หลวงพ่อทองวัดโบสถ์

หลวงพ่อทองวัดโบสถ์ เป็นนิยายอิงหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา มีทั้งภาคแรก ภาคสอง และภาคสมบูรณ์ ซึ่งประพันธ์โดยคุณ ทวี วรคุณ โดยในฉบับสมบูรณ์นี้ได้รับการยอมรับว่าเป็นผลงานดีเด่นที่ได้รับรางวัล ยู.เนส.โก. ใน พ.ศ. 2510 [1] โดยมีเนื้อหามุ่งเน้นหลักธรรมะด้านต่างๆ รวมทั้งมุ่งเน้นให้ผู้คนเชื่อมั่นในเรื่องของกฎแห่งกรรมกันมากขึ้น[2] นอกจากนี้ หลวงพ่อทองวัดโบสถ์ ยังเป็นผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ซ้ำหลายครั้ง และได้รับการจัดทำเป็นละครโทรทัศน์มาแล้วครั้งหนึ่ง

"หลวงพ่อทองวัดโบสถ์" ฉบับจัดพิมพ์โดยสภาพระธรรมกถึกแห่งคณะสงฆ์ไทย

ตัวละครสำคัญ แก้

  • หลวงพ่อทอง
  • แม่กิมเฮียง
  • เจ้าเผื่อน
  • นายแดง
  • แม่ส้มลิ้ม
  • พระม่วง
  • ครูสมพงษ์
  • ทิดโถม
  • ฯลฯ

เนื้อเรื่องย่อ แก้

หลวงพ่อทองวัดโบสถ์ เป็นงานเขียนที่กล่าวถึงเรื่องราวของผู้คนมากมาย ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับหลวงพ่อทองทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น "แม่กิมเฮียง" สาวงามผู้เป็นที่หมายปองของเหล่าชายหนุ่ม ต่อมา "ทิด แร่ม" ได้ใช้น้ำมันจันทน์ทาที่แขนของแม่กิมเฮียง แม่กิมเฮียงเริ่มมีอาการจิตหลอน ทิดแร่ม กล่าวว่าเธอจะต้องยอมแต่งงานกับเขาถึงจะหายเป็นปกติ จนบิดามารดาต้องพาไปพึ่งหลวงพ่อ ท่านได้ใช้น้ำมนต์ราดจนกลับมามีอาการปกติได้อีกครั้ง และได้ไปแต่งงานกับผู้ชายคนอื่นที่เป็นครูแทน แท้ที่จริงเป็นเพียงอาการอุปาทานที่เธอคิดไปเองเท่านั้น มิใช่เรื่องไสยศาสตร์แต่อย่างใด

"เจ้าเผื่อน" ผู้ซึ่งเคยอาศัยอยู่กับหลวงพ่อทองตั้งแต่วัยเยาว์ เป็นคนที่มีนิสัยดีหลายประการ ขยัน ซื่อสัตย์ ไม่เอาเปรียบมิตรสหาย แต่เนื่องจากเป็นคนใจร้อนวู่วาม จึงได้ก่อเหตุโศกนาฏกรรมขึ้น เขาได้ใช้อาวุธปืนสังหารภรรยากับชู้รักของเธอ เพราะไม่พอใจที่นอกใจ จากนั้นเจ้าเผื่อนได้หนีการจับกุมทั้งยังยิงต่อสู้กับเจ้าหน้าที่ ต่อมาเจ้าเผื่อนเข้ามาพบกับหลวงพ่อทองด้วยความรู้สึกเป็นทุกข์ หลวงพ่อทองกล่าวว่าคนเราแม้ว่าจะหนีตำรวจได้ แต่เมื่อก่อกรรมชั่วแล้วจะไม่สามารถหนีบาปที่ก่อไว้ได้เด็ดขาด ต่อให้หนีพ้นในชาตินี้ได้ แต่ก็ไม่สามารถหนีพ้นในชาติต่อๆไปได้อยู่ดี

หลวงพ่อทองจึงแนะนำให้เขายอมมอบตัวให้กับทางการ แล้วกลับตัวกลับใจเสียใหม่ เผื่อว่าอาจได้การลดหย่อนผ่อนโทษ เจ้าเผื่อนสำนึกผิด เขาน้ำตาไหล และยอมมอบตัวให้กับทางการในเวลาต่อมา นอกจากนี้ยังมีเรื่องราวของ "เจ้าแดง" ก่อนที่เขาจะเสียชีวิต และตัวละครสำคัญอื่นๆ ที่ปรากฏในนิยายชุดนี้อีกหลายตอน

อ้างอิง แก้