หลวงพ่ออู่ทอง (ทองคำ)


หลวงพ่ออู่ทอง (ทองคำ) เป็นพระพุทธรูปสกุลช่างอู่ทองโบราณ เนื้อโลหะทองคำบริสุทธิ์ หนักกว่า 200 กิโลกรัม มีขนาดหน้าตักกว้าง 34 นิ้ว พุทธลักษณะปางมารวิชัย มีอายุกว่า 800 ปี

หลวงพ่ออู่ทอง
ชื่อเต็มหลวงพ่ออู่ทอง
ชื่อสามัญหลวงพ่ออู่ทอง, หลวงพ่อทองคำ วัดดงสระแก้ว, หลวงพ่อทองคำ
ประเภทพระพุทธรูป
ศิลปะศิลปะอู่ทอง ปางมารวิชัย
ความกว้าง34 นิ้ว
วัสดุทองคำ
สถานที่ประดิษฐานถูกโจรกรรม (ปัจจุบันองค์จำลองประดิษฐานอยู่ที่วัดดงสระแก้ว)
ความสำคัญพระพุทธรูปทองคำโบราณองค์สำคัญองค์เดียวของจังหวัดอุตรดิตถ์
หมายเหตุถูกโจรกรรม
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

หลวงพ่ออู่ทองเคยประดิษฐานอยู่ที่วัดราชบุรณราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร ในฐานะเป็นพระปูนปั้นรอบระเบียงในพระอุโบสถ และต่อมาได้ถูกอัญเชิญมาประดิษฐานในอุโบสถ วัดดงสระแก้ว จังหวัดอุตรดิตถ์ จนปูนที่หุ้มองค์พระเนื้อทองคำได้กระเทาะออกในปี พ.ศ. 2508[1]

แต่ในปี พ.ศ. 2520 หลวงพ่ออู่ทองก็ได้ถูกโจรกรรมจากวัดไป ซึ่งยังไม่สามารถติดตามคืนมาได้จนถึงปัจจุบัน

ประวัติ แก้

พระธรรมกิจโกศล อดีตเจ้าอาวาสวัดดงสระแก้ว นำหลวงพ่ออู่ทองมาจากวัดราชบุรณราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร ซึ่งถูกทำลายจากระเบิดของฝ่ายสัมพันธมิตรในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อปี พ.ศ. 2485 ด้วยวิธีจับสลากเลือก และอัญเชิญมาลงยังสถานีอุตรดิตถ์โดยทางรถไฟ โดยเมื่อแรกนำมาประดิษฐานในอุโบสถนั้น ได้มาเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่เทอะทะ ไม่สมส่วน คือส่วนพระเศียรใหญ่กว่าปกติ แต่ต่อมาในปี พ.ศ. 2508 ขณะช่างบูรณะอุโบสถ ได้ทำกระเบื้องตกใส่องค์หลวงพ่อ จึงทำให้ปูนกระเทาะออก เผยให้เห็นองค์พระทองคำข้างใน เป็นพระทองคำบริสุทธิ์ สกุลช่างอู่ทอง จึงสันนิษฐานได้ว่าสร้างในพุทธศตวรรษ 17-19

หลวงพ่ออู่ทอง จึง เป็นพระพุทธรูปทองคำโบราณองค์สำคัญองค์เดียวของจังหวัดอุตรดิตถ์ มาตั้งแต่นั้น และเป็นพระพุทธรูปสำคัญ 1 ใน 3 องค์ ที่ได้นำขึ้นมาจากวัดราชบุรณะในคราวเดียวกัน แต่ปรากฏว่า ในปี พ.ศ. 2520 หลวงพ่ออู่ทองได้ถูกโจรกรรมหายไปจากวัดอย่างไร้ร่องรอย และยังคงตามคืนมาไม่ได้จนปัจจุบันนี้ [2]

ดูประวัติความเป็นมาของหลวงพ่ออู่ทอง (ทองคำ) เพิ่มได้ที่ ประวัติพระพุทธสุโขทัยไตรโลกเชษฐ์ ฯ เก็บถาวร 2008-06-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. ประวัติหลวงพ่ออู่ทอง (ทองคำ) เก็บถาวร 2009-04-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. เว็บไซต์วัดดงสระแก้ว. เรียกข้อมูลเมื่อ 8-4-52
  2. เทวประภาส มากคล้าย เปรียญ.. สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น : ประเพณีวัฒนธรรมและพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของวัดและหมู่บ้านคุ้งตะเภา. อุตรดิตถ์: วัดคุ้งตะเภา, 2551.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้