี้ยวอมฝาด สามารถนำไปทำน้ำผลไม้ ไวน์เป็นเครื่องดื่มที่ให้สีม่วงกินแก้ท้องร่วงและบิด
  • เมล็ด มีสารช่วยลดน้ำตาลในเลือด แก้ท้องเสีย ถอนพิษจากเมล็ดแสลงใจ
  • ชาวกะเหรี่ยงนำยอดอ่อนไปวัดพร้อมธูปเทียนเพื่อใช้บูชาพระ เปลือกต้นใช้ย้อมผ้าได้สีม่วง[4]
  • ชาวโอรังอัซลีในรัฐเปรัก ประเทศมาเลเซีย ใช้รากนำไปต้มกับน้ำและดื่มเพื่อชูกำลัง[5]

ภาพ แก้

อ้างอิง แก้

  1. Botanic Gardens Conservation International (BGCI).; IUCN SSC Global Tree Specialist Group (2019). "Syzygium cumini". IUCN Red List of Threatened Species. 2019: e.T49487196A145821979. doi:10.2305/IUCN.UK.2019-2.RLTS.T49487196A145821979.en. สืบค้นเมื่อ 19 November 2021.
  2. 2.0 2.1 แม่แบบ:WCSP
  3. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ อ้างอิง
  4. ขวัญฤทัย คำฝาเชื้อ 2551 พฤกษศาสตร์พื้นบ้านของชาวกะเหรี่ยง ที่ตำบลบ้านจันทร์และแจ่มหลวง อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ วิทยานิพนธ์ (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่271 หน้า ดูฉบับเต็ม เก็บถาวร 2021-06-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  5. Samuel, A.J.S.J., Kalusalingam, A., Chellappan, D.K., Gopinath, R., Radhamani, S., Husain, H. A., Muruganandham, V., Promwichit, P. 2010. Ethnomedical survey of plants used by the orang asli in kampong bawong, Perak, West Malaysia. Joutnal of Ethnobiology and Ethnomedicine. 6:5

แหล่งข้อมูลอื่น แก้