หญ้าหวาน
ดอกหญ้าหวาน
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
โดเมน: Eukaryota
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Asterids
อันดับ: Asterales
วงศ์: Asteraceae
เผ่า: Eupatorieae
สกุล: Stevia
สปีชีส์: S.  rebaudiana
ชื่อทวินาม
Stevia rebaudiana
(Bertoni) Bertoni

หญ้าหวาน หรือ สเตเวีย (ชื่อวิทยาศาสตร์ : Stevia rebaudiana Bertoni; วงศ์ : Asteraceae) มีชื่อทั่วไปว่า Candy Leaf, Sugar Leaf, Sweet Herb of Paraguay, Sweet Honey Leaf, Stevia, 甜菊, 甜叶菊 เป็นพืชพื้นเมืองทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศปารากวัยในทวีปอเมริกาใต้ ความพิเศษของหญ้าหวาน คือ ส่วนของใบให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลถึง 10-15 เท่า แต่ความหวานนี้ไม่ก่อให้เกิดพลังงานแต่อย่างไร (0 แคลอรี/กรัม) นอกจากนี้ยังมีสารสกัดที่เกิดจากหญ้าหวานชื่อว่า สตีวิโอไซด์ (stevioside) [1] เป็นสารที่ให้ความหวานมากกว่า 200-300 เท่าของน้ำตาล[2][3] ด้วยความพิเศษของหญ้าหวานนี้ หญ้าหวานจึงเป็นพืชที่ได้รับความสนใจทั้งทางด้านอุตสาหกรรม การแพทย์ ยาสมุนไพร เครื่องดื่ม เป็นต้น

ประวัติและการนำมาใช้ประโยชน์ แก้

มนุษย์รู้จักนำสารสกัดที่มีรสหวานจากหญ้าหวานมาบริโภคหลายศตวรรษแล้วโดยชาวพื้นเมืองในประเทศปารากวัย โดยนำหญ้าหวานมาผสมกับเครื่องดื่ม เช่น ชา นอกจากนี้ชาวญี่ปุ่นยังนำสารให้ความหวานมาผสมกับผลิตภัณฑ์อาหาร เช่น ผักดอง ซีอิ๊ว เต้าเจี้ยว เนื้อปลาบด เป็นต้น

หญ้าหวานเริ่มเข้าสู่ประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2550 และปลูกกันมากในภาคเหนือ โดยเฉพาะที่จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน และเชียงราย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาให้มีการใช้สารสตีวิโอไซด์เพื่อการบริโภค หญ้าหวานจึงจัดอยู่ในพืชสมุนไพรอีกชนิดหนึ่ง[3]

ประเทศที่ผลิตและส่งออก แก้

ในปี พ.ศ.2566 ประเทศที่มีการส่งออกสูงสุด คือ ประเทศเนเธอร์แลนด์[4] โดยมีมูลค่าการส่งออกสูงถึง 214.4 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ รองลงมาเป็นประเทศสหรัฐอเมริกา[4] และประเทศเยอรมนี[4]

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ แก้

  • หญ้าหวานเป็นพืชล้มลุก สูงไม่เกิน 1 ม. ลำต้นกลมและแข็ง
  • ใบเดี่ยว รูปหอก ขอบใบหยักคล้ายฟันเลื่อย
  • ใบให้สารที่มีรสหวาน
  • มีช่อดอกสีขาว
 

สรรพคุณของหญ้าหวาน แก้

  • มีสารให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลทรายถึง 200-300 เท่าแต่ไม่ทำให้น้ำตาลในเลือดสูง
  • ใช้ในการรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวาน[5] และผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก
  • ช่วยบำรุงตับอ่อน
  • ช่วยเพิ่มกำลัง
  • สมานแผลทั้งภายในและภายนอก
  • ช่วยให้เลือดไปเลี้ยงสมอง
  • เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ[5]
  • ช่วยลดการอักเสบ[5]

ข้อมูลทางเคมี แก้

มีสูตรโมเลกุลคือ  [1] มีสารสำคัญหลัก 3 ชนิด ได้แก่ Steviol glycosides มีปริมาณมากสุดในใบของหญ้าหวาน ให้รสชาติขม คล้ายชะเอมเทศ, Rebaudiana A มีปริมาณรองลงมา ให้รสชาติที่ขมน้อยกว่า ทิ้งรสชาติคล้ายชะเอมเทศเล็กน้อย, Rebaudiana M มีปริมาณน้อยที่สุดในใบ มีความใกล้เคียงกับน้ำตาลมากที่สุด[6]

 

วิธีการเก็บเกี่ยวและวิธีการสกัด แก้

หญ้าหวาน สามารถเก็บเกี่ยวทั้งลักษณะที่เป็นใบ หรือทั้งลำต้น ทำให้แห้งด้วยการคว่ำส่วนลำต้นแขวนตากไว้ในห้องให้แห้ง[7] โดยสามารถนำใบแห้งที่เก็บเกี่ยวได้มาสกัด นำใบแห้งแช่ในน้ำ หลังจากนั้นกรองของเหลวที่ได้ นำไปสกัดให้บริสุทธิ์ด้วยน้ำหรือแอลกอฮอล์[8]

สภาพแวดล้อม แก้

ในประเทศไทย ภาคเหนือ เช่น เชียงใหม่ ลำพูน พะเยา เป็นพื้นที่ที่เหมาะสม เนื่องจากหญ้าหวานชอบอากาศค่อนข้างเย็น อุณหภูมิประมาณ 20-26 องศาเซลเซียส และขึ้นได้ดีเมื่อปลูกในพื้นที่ที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 600-700 เมตร[3]

การปลูกและการดูแล[3] แก้

  • ดิน ดินที่เหมาะสมสำหรับปลูกหญ้าหวาน คือ ดินร่วน หรือดินร่วนปนทราย ระบายน้ำได้ดี ต้องทำแปลงยกร่อง
  • ใช้เมล็ดปลูก จะเก็บเมล็ดในช่วงเดือนพฤศจิกายน วิธีเก็บใช้ถุงพลาสติกครอบดอก เขย่าให้เมล็ดร่วงลงในถุง นำเมล็ดมาเพาะในเดือนมีนาคม-เมษายน จะมีอัตราการงอกดี
  • กิ่งชำปลูก เป็นวิธีที่นิยมตัดกิ่งปักชำ เนื่องจากสะดวกและรวดเร็วกว่า เลือกตัดกิ่งที่สมบูรณ์และแข็งแรง ตัดเกือบถึงโคนต้น ให้เหลือใบอยู่ 2 คู่ แล้วตัดกิ่งที่จะนำมาชำให้ยาว 12-15 ซม. แล้วนำมาเพาะในถุงหรือกระบะเพาะ เด็ดใบออกเสียก่อน เพราะถ้ารดน้ำความหวานของใบจะลงสู่ดิน ทำให้กล้าที่ชำไว้ตายได้ พอกิ่งชำแตกรากออกมาได้ 10-14 วัน จึงนำไปปลูกในแปลงที่เตรียมไว้
  • การดูแล หญ้าหวานเป็นพืชที่ต้องการดูแลทั้งในเรื่องการให้น้ำและใส่ปุ๋ยบำรุงดิน
  1. 1.0 1.1 PubChem. "Stevioside". pubchem.ncbi.nlm.nih.gov (ภาษาอังกฤษ).
  2. "เมื่อชีวิตขาดหวานไม่ได้ แนะนำสารจากธรรมชาติ "หญ้าหวาน": สวพส". www.hrdi.or.th.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 "พืชสมุนไพรภูมิปัญญาไทย | ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร". esc.doae.go.th. 2018-12-20.
  4. 4.0 4.1 4.2 https://www.tridge.com/intelligences/stevia/export
  5. 5.0 5.1 5.2 Mlambo, Ronald; Wang, Junyan; Chen, Chuanpin (2022-03-29). "Stevia rebaudiana, a Versatile Food Ingredient: The Chemical Composition and Medicinal Properties". Journal of Nanomaterials (ภาษาอังกฤษ). 2022: e3573005. doi:10.1155/2022/3573005. ISSN 1687-4110.
  6. https://baynsolutions.com/en/stevia
  7. https://www.ufseeds.com/stevia-seed-to-harvest.html#:~:text=Individual%20leaves%20can%20be%20harvested,just%20prior%20to%20it%20flowering.
  8. https://internationalsteviacouncil.org/about-stevia/history-of-stevia/