หลวงพ่อคง ธมฺมโชโต

พระอุปฌาย์คง ธมฺมโชโต หรือ หลวงพ่อคง ธมฺมโชโต (3 เมษายน พ.ศ. 24076 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486) อดีตเจ้าอาวาสวัดบางกะพ้อม อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นพระอาจารย์ที่มีชื่อเสียงรูปหนึ่งในอดีต ได้รับความนิยมเป็นอันดับสองรองจาก หลวงพ่อแก้ว วัดพวงมาลัย เหรียญที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือ เหรียญทองแดงเป็นเหรียญยอดนิยมอันดับที่ 4 ของชุดเบญจภาคีเหรียญ ที่มีราคาสูงและหายากยิ่ง รองลงมาคือเหรียญรุ่นปาดตาลปี พ.ศ. 2486 เนื่อเงินลงยา ที่มีประสบการณ์สูงส่ง ขนาดมีดปาดตาลที่คมกริบยังไม่ระคายผิว [1]

พระอุปฌาย์คง ธมฺมโชโต

(คง ธมฺมโชโต)
ชื่ออื่นหลวงพ่อคง , พระอุปัชฌาย์คง
ส่วนบุคคล
เกิด3 เมษายน พ.ศ. 2407 (78 ปี)
มรณภาพ6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486
นิกายมหานิกาย
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดบางกะพ้อม จังหวัดสมุทรสงคราม
บรรพชาพ.ศ. 2419
ลาสิกขา พ.ศ. 2426
อุปสมบทสิงหาคม พ.ศ. 2427
พรรษา58
ตำแหน่งอดีตเจ้าอาวาสวัดบางกะพ้อม
พระอุปัชฌาย์คง

ประวัติ แก้

หลวงพ่อคง ธมฺมโชโต ท่านเกิดเมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2407 ณ ตำบลบางสำโรง อำเภอบางคณฑี จังหวัดสุมทรสงคราม โยมบิดาชื่อ เกตุ โยมมารดาชื่อ นางทองอยู่ นามสกุลเดิมคือ จันทร์ประเสิรฐ เล่ากันว่าท่านเกิดในเรือนแพ ซึ่งเรือนหลังนี้มีอาถรรพ์ คือถ้าใครถือกำเนิดในห้องเล็กที่ใต้เรือน จะต้องเป็นผู้ชาย และครองเพศเป็นพระตลอดชีวิต ซึ่งหลวงพ่อทิม วัดเหมืองใหม่ก็เกิดในเรือนนี้เช่นเดียวกัน ก่อนหน้าหลวงพ่อทิมก็มีคนเกิดในเรือนหลังนี้ซึ่งดำรงอยู่ในสมณเพศตลอดชีวิตเช่นเดียวกัน ต่อมาโยมบิดามารดาของหลวงพ่อคงได้ซื้อเรือนนี้มาอีกทอดหนึ่ง พออายุได้ 12 ปี ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณร เพื่อเล่าเรียนอักษรไทยและขอม ต่อมาเมื่อมีอายุได้ 19 ปี ท่านได้ลาสิกขาบทเพื่อไปช่วยบิดาและมารดาของท่านประกอบอาชีพ ครั้นเมื่อมีอายุครบ 20 ปี โดยบริบูรณ์ ท่านได้อุปสมบท ณ วัดเหมืองใหม่ เมื่อวันศุกร์ ขึ้น 6 ค่ำ เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2427 โดยมีพระอาจารย์ด้วง เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการจุ้ย เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการทิม วัดเหมืองใหม่ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ พร้อมพระในที่ประชุมสงฆ์ 25 รูป เมื่ออุปสมบทแล้ว ได้รับฉายาทางธรรมว่า ธมฺมโชโต แปลว่า ผู้รุ่งเรืองในธรรม[2]

ออกธุดงค์เพื่อศึกษาหาความรู้ แก้

เมื่ออุปสมบทแล้วท่านได้ศึกษาคำภีร์มูลกัจจายซึ่งเป็นตำราเรียนบาลีไวยากรณ์ในสมัยโบราณ มีความลึกซึ้งมากเต็มไปด้วยสูตรสนธิต่าง ๆ หลวงพ่อคงท่านศึกษาพระคำภีร์นี้กับพระอาจารย์นกซึ่งเป็นอุบาสกในละแวกนั้นเป็นเวลา 13 ปี จนมีความคล่องแคล่วสามารถแปลธรรมบทตลอดจนคำภีร์ต่าง ๆได้ นอกจากนี้หลวงพ่อคงท่านยังสนใจการศึกษาพระเวทย์วิทยาคม โดยท่านได้ศึกษากับปรมจารย์ชื่อดัง เริ่มแรกท่านได้ศึกษาคำภีร์นี้กับพระอาจารย์ด้วง ซึ่งท่านเชี่ยวชาญการลบผงวิเศษ เป็นที่นับถือในสมัยนั้น ท่านได้เล่าเรียนกับหลวงพ่อตาด วัดบางวันทอง ในยุคนั้นไม่มีใครรู้จักหลวงพ่อตาด เพราะท่านเป็นพระเถระผู้ที่มีวิทยาคมอันแก่กล้าโดยเฉพาะวิชานะปัดตลอดของท่านนับว่าเป็นยอด ขนาดที่ว่าสามารถเป่าศีรษะทะลุถึงกระดานนั่งได้ วิชานี้ หลวงพ่อทองสุข ก็ได้ไปรำเรียนมา หลวงพ่อคง ยังได้ไปศึกษากับหลวงพ่อหรุ่น วัดช้างเผือกผู้เชี่ยวชาญในพระกัมฐาน ท่านนั่งสมาธิยามมรณภาพ พระสมัยก่อนเวลาใครจะออกรุกขมูลต้องไปขอให้หลวงพ่อคุมให้

ในพรรษาที่ 19 ท่านอาพาธจึงได่หยุดพักผ่อนไปศึกษาเล่าเรียน แต่ท่านหันมาสอนสมถะกัมมัฏฐาน และวิปัสสนากรรมฐานให้กับลูกศิษย์ลูกหาเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ หลวงพ่อคง ท่านยังเอาใจใส่การดูแลก่อสร้างเสนาสนะ เนื่องจากหลวงพพ่อมีฝีมือในเชิงช่าง ในเบื้องต้นของหลวงพ่อได้ซ่อมแซมพอไตรที่มีสภาพชำรุดทรุดโทรมให้มีสภาพที่ดีขึ้น พร้อมกับนั้น ท่านได้สร้างปั้นพระป่าเลไลย์ด้วยฝีมือของท่านเอง
ในพรรษาที่ 21 ชาวบ้านได้อาราธนาหลวงพ่อคง ให้ไปรักษาการเจ้าอาวาสวัดบางกะพ้อม ซึ่งในขณะนั้นในวัดบางกะพ้อมไม่มีวัดปกครองและวัดก็อยู่ในสภาพที่ชำรุดทรุดโทรม หลวงพ่อท่านตกลงรับคำอาราธนา [3]

บั้นปลายชีวิต แก้

หลวงพ่อคง ธมฺมโชโต ท่านได้อาพาธด้วยโรคชรา เนื่องจากว่า ท่านมีงานอยู่หลายอย่างต้องทำเพราะเป็นกิจของสงฆ์ ทั้งผลงานการสร้างพระพุทธรูป การสร้างวัตถุมงคล จึงทำให้ท่านไม่ได้มีเวลาพักผ่อนเลย จนภายหลังเป็นเจ้าอาวาสบริหารวัดรับภาระมากแล้ว ในเดือน 4 ของทุก ๆ ปี ท่านจะไปปักกลดในป่าช้าข้างวัดเป็นเวลาราว 1 เดือน เรียกกันว่า “รุกขมูลข้างวัด” โดยถือว่าเป็นการชำระจิตใจให้สะอาดหลังจากมายุ่งกับเรื่องทางโลกเกือบทั้งปี วันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2485 ขณะท่านนั่งร้านเพื่อตกแต่งพระขนงพระประธานองค์ใหม่ เมื่อท่านสวมพระเกตุพระประธานเสร็จ ท่านก็เกิดเป็นลม แต่ก็มีสติดี เอามือประสานในท่านั่งสมาธิจนหมดลมถึงแก่มรณภาพในอาการอันสงบสมกับเป็นผู้ฝึกจิตมาดีแล้ว ศิษย์เห็นท่านนั่งอยู่นานจึงประคองร่างลงมาจากร่างร้าน จึงรู้ว่าท่านมรณภาพแล้ว รวมอายุได้ 78 ปี 58 พรรษา [4]

วัตถุมงคล แก้

หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม ท่านได้เริ่มสร้างวัตถุมงคลต่างๆตั้งแต่ปี พ.ศ. 2460 เป็นต้นมา โดยวัตถุมงคลที่ท่านสร้างมีทั้งเหรียญหล่อต่างๆ พระเนื้อดิน เนื้อผง ลูกอม เสื้อยันต์ และตะกรุด ซึ่งเป็นวิชาที่หลวงพ่อคง ร่ำเรียนมากจากพระอาจารย์ยุคเก่าของลุ่มน้ำแม่กลอทั้งสิ้น ตามรายละเอียดของ วัตถุมงคลของหลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม

อ้างอิง แก้

ประวัติและวัตถุมงคลหลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม สารานุกรมพระเครื่องลุ่มน้ำแม่กลอง

  1. หนังสือรวมสุดยอดพระคณาจารย์ทั้งหมด 180 พระองค์ ทศพล จังพานิชยกุล
  2. หนังสือ siam amulet
  3. "หนังสือนิตยสารท่าพระจันทร์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-25. สืบค้นเมื่อ 2011-10-09.
  4. "ประวัติหลวงพ่อคง ธมฺมโชโต". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-12. สืบค้นเมื่อ 2011-10-09.

ดูเพิ่ม แก้