ไคโยตี (สำเนียงอเมริกัน: /kaɪˈoʊt̬i/, kaɪˈoʊt) หรือ โคโยตี (สำเนียงบริเตน: /kɔɪˈəʊti/) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เป็นหมาป่าชนิดหนึ่ง ในตระกูลหมาใกล้เคียงกับหมาบ้าน หมาป่าไคโยตีมักออกล่าเหยื่อเดี่ยว และในบางครั้งอาจพบเจออยู่เป็นกลุ่มเล็ก ๆ ช่วงชีวิตของหมาป่าไคโยตีประมาณ 6 ปี อยู่อาศัยบริเวณทุ่งราบ และพบได้ในทวีปอเมริกาเหนือ หมาป่าไคโยตีถูกพบเจอครั้งแรกบริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา และแถบคอสตาริกา ซึ่งภายหลังหมาป่าไคโยตีได้ขยายดินแดนขึ้นมาทางอเมริกาเหนือ

ไคโยตี
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: กลางสมัยไพลสโตซีน – ปัจจุบัน (0.74–0.85 Ma)[1]
ไคโยตีภูเขา (C. l. lestes)
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: สัตว์
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
ชั้น: สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
อันดับ: อันดับสัตว์กินเนื้อ
วงศ์: Canidae
สกุล: Canis
Say, 1823[3]
สปีชีส์: Canis latrans
ชื่อทวินาม
Canis latrans
Say, 1823[3]
Modern range of Canis latrans
ชื่อพ้อง[4]
รายการ
    • Canis andersoni Merriam, 1910
    • Canis caneloensis Skinner, 1942
    • Canis clepticus Eliot, 1903
    • Canis estor Merriam, 1897
    • Canis frustror Woodhouse, 1851
    • Canis goldmani Merriam, 1904
    • Canis hondurensis Goldman, 1936
    • Canis impavidus Allen, 1903
    • Canis irvingtonensis Savage, 1951
    • Canis jamesi Townsend, 1912
    • Canis lestes Merriam, 1897
    • Canis mearnsi Merriam, 1897
    • Canis microdon Merriam, 1897
    • Canis nebrascensis Merriam, 1898
    • Canis ochropus Eschscholtz, 1829
    • Canis orcutti Merriam, 1910
    • Canis pallidus Merriam, 1897
    • Canis peninsulae Merriam, 1897
    • Canis riviveronis Hay, 1917
    • Canis vigilis Merriam, 1897
    • Lyciscus cagottis Hamilton-Smith, 1839

ประวัติ แก้

ไคโยตีได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์เป็นครั้งแรกโดย นักธรรมชาติวิทยา โทมัส เซย์ (Thomas Say) ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1819 ที่บริเวณของลูอิสและคลาร์กในเมืองเคาน์ซิลบลัฟส์ ทวนน้ำขึ้นไป 15 ไมล์ (24 กม.) จากบริเวณแม่น้ำมิสซูรีบรรจบปากแม่น้ำเพรตต์ ระหว่างการสำรวจที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล กับพันตรีสตีเฟน ลอง ขณะนั้นเขามีวารสาร ลูวิสและคลาร์ก (Lewis and Clark) ฉบับพิมพ์ครั้งแรกอยู่ในมือ ซึ่งมีข้อสังเกตของลูวิส ฉบับแก้ไขโดยบิดเดิล (Biddle) ลงวันที่ 5 พฤษภาคม ค.ศ. 1805 รายงานของเขาได้รับการตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1823 เขาเป็นบุคคลแรกที่จัดทำเอกสารแสดงความแตกต่างระหว่าง "Prairie wolf" (ไคโยตี) และหมาป่า (Great Plains wolf) ซึ่งเขาได้ตั้งชื่อว่า Canis nubilus ในหน้าถัดไปของบันทึกประจำวัน[3][5]

ชื่อ แก้

ชื่อ "ไคโยตี" เป็นภาษาสเปนคำว่า โคโยเต coyote ที่มาจากประเทศเม็กซิโก ที่ยืมต่อมาจาก ภาษานาวัตล์ ของชาวแอซเทค คำว่า "coyōtl, [ˈkojoːtɬ] (ออกเสียง)" ที่หมายถึง สุนัขร้องเพลง

รูปร่างลักษณะ แก้

 
โครงกระดูกของไพลสโตซีน ไคโยตี (Pleistocene coyote (C. l. orcutti) )
 
หมาป่าไคโยตีหันด้านข้าง
 
กะโหลก

ขนของหมาป่าไคโยตีมีอยู่หลายสี ข้างบนมีตั้งแต่สีน้ำตาลอมเทาจนถึงสีเทาอมเหลือง ส่วนตรงลำคอและท้องมักมีน้ำตาลเหลือง หรือ สีขาว ขาหน้า ข้างหัว ปาก และ เท้า มักมีสีน้ำตาลอมแดง ขนสั้นตรงหลังมักมีสีเหลืองเข้ม ปลายสีดำ ซึ่งทำให้มีลายสีดำกลางหลัง ไหล่มักมีสีเข้มเป็นเส้นขวาง ต่อมกลิ่นอยู่ตรงปลายหางมักเป็นสีดำ หมาป่าไคโยตีสลัดขนปีละครั้ง โดยเริ่มจากเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงที่สลัดขนบาง จนกระทั่งถึงเดือนกรกฎาคม ซึ่งเป็นช่วงที่สลัดขนมากกว่า หมาป่าไคโยตีมีหูขนาดใหญ่เมื่อเปรียบเทียบกับขนาดของหัว ส่วนเท้ามีขนาดเล็กเมื่อเปรียบเทียบกับขนาดของลำตัว[6]นักวิชาการหลายคนสังเกตว่ากระดูกหุ้มสมองของหมาป่าไคโยตีมีขนาดที่ใกล้เคียงกระดูกหุ้มสมองของหมาบ้านมากกว่ากระดูกหุ้มสมองของหมาป่า หมาป่าไคโยตีที่อาศัยอยู่ตามภูเขามักมีขนที่สีเข้มว่าหมาป่าไคโยตีที่อาศัยอยู่ตามทะเลทราย[7]

หมาป่าไคโยตีมีลำตัวยาวประมาณ 76–86 เซนติเมตร โดยไม่รวมหางซึ่งยาวประมาณ 30–41 เซนติเมตร ยืนสูงประมาณ 58–66 เซนติเมตร โดยวัดจากเท้าถึงไหล่ มีน้ำหนักประมาณ 6.8–20.9 กิโลกรัม[8][9] หมาป่าไคโยตีพันธุ์ภาคเหนือมักตัวใหญ่กว่าหมาป่าไคโยตีพันธุ์ภาคใต้ โดยมีน้ำหนักหนักสุดคือ 33.91 กิโลกรัม ความยาวทั้งสิ้น 1.75 เมตร [10][11]

พฤติกรรม แก้

ส่วนมากฝูงหนึ่งมักมีหมาป่าไคโยตีที่อายุใกล้กันไม่ว่าจะโตเต็มตัวหรือกำลังเติบโตประมาณ 6 ตัว ฝูงหมาป่าไคโยตีส่วนใหญ่มักมีจำนวนน้อยกว่าฝูงหมาป่า และความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกมักไม่มั่นคงเท่าความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกของฝูงหมาป่า[12] ซึ่งทำให้พฤติกรรมทางสังคมของหมาป่าไคโยตีใกล้เคียงกับหมาป่าดิงโกมากกว่า[13]

การสื่อสาร แก้

เสียงร้องของหมาป่าไคโยตีเป็นเสียงที่สูง ไม่ว่าจะเป็นเสียงเห่าหรือหอน เสียงดั่งกล่าวอาจเป็นเสียงยาวจากต่ำไปสูงหรือจากสูงไปต่ำ (เวลาหอน) มักใช้เสียงนี้ยามกลางคืนหรือหัวค่ำ แต่บางครั้งก็อาจหอนยามกลางวัน มักใช้เสียงเหล่านี้ในยามฤดูใบไม้ผลิซึ่งเป็นฤดูผสมพันธุ์ และในยามฤดูใบไม้ร่วงซึ่งเป็นยามที่ลูกหมาป่าไคโยตีต้องจากลาจากครอบครัวเพื่อไปตั้งรากฐานใหม่เป็นของตัวเอง หมาป่าไคโยตีมักร้องเป็นเสียงสูงเมื่อเรียกฝูงตนมารวมตัว ฝูงหมาป่าไคโยตีจะหอนเสียงสูงขึ้นสูงขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อมารวมตัวกันเป็นฝูงใหญ่

ในสื่ออื่น แก้

ในการ์ตูนเรื่องไวลี อี. ไคโยตี และโรด รันเนอร์ ไวลี อี. ไคโยตี เป็นหมาป่าไคโยตีที่ต้องวิ่งไล่จับนกโรด รันเนอร์แต่ไม่เคยสำเร็จ

ในภาพยนตร์เรื่อง โคโยตี้ อั๊กลี่ บาร์ห้าวสาวฮ็อต (Coyote Ugly) ลิล (เจ้าของบาร์) ได้ตั้งชื่อร้านตามคำสแลง ในภาษาอังกฤษจากคำว่า "coyote ugly" หมายถึง คนที่น่าเกลียดมาก ใช้กับเหตุการณ์ที่ผู้ชายหรือผู้หญิงตื่นขึ้นมาจากการร่วมหลับนอนกับคนที่เพิ่งพบกัน และสังเกตเห็นว่าคู่นอนหน้าตาน่าเกลียดมาก ไม่เหมือนกับตอนก่อนหลับนอนกัน และพยายามที่จะหนีแม้ว่าจะต้องตัดแขนตัวเองให้ขาด เปรียบเทียบกับ หมาป่าไคโยตีเมื่อเวลาติดกับดักจะพยายามดึงขาตัวเองให้หลุดออกจากกับดัก แม้ว่าขาจะขาดก็ตาม

ศัตรูของหมาป่าไคโยตี แก้

อ้างอิง แก้

  1. Tedford, Wang & Taylor 2009, p. 131.
  2. Sillero-Zubiri; Hoffmann (2008). "Canis latrans". IUCN Red List of Threatened Species. 2008: e.T3745A163508579. สืบค้นเมื่อ May 5, 2008.
  3. 3.0 3.1 James, Edwin; Long, Stephen H.; Say, Thomas; Adams, John (1823). Account of an expedition from Pittsburgh to the Rocky Mountains, performed in the years 1819 and '20. Vol. 1. London: Longman, Hurst, Pees, Orre, & Brown. pp. 168–174.
  4. "Canis latrans". Fossilworks.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-08. สืบค้นเมื่อ 5 September 2016.
  5. Mussulman, Joseph (November 2004). "Thomas Say: Canis latrans". Discovering Lewis & Clark. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 21, 2013. สืบค้นเมื่อ 15 January 2013.
  6. "Canis latrans". Animal Diversity Web. สืบค้นเมื่อ August 15, 2007.
  7. "Coyote". Lioncrusher's Domain. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-03. สืบค้นเมื่อ August 15, 2007.
  8. "Canis latrans". Animal Diversity Web. สืบค้นเมื่อ August 15, 2007.
  9. Coyote (Canis latrans). University of Washington, Olympic Natural Resources Center
  10. "Coyote". Replay.web.archive.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-18. สืบค้นเมื่อ 2013-09-14.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  11. Boitani, Luigi, Simon & Schuster's Guide to Mammals. Simon & Schuster/Touchstone Books (1984), ISBN 978-0-671-42805-1.
  12. Macdonald, David (1984). The Encyclopedia of Mammals: 1. London: Allen & Unwin. p. 446. ISBN 0-04-500028-X.
  13. Domestication: the decline of environmental appreciation by Helmut Hemmer, translated by Neil Beckhaus, Edition: 2, illustrated. Published by Cambridge University Press, 1990. ISBN 0-521-34178-7.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

 
Wikiquote
วิกิคำคมภาษาอังกฤษ มีคำคมที่กล่าวโดย หรือเกี่ยวกับ: Coyote