หน่วยหินทางอุทกธรณี

หน่วยหินทางอุทกธรณี (อังกฤษ: Hydrogeologic units) คือ หินเกือบทุกชนิดที่เป็นแหล่งกักเก็บน้ำบาดาลหรือเป็นชั้นหินอุ้มน้ำ ได้ แต่ก็มีคุณสมบัติทางอุทกธรณีที่แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับคุณสมบัติ ลักษณะ ส่วนประกอบและสภาพแวดล้อมทางธรณีวิทยาเป็นสำคัญ การจัดแบ่งหินชุดต่าง ๆ ออกเป็น หน่วยหินทางอุทกธรณี ก็เพื่อให้การพิจารณาสภาพของแหล่งน้ำบาดาลในบริเวณต่าง ๆ กระทำได้ง่ายขึ้น

การแบ่งชนิด แก้

การแบ่งชนิดในประเทศไทย แก้

มีการจัดแบ่งหน่วยหินตามคุณสมบัติทางอุทกธรณีออกเป็น 13 หน่วย ดังนี้

ตะกอนน้ำพา แก้

 
ตะกอนน้ำพาในแอฟริกาใต้

ตะกอนน้ำพา (อังกฤษ: alluvial deposits)ประกอบด้วยดินเหนียว ทราย กรวดและเศษหินที่พัดพามาสะสมโดยน้ำจากแม่น้ำ ลำธาร ตะกอนน้ำพาเป็นแหล่งกักเก็บน้ำบาดาลที่ดีที่สุด โดยในแต่ละแห่งหรือพื้นที่ก็จะมีคุณสมบัติในการกักเก็บน้ำบาดาลแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมของการตกตะกอนและช่วงอายุหรือยุคของการตกตะกอน ที่สำคัญมีอยู่ 2 ยุค คือ:

ชั้นกรวดทรายตามลำน้ำยุคปัจจุบัน

ชั้นกรวดทรายตามลำน้ำยุคปัจจุบัน ซึ่งได้แก่ ร่องน้ำของแม่น้ำปิง แม่น้ำวัง แม่น้ำยม แม่น้ำน่าน และแม่น้ำเจ้าพระยา ครอบคลุมบริเวณที่เป็นแอ่งในภาคกลางและภาคเหนือ ร่องน้ำแม่กลองในภาคตะวันตกแม่น้ำโขงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลักษณะของเม็ดกรวดทรายส่วนใหญ่จะมีลักษณะกึ่งกลมถึงกลม (Subrounded-rounded) การคัดขนาดดี ค่าสัมประสิทธิ์ของการซึมได้ (Hydraulic conductivity) ของกรวดทรายชุดนี้ใน บริเวณแอ่งเชียงใหม่ มีค่าอยู่ในเกณฑ์ 5-15 เมตร/วัน สำหรับกรวดทรายตามลุ่มน้ำที่มีขนาดเล็กหรือแคบ ๆ หรือสายสั้น ๆ ส่วนใหญ่จะมีการคัดขนาดไม่ดี ลักษณะของเม็ดกรวดทรายเป็นแบบ กึ่งเหลี่ยมกึ่งกลม (Subangular-subrounded) และมักจะมีความหนาไม่มาก เช่น ลุ่มน้ำกก ลุ่มน้ำแม่ขาน-แม่จัน ลุ่มน้ำอิง จังหวัดเชียงราย ลุ่มน้ำปิง วัง ยม และน่าน ในช่วงที่อยู่ในหุบเขาแคบ ๆ ลุ่มน้ำมูล-ชี ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กรวดทรายชุดนี้จะมีคุณสมบัติในการกักเก็บน้ำบาดาลปานกลาง ค่าสัมประสิทธิ์ของการซึมได้ค่อนข้างต่ำ อยู่ในเกณฑ์ 0.1-5 เมตร/วัน

ชั้นกรวดทรายที่สะสมในใจกลางแอ่งขนาดใหญ่อายุไพรสโตซีน

ชั้นกรวดทรายที่สะสมในใจกลางแอ่งขนาดใหญ่อายุไพรสโตซีน (อังกฤษ: Pleistocene intermontane basin deposits) ได้แก่ กรวด ทราย ที่สะสมในใจกลางแอ่งขนาดใหญ่ ในสมัยไพลสโตซีน กรวดทรายชุดนี้จะมีความหนามาก เพราะสะสมในแอ่งที่มีลักษณะเป็นหลุมลึก (Graben) เช่น แอ่งเจ้าพระยา (เหนือและใต้) แอ่งเชียงใหม่ แอ่งลำปาง รวมถึงที่ราบริมฝั่งทะเลภาคใต้ด้านตะวันออก คือ บริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราชไปถึงสงขลา และบริเวณจังหวัดสงขลาถึง ปัตตานี กรวดทรายชุดนี้จะสะสมตัวเป็นชั้น ๆ โดยมีดินเหนียวและทรายละเอียดหรือหยาบแทรกสลับเป็นช่วง ๆ ทำ ให้เกิดเป็นกรวดทรายแยกกันอยู่หลาย ๆ ชั้น เช่น ในที่ราบลุ่มเจ้าพระยาตอนล่างหรือตอนใต้ มีชั้นกรวดทรายที่มีน้ำคุณภาพดีเท่าที่พบแล้ว จำนวน 7 ชั้น แต่ละชั้นหนาประมาณ 50 เมตร สำหรับในแอ่งเชียงใหม่ กรวดทรายที่เป็นชั้นน้ำบาดาลที่ดี จะอยู่ที่ความลึกตั้งแต่ 170-300 เมตร ที่จังหวัดกำแพงเพชร พิจิตร อยู่ที่ความลึก 150-200 เมตร ค่าสัมประสิทธิ์ของการซึมได้ของกรวดทรายชุดนี้บริเวณกรุงเทพมหานคร อยู่ในเกณฑ์เฉลี่ย 55-80เมตร/วัน บริเวณพื้นที่ราบเจ้าพระยาตอนเหนือ เฉลี่ย 10-30 เมตร/วันตะกอนน้ำพาดังกล่าวข้างต้น มีคุณสมบัติทางอุทกธรณีที่แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมในการตกตะกอนและขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่สะสมวางตัวอยู่ด้วย ในพื้นที่ที่อยู่ติดกับทะเล เช่น ที่ราบลุ่มเจ้าพระยาตอนล่าง ที่ราบริมฝั่งทะเลภาคตะวันออก และภาคใต้ พื้นที่บางส่วนจะถูกน้ำทะเลท่วมถึง ทำให้น้ำทะเลแทรกซึมเข้าไปในช่องว่างของตะกอนหรือไปแทนที่น้ำจืด เป็นเหตุให้น้ำบาดาลคุณภาพจืดที่มีอยู่เดิม ทีคุณภาพกร่อยหรือเค็ม หรือ ในกรณีพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตะกอนน้ำพาบางส่วนจะวางตัวอยู่บนชั้นหินเกลือทำให้ได้รับอิทธิพลของน้ำเกลือที่ไหลซึมเข้ามา จนเป็นเหตุให้น้ำบาดาลในชั้นตะกอนมีคุณภาพกร่อยหรือเค็ม ตะกอนน้ำพานี้ถ้าสะสมตัวอยู่ในที่ลึกมาก ๆ หรือมีชั้นตะกอนปิดทับอยู่หนามาก ๆ และชั้นกรวดทรายที่เป็นชั้นน้ำบาดาลนั้นเอียงเท ก็จะทำให้มีแรงดันภายในกรวดทรายสูงขึ้นในลักษณะของชั้นหินอุ้มน้ำมีแรงดัน (Confined aquifer) ถ้าหากเจาะบ่อบาดาลทะลไปถึงชั้นกรวดทรายดังกล่าว ก็จะได้บ่อน้ำพุ (Flowing artesian well) มีน้ำไหลพุพุ่งออกมาโดยแรงดันธรรมชาติ เช่น ที่บริเวณพื้นที่ราบลุ่มเจ้าพระยาตอนเหนือ บริเวณอำเภอขาณุวรลักษบุรี อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำ แพงเพชร บริเวณกรุงเทพมหานคร ถ้าเจาะลงไปในชั้นกรวดทรายระดับความลึกมากกว่า 450 เมตร ก็จะได้บ่อน้ำพุ ตลอดจนอุณหภูมิของน้ำบาดาลที่ได้อาจจะสูงถึง 70-80 องศาเซลเซียส สำหรับตะกอนน้ำพาที่สะสมตัวอยู่ในระดับตื้น ๆ หรือตามลำ น้ำยุคปัจจุบัน จะเป็นชั้นน้ำที่ปราศจากแรงดันหรือชั้นหินอุ้มน้ำไม่มีแรงดัน (Unconfined aquifer) ได้รับน้ำฝนลง ไปเพิ่มเติมโดยตรง

ตะกอนชายหาด แก้

ตะกอนชายหาด (อังกฤษ: beach-sand deposits) ในบริเวณที่ราบชายฝั่งของภาคตะวันออกและภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย มีแหล่งหินร่วนที่เกิดจากการสะสมตัวของกระแสคลื่นและกระแสน้ำทะเล โดยหินร่วนต่าง ๆ ดังกล่าว สามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภทใหญ่ ๆ คือ ตะกอนทรายชายหาดยุคใหม่ (Recent beach-sand deposits) ตะกอนทรายชายหาดยุคเก่า (Old beach-sand deposits) ตะกอนท้องทะเลสาบ (Lagoonal deposits) และตะกอนปากแม่น้ำ (Estuary deposits) สำหรับแหล่งน้ำบาดาลทรายชายหาด หมายถึง แหล่งน้ำบาดาลในชั้นทรายซึ่งสะสมตัวตามบริเวณชายหาดปัจจุบัน และแหล่งน้ำบาดาลที่ถูกกักเก็บไว้ในชั้นทรายประเภทเนินทราย (Sand dunes) หรือ สันทราย (Sand ridges) ในชั้นทรายชายหาดยุคเก่า รวมทั้งน้ำบาดาลทที่สะสมตัว ในสันทรายนอกชายฝั่ง (Off-shore bars) ชั้นทรายชายหาดนับได้ว่าเป็นแหล่งน้ำบาดาลระดับตื้นที่สำคัญของจังหวัดต่าง ๆ ในภาคตะวันออก ซึ่งโดยทั่วไปจะอยู่ที่ระดับความลึกไม่เกิน 10 เมตร วางตัวยาวตามแนวชายฝั่งทะเล มีความกว้างระหว่าง 1-5 กิโลเมตร เนื่องจากชั้นหิน อุ้มน้ำดังกล่าวเป็นชั้นน้ำระดับตื้น ง่ายต่อ การพัฒนาและเป็นแห่ลงน้ำ จืดที่อำนวยประโยชน์ให้แก่ราษฎรที่อยู่ตามบริเวณริมฝั่งทะเล โดยทั่ว ๆ ไป ชั้นน้ำดังกล่าวเมื่อเจาะบ่อจะให้น้ำในเกณฑ์ระหว่าง 1-5 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง สำหรับชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทยของจังหวัดภาคใต้ นับตั้งแต่บริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราชไปจนถึงจังหวัดนราธิวาส เป็นบริเวณที่ราบชายฝั่งมีความยาวไม่น้อยกว่า 300 กิโลเมตร และความกว้างโดยเฉลี่ยประมาณ 3 กิโลเมตรน้ำบาดาลในบริเวณที่ราบริมฝั่งทะเลดังกล่าว นับว่าเป็นแหล่งน้ำบาดาลที่สำคัญแห่งหนึ่งของภาคใต้ ความหนาของชั้นทรายชายหาดดังกล่าวแตกต่างกันไป บางแห่งอาจจะพบหินร่วนหนามากกว่า 10 เมตร ชั้นทรายในบริเวณพื้นที่ราบริมฝั่งทะเลนี้ให้น้ำบาดาลในเกณฑ์ระหว่าง 5 ถึง 15 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง คุณภาพน้ำบาดาลมีตั้งแต่จืด กร่อย และเค็ม

แหล่งเศษหินเชิงเขา แก้

แหล่งเศษหินเชิงเขา (อังกฤษ: Colluvial deposits) เป็นชั้นตะกอนที่สะสมตัวอยู่เชิงเขาหรือหุบเขาแคบ ๆ เกิดจากการผุพังของหินแข็งในพื้นที่และหินร่วน ซึ่งสะสมตัวตามหุบเขาบริเวณแคบ ๆ หรือตามบริเวณพื้นที่ลาดเอียงเชิงเขา โดยส่วนใหญ่จะก่อตัวเป็นเนินเขาเตี้ย ๆ ที่มีลักษณะภูมิประเทศสูง ๆ ต่ำ ๆ ในลักษณะ รอยคลื่น (Rolling hill) ความหนาของหินร่วนประเภทแหล่งเศษหินเชิงเขา จะแตกต่างกันไปตั้งแต่ไม่เกิน 20 เมตร ในบริเวณจังหวัดชลบุรี ถึงมากกว่า 100 เมตร ในบริเวณอำ เภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี เนื่องจากหินร่วนประเภทแหล่งเศษหินเชิงเขามีส่วนประกอบส่วนใหญ่เป็นเศษหินเหลี่ยมปะปนกับดินเหนียวที่ผุพังจากหินดั้งเดิม (Country rocks) และตกทับ จากการผุพังจากภูเขาสูงลงสู่หุบเขาหรือพื้นที่ลาดเอียงเชิงเขาอย่างรวดเร็ว ทำ ให้ไม่มีการคัดขนาดของตะกอน จึงมีสภาพการตกตะกอนแบบคลุกเคล้ากันระหว่างดินเหนียวและเศษหินเหลี่ยม ที่ให้ความพรุนน้อยและกัก เก็บน้ำบาดาลได้น้อย จากสถิติ การเจาะบ่อน้ำบาดาลในหินร่วนประเภทนี้ มักได้น้ำไม่เกิน 5 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง หรือเป็นชั้นหินอุ้มน้ำประเภทให้น้ำน้อยหรือศักยภาพต่ำ

ตะกอนตะพักลำน้ำใหม่ แก้

 
terrace deposit

ตะกอนตะพักลำน้ำใหม่ (Younger terrace deposits) ประกอบด้วยตะกอนกรวดทรายและดินเหนียวที่สะสมตัวในสมัยไพลสโตซีน (ตั้งแต่ 1.8 ล้าน ถึง 8,000 ปีก่อน) ชั้นหินอุ้มน้ำชุดนี้มีชื่อว่า ชั้นน้ำ เชียงราย (Chiang Rai aquifer) ตะกอนส่วนใหญ่จะประกอบด้วยดินเหนียวและทรายละเอียด โดยมีชั้นกรวดทรายแทรกเป็นชั้นบาง ๆ พบมากในพื้นที่แอ่งต่าง ๆ ในภาคเหนือและภาคกลางตอนเหนือ ความหนาของชั้นหินอุ้มน้ำอยู่ในเกณฑ์เ ฉลี่ย 20-50 เมตร บ่อให้น้ำในเกณฑ์เฉลี่ย 7-10 ลูกบาศก์เมตรตอ่ชั่วโมง เป็นชั้นหินอุ้มน้ำเฉพาะแห่งที่มีศักยภาพต่ำ (Local and less productive aquifer)

ตะกอนตะพักลำน้ำเก่า แก้

ตะกอนตะพักลำน้ำเก่า (Older terrace deposits) มีชื่อว่า ชั้นน้ำเชียงใหม่ (Chiang Mai aquifer) ประกอบด้วยตะกอนในยุคเก่า คือ นีโอจีน[ยุคเทอร์เชียรี 1] ซึ่งมักจะโผล่ให้เห็นเป็นเนินเขาเตี้ย ๆ สลับอยู่กับหุบเขาในลักษณะรอยคลื่นหรืออาจจะก่อตัวตามบริเวณพื้นที่ลาดเอียงเชิงเขา ตะกอนประกอบด้วยชั้นของกรวดทรายและดินเหนียวเกิดสลับกันเป็นชั้นหนา และในบริเวณใจกลางแอ่งจะมีความหนามาก เช่น ในแอ่งเชียงใหม่ หนาประมาณ 500 เมตร ในแอ่งเจ้าพระยาหรือที่ราบลุ่มภาคกลาง มีความหนาประมาณ 2,000 เมตรในบริเวณที่ราบลุ่มริมฝั่งทะเลภาคใต้ มีความหนาประมาณ 200 เมตร เป็นต้น ชั้นหินหน่วยนี้ปกติจะประกอบด้วยชั้นหินอุ้มน้ำหลายชั้นสลับกัน (Multiple aquifers) เช่น ในบริเวณพื้นที่ราบลุ่มเจ้าพระยาตอนใต้จากระดับผิวดินถึงความลึกประมาณ 600 เมตร ประกอบด้วยชั้นหินอุ้มน้ำไม่น้อยกว่า 8 ชั้น ในแอ่งเชียงใหม่ความหนาประมาณ 300 เมตร ประกอบด้วยชั้นหินอุ้มน้ำไม่น้อยกว่า 3 ชั้น และในภาคใต้มีไม่น้อยกว่า 2 ชั้น เป็นต้น ชั้นหินอุ้มน้ำกลุ่มดังกล่าวนี้ถือว่าเป็นชั้นหินอุ้มน้ำในหินร่วนที่มีความสำคัญมากที่สุด เพราะมีคุณสมบัติในการให้น้ำสูง กล่าวคือ ปริมาณน้ำจากบ่ออยู่ในเกณฑ์ 50-300 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง และถือว่าเป็นชั้นน้ำบาดาลที่มีศักยภาพสูง (Extensive and highly productive aquifers)

หน่วยหินแม่สอด แก้

หน่วยหินแม่สอด (Mae Sot unit) ประกอบด้วยตะกอนในยุคเทอร์เชียรี[ยุคเทอร์เชียรี 2] (65-1.8 ล้านปีก่อน) ซึ่งจะมีคุณสมบัติกึ่งหินร่วนกึ่งหินแข็ง เช่น ดินมาร์ล หินน้ำมัน ลิกไนต์ หินทรายชั้นหินอุ้มน้ำในหินกลุ่มนี้ส่วนใหญ่อยู่ในแอ่งเทอร์เชียรี เช่น แอ่งแม่เมาะและแอ่งลี้ เป็นต้น บ่อสามารถให้น้ำอยู่ในเกณฑ์ 2-10 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง ยกเว้นบางแห่งอาจได้ถึง 20 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง หินชุดนี้มีศักยภาพน้ำบาดาลค่อนข้างต่ำ

หน่วยหินโคราช แก้

หน่วยหินโคราช (Khorat unit) ประกอบด้วยกลุ่มหินโคราชทั้งหมด (Khorat group) มีอายุระหว่างยุคไทรแอสซิก-ครีเทเชียส เป็นพวกหินดินดาน หินทรายหินทรายแป้ง และหินกรวดมน น้ำบาดาลจะอยู่ในรอยแตก รอยเลื่อน และช่องว่างระหว่างชั้นหินคุณสมบัติในการกักเก็บน้ำบาดาลขึ้นอยู่กับลักษณะโครงสร้างของหิน ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะให้น้ำในเกณฑ์ 5-10 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง แต่ในหลายพื้นที่อาจไม่มีน้ำเลย และในหลายพื้นที่อาจให้น้ำถึง 100 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง ขึ้นอยู่กับขนาดและความต่อเนื่องของช่องว่างในหิน สำ หรับในเขตพื้นที่อื่น เช่น ภาคเหนือและภาคใต้ ชั้นน้ำบาดาลในหินหน่วยนี้จะให้น้ำโดยเฉลี่ยน้อยกว่าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือชั้นหินอุ้มน้ำในหน่วยหินโคราชนี้จัดว่าเป็นชั้นหินอุ้มน้ำที่มีศักยภาพต่ำถึงปานกลาง แบ่งออกเป็น 3 ชุด คือ

  1. หน่วยหินโคราชตอนบน (Upper Khorat unit) ประกอบด้วย หินชุดมหาสารคาม (Mahasarakham formation) และหินชุดโคกกรวด (Khok Kruat formation) รวมถึงหินชุดภูทอก (Phutok formation) ด้วย
  2. หน่วยหินโคราชตอนกลาง (Middle Khorat unit) ประกอบด้วย หินชุดภูพาน (Phu Phan formation) หินชุดเสาขัว (Sao Khua formation) และหินชุดพระวิหาร (PhraWihan formation)
  3. หน่วยหินโคราชตอนล่าง (Lower Khorat unit) ซึ่งประกอบด้วย หินชุดภูกระดึง (Phu Kradung formation) และหินชุดน้ำพอง (Nam Pong formation)

หน่วยหินลำปาง แก้

หน่วยหินลำปาง (Lampang unit) เป็นกลุ่มหินยุคไทรแอสซิก ที่เกิด ในสภาพแวดล้อมทะเล (Marine origin) ประกอบด้วย ดินเหนียว ดินทราย หินปูน หินเถ้าภูเขาไฟและหินกรวดเหลี่ยมภูเขาไฟ น้ำบาดาลจะกักเก็บอยู่ในรอยแตก รอยเลื่อน และรอยต่อของชั้นหินต่างชนิดกัน โดยทั่วไปบ่อจะให้น้ำในเกณฑ์ 2-5 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง ยกเว้นในหินปูนอาจจะได้น้ำถึง 10-20 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง ในภาพรวมจัดเป็นหน่วยหินที่มีศักยภาพน้ำบาดาลต่ำ

หน่วยหินปูน แก้

หน่วยหินปูน (Limestone/Carbonate unit) ประกอบด้วยหินปูนชุดราชบุรี (Ratburi group) ในยุคเพอร์เมียน หินปูนชุดทุ่งสง (Thung Song group) ในยคุ ออร์โ ดวิเชียน และหินปูนชุดลำ ปาง (Lampang group) หินปูนที่เป็นแหล่งกักเก็บน้ำบาดาลได้มากที่สุด ได้แก่ หินปูนชุดราชบุรี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หินปูนที่อยู่บริเวณจังหวัดลพบุรี สระบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี กระบี่ และพังงา หินปูนบริเวณดังกล่าวนี้จะประกอบด้วย โพรงและถ้ำที่เป็นแหล่งกักเก็บน้ำบาดาลเป็นจำ นวนมาก นอกจากนั้นบางแห่งมีรอยแตก รอยเลื่อนตัดผ่า น ทำให้มีลักษณะโครงสร้างที่เหมาะสมในการเป็นแหล่งกักเก็บน้ำบาดาลได้ดียิ่งขึ้น บางแห่งระดับน้ำบาดาลตัดกับระดับผิวดินเกิดเป็นน้ำพุมากมายที่มีขนาดใหญ่ เช่น ที่ธารโบกขรณี อำ เภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ ปริมาณน้ำที่ไหลออกมาเฉลี่ย 1,500 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง อีกพื้นที่หนึ่งได้แก่ น้ำพุที่น้ำตกไทรโยคใหญ่ จังหวัดกาญจนบุรี ไหลออกจากถ้ำหินปูนด้วยปริมาณเฉลี่ย 500 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง แล้วไหลมาตามลำ ห้วยตัดกับแม่น้ำแควน้อย ทำ ให้เกิดเป็นน้ำตกไทรโยค หินปูน ราชบุรีในภาคเหนือ เช่น ที่จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย น่า น และตาก จะเป็น แหล่ง กักเก็บน้ำบาดาลในระดับ ปานกลาง เพราะไม่ค่อยมีโพรงขนาดใหญ่ ถึงแม้ว่า บางแห่งจะมีถ้ำขนาดใหญ่ แต่เป็นถ้ำที่อยู่ตื้นหรืออยู่เหนือระดับน้ำบาดาล สำหรับในบริเวณด้านตะวันตกและตะวันตกเฉียงใต้ของที่ราบสูงโคราช ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นชั้น ๆ วางตัวสลับกับชั้นหินดินดาน หรือหินทราย และเชิร์ต มีโพรงน้อย จึงเป็นชั้นหินอุ้มน้ำที่ไม่ดี

หินปูนชุดทุ่งสงเป็นหินปูนยุคเก่า จึงมีการถูกแรงบีบอัดหลายครั้ง เป็นเหตุให้โครงสร้างต่าง ๆ ไม่เป็นระบบ นอกจากนั้น ขนาดโพรงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นก็ไม่ใหญ่โตมากนักและมีหลายพื้นที่ถูกยกตัวขึ้นมาจนอยู่เหนือระดับน้ำบาดาล เช่น ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดสุราษฎร์ธานี และจังหวัดตรัง เป็นเหตุให้หินปูนชุดทุ่งสงเป็นแหล่งกักเก็บน้ำบาดาลไม่ดี ในพื้นที่ดังกล่าวมีการเจาะน้ำบาดาล พบโพรงระดับน้ำตื้นมากมาย แต่เป็นโพรงที่ไม่มีน้ำบาดาลหรือมีเฉพาะฤดูฝน นอกจากนั้น บางแห่งในโพรงยังมีชั้นดินเหนียวและทรายแป้งเข้าไปสะสมอยู่ทำ ให้น้ำบาดาลที่อยู่ในถ้ำหรือโพรงเดียวกันเป็นตะกอนขุ่น เช่น ที่จังหวัดพังงา และสตูล หินปูนยุคลำปางมีลักษณะคล้ายกับหินปูนทุ่งสง กล่าวคือ ไม่ค่อยเกิดโพรงขนาดใหญ่ และเกิดสลับกับหินดินดานและหินทราย หินปูนที่อยู่ในหินหน่วยผาก้าน (Pha Khan formation) จะเป็นชั้นหินอุ้มน้ำที่ดีได้ เพราะมีโพรงมากกว่าหินหน่วยอื่น ๆ เช่น บริเวณถ้ำผาไท เส้นทางลำ ปาง-งาว เป็นต้น

หน่วยหินชั้นกึ่งหินแปร แก้

หน่วยหินชั้นกึ่งหินแปร (Metasediment unit) ประกอบด้วยกลุ่มหินชั้นกึ่งหินแปรอายุคาร์บอนิเฟอรัส-เพอร์เมียน หรือหินในชุดแก่งกระจาน (Kaeng Krachan group) ซึ่งมีหินทรายควอร์ต หินทรายเฟลสปาร์ หินดินดานกึ่งหินฟิลไลต์และกึ่งหินชนวน และหินเกรย์แวก น้ำบาดาลจะอยู่ในรอยแตก รอยเลื่อน และรอยต่อระหว่างชั้นหิน ปริมาณน้ำบาดาลจากบ่อ โดยเฉลี่ยจะอยู่ในเกณฑ์ 2-10 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง และในหลายพื้นที่ไม่มีน้ำบาดาลกักเก็บอยู่เลย ชั้นหินกลุ่มนี้อยู่กระจายทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณพื้นที่ด้านตะวันตก ตั้งแต่ภาคเหนือไปถึงภาคใต้และจัดอยู่ในกลุ่มชั้นหินที่มีศักยภาพน้ำบาดาลต่ำ

หน่วยหินแปร แก้

หน่วยหินแปร (Metamorphic unit) ประกอบด้วยกลุ่มหินแปร ตั้งแต่อภิมหาบรมยุคพรีแคมเบรียน ยุคแคมเบรียน และ ยุคออร์โดวิเชียน หินแปรส่วนใหญ่ประกอบด้วย หินชนวน ฟิลไลต์ ควอร์ตไซต์ ชีสต์ และไนส์ ลักษณะของหินส่วนใหญ่จะมีการโค้งงอ มีรอยแตกเกิดขึ้นมากมาย แต่รอยแตกต่าง ๆ มักจะไม่ค่อยต่อเนื่องเป็นแนวยาว เป็นสาเหตุให้การกักเก็บน้ำบาดาลไม่ดีเท่าที่ควร ทำให้ในหลาย ๆ พื้นที่ไม่พบแหล่งน้ำบาดาล แต่ก็มีบางพื้นที่บ่อให้น้ำในเกณฑ์ 5-10 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง บางแห่งให้น้ำถึง 50 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง

หน่วยหินภูเขาไฟ แก้

หน่วยหินภูเขาไฟ (Volcanic unit) ประกอบด้วยหินภูเขาไฟประเภท แอนดีไซต์ ไรโอไลต์ เถ้าภูเขาไฟ กรวดเหลี่ยมภูเขาไฟ และบะซอลต์ น้ำบาดาลจะพบเฉพาะในหินที่มีรอยแตก รอยแยก ที่มีขนาดใหญ่และต่อเนื่องเป็นแนวยาวเท่านั้น ในบริเวณที่ไม่มีรอยแตกจะไม่พบน้ำบาดาลเลย โดยเฉลี่ยบ่อน้ำบาดาลจะได้น้ำในเกณฑ์ 2-10 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง ยกเว้นในบางแห่งอาจได้ถึง 30-50 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง

หน่วยหินแกรนิต แก้

หน่วยหินแกรนิต (Granitic unit) ประกอบด้วย หินแกรนิต แกรโนไดออไรต์ ไดออไรต์ และแกรนิตไนส์ น้ำบาดาลจะอยู่ในชั้นหินผุและรอยแตกรอยแยก ส่วนใหญ่จะมีปริมาณน้ำน้อย เพราะรอยแตกไม่ค่อยต่อเนื่อง บ่อส่วนใหญ่ให้น้ำในเกณฑ์เฉลี่ย 1-5 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง ยกเว้นบางแห่งอาจได้ถึง 10 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง กลุ่มหินชุดนี้พบกระจายอยู่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านตะวันตกของประเทศ ตั้งแต่ภาคเหนือจนถึงใต้ และภาคตะวันออกหน่วยหินแปร หน่วยหินภูเขาไฟ และหน่วยหินแกรนิต จัดอยู่ในกลุ่มชั้นหินที่มีศักยภาพน้ำบาดาลต่ำ แผนที่อุทกธรณีวิทยาของประเทศไทย

หมายเหตุ แก้

  1. ยุคเทอร์เชียรีคือยุคหนึ่งในธรณีกาล เกิดจากการรวมยุคพาลีโอจีนกับยุคนีโอจีนเข้าด้วยกัน โดยยุคพาลีโอจีนจะเรียกว่า "ยุคเทอร์เชียรีตอนต้น" หรือ "ยุคเทอร์เชียรีตอนล่าง" ส่วน ยุคนีโอจีนจะเรียกว่า"ยุคเทอร์เชียรีตอนปลาย" หรือ "ยุคเทอร์เชียรีตอนบน"
  2. ยุคเทอร์เชียรีคือยุคหนึ่งในธรณีกาล เกิดจากการรวมยุคพาลีโอจีนกับยุคนีโอจีนเข้าด้วยกัน โดยยุคพาลีโอจีนจะเรียกว่า "ยุคเทอร์เชียรีตอนต้น" หรือ "ยุคเทอร์เชียรีตอนล่าง" ส่วน ยุคนีโอจีนจะเรียกว่า"ยุคเทอร์เชียรีตอนปลาย" หรือ "ยุคเทอร์เชียรีตอนบน"

อ้างอิง แก้

บรรณาณุกรม แก้

  • วจี รามณรงค์ และ สมชัย วงค์สวัสดิ์, 2541, ทรัพยากรน้ำใต้ดินในประเทศไทย, วารสารชมรม นักอุทกวิทยา.
  • สมชัย วงค์สวัสดิ์, 2544, อุทกธรณีวิทยาและสภาพน้ำบาดาลประเทศไทย, กองน้ำบาดาล, กรมทรัพยากรธรณี.
  • ทวีศักดิ์ ระมิงค์วงศ์.2546 .น้ำบาดาล.ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 373 หน้า.