หลักการพื้นฐานจักรวาลวิทยา

ในการศึกษาจักรวาลวิทยา หลักการพื้นฐานจักรวาลวิทยา เป็นสมมุติฐานที่ใช้งานอยู่ในการอธิบายถึงโครงสร้างขนาดใหญ่ของจักรวาล โดยระบุว่า

ในภาพรวมของอวกาศ จักรวาลมีความกลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกัน และสมมาตรกันในทุกทิศทาง

กล่าวโดยละเอียดดังนี้

หลักการพื้นฐานจักรวาลวิทยานี้ทำให้มีทฤษฎีทางจักรวาลที่เป็นไปได้เพียงจำนวนหนึ่ง ซึ่งได้ผลสอดคล้องกับการสังเกตการณ์ คือ (1) การกระจายตัวของดาราจักรในอวกาศ (2) การกระจายตัวของแหล่งกำเนิดคลื่นวิทยุ และ (3) การแผ่รังสีไมโครเวฟพื้นหลังของจักรวาล[2][3]

ปี ค.ศ. 1923 อเล็กซานเดอร์ ฟรีดแมน พัฒนาสมการของไอน์สไตน์จากทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป เพื่ออธิบายถึงสภาวะเอกภพที่กลมกลืนและสมมาตรในทุกทิศทางโดยมีลักษณะเป็นพลวัต ทฤษฎีของฟรีดแมนถูกนำมาใช้ในอีกไม่กี่ปีต่อมา โดยอาเทอร์ เอ็ดดิงตัน และฌอร์ฌ เลอแม็ทร์[4][5][6]

อ้างอิง แก้

  1. Klaus Mainzer and J Eisinger (2002). The Little Book of Time. Springer. ISBN 0387952888.. P. 55.
  2. David Schramm & RV Wagoner (1996). "What can deuterium tell us?". ใน DN Schramm (บ.ก.). The Big Bang and Other Explosions in Nuclear and Particle Astrophysics (1974 "Physics Today" article ed.). World Scientific. p. 98. ISBN 9810220243.
  3. S Blondin; และคณะ (2008). "Time dilation in type Ia supernova spectra at high redshift". Astrophys J. 682: 724–736.
  4. Alexander Friedmann (1923). Die Welt als Raum und Zeit (The World as Space and Time). Ostwalds Klassiker der exakten Wissenschaften. ISBN 3817132875..
  5. Georges Lemaitre (1927). "Un univers homogène de masse constante et de rayon croissant, rendant compte de la vitesse radiale des nébuleuses extragalactiques". Annales de la Société scientifique de Bruxelles. 47: 49–59.
  6. Ėduard Abramovich Tropp, Viktor Ya. Frenkel, Artur Davidovich Chernin (1993). Alexander A. Friedmann: The Man who Made the Universe Expand. Cambridge University Press. p. 219. ISBN 0521384702.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)[ลิงก์เสีย]