หมู่เกาะไดออมีด

หมู่เกาะไดออมีด (อังกฤษ: Diomede Islands; รัสเซีย: острова́ Диоми́да, อักษรโรมัน: ostrová Diomída) ในรัสเซียรู้จักกันในชื่อ หมู่เกาะกวอซเดฟ (รัสเซีย: острова́ Гво́здева, อักษรโรมัน: ostrová Gvozdjeva) เป็นหมู่เกาะทางตอนกลางของช่องแคบเบริงที่มีเกาะหิน 2 เกาะ

หมู่เกาะไดออมีด
หมู่เกาะไดออมีด: ลิตเติลไดออมีด (ซ้าย, สหรัฐ) กับบิกไดออมีด (ขวา, รัสเซีย) มองจากทิศเหนือ หันไปทางทิศใต้
ภาพจากดาวเทียมของช่องแคบเบริง โดยหมู่เกาะไดออมีดอยู่กลางภาพ
ภูมิศาสตร์
ที่ตั้งช่องแคบเบริง
พิกัด65°47′N 169°01′W / 65.783°N 169.017°W / 65.783; -169.017
เกาะทั้งหมด2
การปกครอง
รัสเซีย / สหรัฐ
ประชากรศาสตร์
ประชากร (2011)
ข้อมูลอื่น ๆ
เขตเวลา

หมู่เกาะไดออมีดตั้งอยู่ตรงกลางช่องแคบเบริงระหว่างอะแลสกาบนแผ่นดินใหญ่และไซบีเรีย ทางเหนือติดกับทะเลชุกชี และทางใต้ติดกับทะเลเบริง และแฟร์เวย์ร็อกทางตะวันออกเฉียงใต้ 9.3 km (5.8 mi) (เป็นของอะแลสกา) แต่โดยทั่วไปไม่ถือเป็นส่วนหนึ่งของหมู่เกาะไดออมีด ถ้ารวมทะเลชายขอบทวีป จะทำให้หมู่เกาะนี้เป้นหมู่เกาะทางเหนือสุดของมหาสมุทรแปซิฟิก เนื่องจากหมู่เกาะถูกแยกด้วยเส้นแบ่งเขตวันสากล ทำให้เกาะบิกไดออมีดมีเวลาล่วงหน้าเกือบหนึ่งวัน แต่ไม่สมบูรณ์ เนื่องจากเขตเวลาตามท้องที่ ทำให้เกาะบิกไดออมีดเร็วกว่าเกาะลิตเทิลไดออมีด 21 ชั่วโมง (20 ชั่วโมงในฤดูร้อน)[1] ด้วยเหตุนี้ ทำให้หมู่เกาะนี้บางครั้งรู้จักกันในชื่อ เกาะทูมอร์โรว์ (Tomorrow Island, แปล: เกาะพรุ่งนี้; เป็นของเกาะบิกไดออมีด) และเกาะเยสเตอร์เดย์ (Yesterday Island, แปล: เกาะเมื่อวาน; เป็นของเกาะลิตเทิลไดออมีด)

ศัพทมูลวิทยา แก้

ชื่อหมู่เกาะมาจากนักบุญไดออมีดีสของกรีก Vitus Bering นักเดินเรือชาวเดนมาร์ก พบหมู่เกาะไดออมีดในวันที่ 16 สิงหาคม (แบบเก่า, ส่วนแบบใหม่คือ 27 สิงหาคม) ค.ศ. 1728 ตรงกับวันระลึกนักบุญในคริสตจักรรัสเซียออร์ทอดอกซ์[2]

ที่ตั้ง แก้

หมู่เกาะนี้ถูกแบ่งด้วยเส้นเขตแดน ซึ่งก็ถือเป็นเส้นแบ่งเขตวันสากล มีระยะห่างระหว่างเกาะประมาณ 2 กิโลเมตร (1.2 ไมล์) ที่ 168°58'37"W ส่วนจุดใกล้สุดระหว่างสองเกาะนี้อยู่ห่างกันประมาณ 3.8 กิโลเมตร (2.4 ไมล์)[3] บนเกาะลิตเติลไดออมีดมีที่อยู่อาศัยขนาดเล็กทางฝั่งตะวันตกของเกาะ

เกาะบิกไดออมีดเป็นจุดทางตะวันออกสุดของประเทศรัสเซีย

หมู่เกาะไดออมีดมักกล่าวถึงเป็นจุดหยุดที่เป็นไปได้ของสะพานหรืออุโมงค์สมมติ (ทางผ่านช่องแคบเบริง) ที่ทาบผ่านช่องแคบเบริง[4]

ในช่วงฤดูหนาว มีสะพานน้ำแข็งที่มักขยายกินพื้นที่ระหว่างสองเกาะนี้ ทำให้มีความเป็นไปได้ทางทฤษฎี (แม้ว่าผิดกฎหมาย เนื่องจากการเดินทางระหว่างสองเกาะนี้เป็นสิ่งต้องห้าม) ที่จะเดินไประหว่างรัสเซียกับสหรัฐ

อ้างอิง แก้

  1. "Two of the world's largest countries, Russia and the United States, at their closest points are separated by 2.4 miles, but are 21 hours apart! Find out how ... | ePaper | DAWN.COM". epaper.dawn.com (ภาษาอังกฤษ). 18 November 2017. สืบค้นเมื่อ 2018-06-21.
  2. Russia.com เก็บถาวร 2008-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  3. "Yesterday and Tomorrow Islands". earthobservatory.nasa.gov (ภาษาอังกฤษ). 2018-01-27. สืบค้นเมื่อ 2021-01-30.
  4. "Could a Russia–US rail tunnel be built?". BBC News. 21 October 2011.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้