สโมสรฟุตบอลบีจี ปทุม ยูไนเต็ด

สโมสรฟุตบอลบีจี ปทุม ยูไนเต็ด เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพที่ถือว่าเป็นทีมยักษ์ใหญ่ในเวทีไทยลีก โดยตั้งอยู่ที่จังหวัดปทุมธานี และบริหารโดยบริษัท บริษัท บีจี สปอร์ตส์ จำกัด โดยเป็นบริษัทในเครือบางกอกกล๊าสกรุ๊ป ปัจจุบันเล่นในไทยลีก

บีจี ปทุม ยูไนเต็ด
ชื่อเต็มสโมสรฟุตบอลบีจี ปทุม ยูไนเต็ด
ฉายาเดอะ แรบบิท
ก่อตั้งพ.ศ. 2549
สนามบีจีสเตเดียม
Ground ความจุ15,114 ที่นั่ง
เจ้าของบริษัท บีจี สปอร์ตส์ จำกัด
ประธานปวิณ ภิรมย์ภักดี
ผู้ฝึกสอนมาโกโตะ เทงูราโมริ
ลีกไทยลีก
2565–66อันดับที่ 9
เว็บไซต์เว็บไซต์สโมสร
สีชุดทีมเยือน
สีชุดที่สาม
ฤดูกาลปัจจุบัน

ประวัติสโมสร แก้

ก่อตั้งทีม และยุคฟุตบอลถ้วย (2522–2551) แก้

สโมสรบางกอกกล๊าสเริ่มต้นในช่วงก่อตั้งโรงงานบางกอกกล๊าส ในปี พ.ศ. 2522 โดยเป็นการรวมตัวกันเพื่อแข่งขันเป็นการภายในของพนักงาน และต่อมาจึงได้ส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขันภายนอก ในช่วงปี พ.ศ. 2532 ซึ่งเป็นการแข่งขันกันในกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม ในเขตจังหวัดปทุมธานี จนเริ่มเป็นที่รู้จักของบุคคลทั่วไป

ปี พ.ศ. 2542 พนักงานและกลุ่มผู้บริหารได้รวมตัวกันจัดตั้งชมรมฟุตบอลอย่างเป็นรูปธรรมขึ้นมา และเมื่อชมรมมีความพร้อมในด้านต่างๆ ทั้งด้านอุปกรณ์ และสนาม จึงมีการก่อตั้งสโมสรฟุตบอลบางกอกกล๊าสขึ้นในเดือนเมษายน พ.ศ. 2549 และเปิดคัดนักกีฬาในเดือนต่อมา โดยได้เข้าเป็นสมาชิกของ สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในปีดังกล่าว

การแข่งขันอย่างเป็นทางการครั้งแรกของสโมสรคือการเข้าร่วมแข่งขัน ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ง. ประจำปี 2550/51 ซึ่งสโมสรประสบความสำเร็จเมื่อได้ตำแหน่งรองแชมป์ โดยในนัดชิงชนะเลิศแพ้สโมสรฟุตบอลเทศบาลเมืองคูคตไป 1-0 และได้สิทธิเลื่อนชั้นไปเล่นในฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ค.ในปีต่อมา

ปี พ.ศ. 2551 สโมสรได้จัดตั้งบริษัท บีจีเอฟซี สปอร์ต จำกัด เพื่อดำเนินการบริหารสโมสรและให้เป็นไปตามแนวทางที่เอเอฟซีกำหนด และลงแข่งขันใน ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ค. ประจำปี 2551/52 สามารถผ่านเข้าไปถึงรอบชิงชนะเลิศ โดยในรอบชิงชนะเลิศแพ้สโมสรฟุตบอลเจดับบลิว กรุ๊ป ไป 1-2 คว้าสิทธิเลื่อนชั้นไปเล่นในถ้วย ข.นอกจากนี้ทีมบางกอกกล๊าส ยังมีทีมฟุตซอลของตัวเอง ซึ่งลงแข่งในฟุตซอลไทยแลนด์ลีกอีกด้วย

บางกอกกล๊าส (2552–2561) แก้

 
ผู้เล่นบางกอกกล๊าสในปี 2552

ในช่วงเดือน มกราคม พ.ศ. 2552 สโมสรฟุตบอลธนาคารกรุงไทยจากศึก ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก ได้ประกาศยุบทีม เนื่องจากไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขที่เอเอฟซีกำหนดในเรื่องการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลได้ สโมสรบางกอกกล๊าสจากฟุตบอลถ้วย ข. จึงได้ทำการเทคโอเวอร์ สโมสรธนาคารกรุงไทย โดยจะได้ลงแข่งใน ไทยพรีเมียร์ลีก ปี พ.ศ. 2552 แทนที่ของสโมสรฟุตบอลธนาคารกรุงไทยที่ยุบทีม และได้ย้ายสนามไปเช่าสนามเฉลิมพระเกียรติ คลอง 6 เป็นการชั่วคราวเพื่อปรับปรุงสนามลีโอ สเตเดี้ยม ซึ่งในปีแรกของการแข่งขันของสโมสรฟุตบอลบางกองกล๊าสนั้นทำผลงานได้อย่างยอดเยี่ยมด้วยการจบอันดับที่ 3 ในไทยพรีเมียร์ลีก 2552 ส่วนทีมฟุตบอลที่พนักงานและกลุ่มผู้บริหารได้รวมตัวกันจัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2542 ยังคงดำเนินการส่งเข้าร่วมการแข่งขันในนามสโมสรฟุตบอลรังสิต

ปี พ.ศ. 2553 สโมสรบางกอกกล๊าส ได้รับความนิยมอย่างสูง และได้สร้างสนาม ลีโอ สเตเดี้ยม เสร็จสมบูรณ์หลังจากที่ทำการปรับปรุงครั้งใหญ่ จนได้กลับมาเล่นในสนามแห่งนี้อีกครั้ง หลังจากที่ปรับปรุงเกือบ 1 ปีในเดือนมกราคม สโมสรฟุตบอลบางกอกกล๊าส ได้ส่งทีมเข้าแข่งขันในฟุตบอล ควีนส์ คัพ ประสบความสำเร็จสามารถคว้าแชมป์มาได้สำเร็จด้วบการชนะอินทรีเพื่อนตำรวจ 4-1 และในปีเดียวกันนั้นเอง ได้ส่งทีมเข้าแข่งขันในศึกสิงคโปร์คัพในปีที่สองทำผลงานได้อย่างยอดเยี่ยม คว้าแชมป์สิงค์โปร์คัพ 2010 ไปอีกรายการ

 
ผู้สนับสนุนของสโมสรฟุตบอลบางกอกกล๊าสในปี 2554

ปี พ.ศ. 2557 สโมสรบางกอกกล๊าส ได้แชมป์แรกในประวัติศาสตร์สโมสร คือ ไทยคม เอฟเอคัพ 2557 ชนะชลบุรี 1-0 โดยที่รอบผ่านมา ชนะเชียงราย ยูไนเต็ด, เมืองทอง ยูไนเต็ด, บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด, ราชนาวี

ปี พ.ศ. 2558 สโมสรบางกอกกล๊าส ได้เข้าร่วมการแข่งขันระดับทวีปเอเชียเป็นครั้งแรก (AFC) ต่อมาปี พ.ศ. 2559 ได้ก่อตั้งศูนย์ฝึกฟุตบอล ยามาโอกะ ฮานาซากะ อะคาเดมี่ (YHA) และในปี พ.ศ. 2561 สโมสรบางกอกกล๊าสเปลี่ยนสัญลักษณ์สโมสรใหม่ และปรับปรุงสนามลีโอ สเตเดี้ยมมาใช้หญ้าจริง

ในการแข่งขันนัดสุดท้ายของไทยลีก ฤดูกาล 2561 ซึ่งทางสมาคมฯ ประกาศว่าจะมีทีมตกชั้น 5 ทีม บางกอกกล๊าสพ่ายแพ้ต่อนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี ในขณะที่ทีมลุ้นหนีตกชั้นอีกสองทีม ได้แก่ สุโขทัย เอฟซี และชัยนาท ฮอร์นบิล ต่างคว้าชัยชนะได้[1][2] ทำให้ชัยนาทและบางกอกกล๊าสมีคะแนนเท่ากันที่ 42 คะแนน แต่ชัยนาทมีสถิติการพบกันที่ดีกว่า[2] ทำให้บางกอกกล๊าสกลายเป็นทีมสุดท้ายที่ต้องตกชั้น โดยได้อันดับที่ 14 ทำให้ต้องตกชั้นลงไปเตะใน ไทยลีก 2 ในฤดูกาล 2562 เป็นครั้งแรกของสโมสรในรอบ 10 ปี นับตั้งแต่ซื้อกิจการสโมสรธนาคารกรุงไทยเมื่อปี 2552

บีจี ปทุม ยูไนเต็ด (2562–) แก้

ในปี 2562 บีจีเอฟซี ได้วางเป้าหมายให้สโมสรฟุตบอลเป็นทีมของชาวจังหวัดปทุมธานี สร้างความเป็นหนึ่งในการร่วมสนับสนุนทีมฟุตบอลของท้องถื่น ซึ่งมีฐานแฟนบอลอยู่เป็นจำนวนมาก จึงได้เปลี่ยนแปลงชื่อสโมสรใหม่เป็น บีจี ปทุม ยูไนเต็ด หรือ บีจีพียู (BGPU) โดยเริ่มการใช้ชื่อสโมสรใหม่สู่สาธารณะอย่างเป็นทางการในฤดูกาล 2562 และสโมสรได้แต่งตั้งดุสิต เฉลิมแสนเป็นหัวหน้าผู้ฝึกสอนคนใหม่ โดยเขาพาทีมชนะเลิศไทยลีก 2 ฤดูกาล 2562 เลื่อนชั้นกลับสู่ลีกสูงสุดได้สำเร็จหลังจากตกชั้นเพียงฤดูกาลเดียว

ในฤดูกาล 2563–64 บีจีได้ซื้อผู้เล่นที่มีประสบการณ์ในไทยลีกมาหลายราย อาทิ จีโอกู ลูอิส ซังตู, วิกตูร์ การ์ดูซู, อันเดรส ตุญเญซ และสารัช อยู่เย็น และในวันที่ 4 มีนาคม 2564 หลังจากพวกเขาเปิดบ้านเอาชนะสุโขทัย 2–0 บีจีมีคะแนนห่างจากอันดับสอง ณ ขณะนั้นอย่างบุรีรัมย์ ยูไนเต็ดถึง 19 คะแนน ทำให้พวกเขาชนะเลิศการแข่งขันไทยลีกฤดูกาลนั้น ทั้งที่ยังเหลือการแข่งขันอีก 6 นัด นับเป็นการชนะเลิศครั้งแรกของสโมสรและเร็วที่สุดในประวัติศาสตร์ฟุตบอลไทย[3] นอกจากนี้ยังเป็นสโมสรฟุตบอลทีมแรกของไทยที่เคยตกชั้น แล้วกลับมาชนะเลิศลีกสูงสุดได้สำเร็จอีกด้วย[4] สโมสรเกือบจบฤดูกาลด้วยการไร้พ่ายในลีก แต่บุกไปแพ้เมืองทอง ยูไนเต็ดในนัดปิดฤดูกาล

วันที่ 30 พฤษภาคม 2564 สโมสรฯ ประกาศแต่งตั้ง ออเรลิโอ วิดมาร์[5][6] อดีตกุนซือของ บีจี ปทุม ยูไนเต็ด ในช่วงปี 2016 ถึง 2017 กลับมารับตำแหน่งหัวหน้าผู้ฝึกสอนคนใหม่ของทีมเป็นรอบที่สอง เพื่อลงแข่งขันในรายการ เอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ลีก 2021 รอบแบ่งกลุ่ม และฟุตบอล ไทยลีก 1 ฤดูกาล 2564–65 แทนที่ ดุสิต เฉลิมแสน ที่แยกทางกับทีมเพื่อเตรียมเข้าอบรมผู้ฝึกสอนฟุตบอลหลักสูตร "AFC 'A' Certificate Coaching Course" ประจำปี 2564 และต่อมารับงานคุมทัพ "ตราชฎา" ราชประชา เอฟซี ใน ไทยลีก 2 ฤดูกาล 2021/22[7]

ออเรลิโอ วิดมาร์ ประเดิมคุมทีมรอบสองด้วยชัยชนะใน เอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ลีก 2021 รอบแบ่งกลุ่ม กลุ่ม เอฟ นัดที่ 1 เอาชนะ คายา เอฟซี อิโลอิโล ก่อนนำทีมผ่านเข้าสู่รอบ 16 ทีมสุดท้ายในรายการ เอซีแอล เป็นครั้งแรกของสโมสรได้สำเร็จในฐานะรองแชมป์ กลุ่ม เอฟ (เป็นหนึ่งในสามทีมรองแชมป์กลุ่มที่มีผลงานดีที่สุดจึงได้ผ่านเข้าสู่รอบต่อไป) ก่อนจะพ่ายต่อ ชุนบุค ฮุนได มอเตอร์ส ด้วยการดวลจุดโทษ

กลับมายังฟุตบอลภายในประเทศ ออเรลิโอ วิดมาร์ พาทีมคว้าถ้วย ไทยแลนด์แชมเปียนส์คัพ 2564 เป็นถ้วยไทยแลนด์ แชมเปียนส์ คัพ ใบแรกของสโมสร ในลีก บีจีพียู เก็บชัยชนะ 8 นัดจาก 13 นัดแรกของฤดูกาล รั้งอันดับ 2 ร่วม มี 26 คะแนนเท่ากับ บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ตามหลังทีมนำ ทรู แบงค็อก ยูไนเต็ด เพียง 3 แต้ม[8] ก่อน ออเรลิโอ วิดมาร์ จะประกาศอำลาทีมรอบสอง โดยการตัดสินใจในครั้งนี้นั้นเป็นความตกลงร่วมกันของทั้งสองฝ่าย [9] และได้ ดุสิต เฉลิมแสน กลับมารับตำแหน่งหัวหน้าผู้ฝึกสอนอีกครั้ง[10]

มกราคม 2565 สโมสรแต่งตั้ง สุรชัย จตุรภัทรพงษ์ เป็นรักษาการหัวหน้าผู้ฝึกสอน[11]แทนที่ ดุสิต เฉลิมแสน และต่อมาแต่งตั้ง มาโกโตะ เทงูราโมริ เป็นหัวหน้าผู้ฝึกสอนคนใหม่ คุมทีมนัดแรกด้วยชัยชนะ 2-0 เหนือ สุพรรณบุรี เอฟซี โกยแต้มต่อเนื่องในโค้งสุดท้ายของฤดูกาลด้วยผลงานชนะ 8 เสมอ 1 จากเกมลีก 9 นัดสุดท้าย พา บีจี ปทุม ยูไนเต็ด จบฤดูกาล 2564–65 ที่อันดับ 2 ได้สิทธิ์ไปเล่น เอเอฟซี แชมเปียนส์ลีก 2023/24 รอบคัดเลือก เพลย์ออฟ[12]

บีจี ปทุม ยูไนเต็ด เริ่มต้นฤดูกาล 2565–2566 ด้วยการรับบทเจ้าถาพ กลุ่ม จี เอเอฟซี แชมเปียนส์ลีก 2022[13] ที่ประกอบได้ด้วย เมลเบิร์น ซิตี้, ชุมนัม ดรากอนส์ และ ยูไนเต็ด ซิตี้ ทำผลงานยอดเยี่ยมผ่านเข้ารอบ 16 เอซีแอล 2022 ในฐานะแชมป์กลุ่ม จี[14][15] เข้าไปเอาชนะ คิตฉี เอสซี 4-0[16][17] ก่อนจะจบเส้นทางฟุตบอลเอเชียด้วยการพ่ายต่อ อูราวะ เรดไดมอนส์ 0-4 ในรอบ 8 ทีมสุดท้าย[18][19][20]

เทงูราโมริ นำทัพ บีจีพียู ป้องกันแชมป์ ไทยแลนด์แชมเปียนส์คัพ 2565 ด้วยการเอาชนะ บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด 3-2 แต่แล้ววันที่ 24 ตุลาคม 2565 ได้ประกาศแยกทางกับสโมสรฯ[21][22] โดยให้ มิซูโอะ คาโตะ ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน ขึ้นมารับตำแหน่งรักษาการหัวหน้าผู้ฝึกสอน

วันที่ 29 ตุลาคม 2565 บีจี ปทุม ยูไนเต็ด เปิดตัว แมตต์ สมิธ อดีตผู้เล่นกองหลังและกัปตันทีมของสโมสรเข้ารับตำแหน่งหัวหน้าผู้ฝึกสอน[23][24] เริ่มคุมทีมนัดแรกด้วยการบุกถล่ม สโมสรฟุตบอลนครราชสีมา มาสด้า 4-0 และเป็นชัยชนะเกมเยือนในลีกนัดแรกของฤดูกาล 2565–2566 ทว่าผลงานในระยะยาวของ บีจีพียู ยังคงไม่เป็นไปตามเป้า โดย แมตต์ สมิธ ด้วยสถิติ ชนะ 1 เสมอ 2 แพ้ 6 เก็บได้เพียง 5 คะแนน น้อยที่สุดในเลก 2 ของ ฤดูกาล 2565–2566 ณ เวลานั้น[25] จึงมีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งหัวหน้าผู้ฝึกสอนอีกครั้งหลังความมพ่ายแพ้ 0-1 ต่อคู่ปรับร่วมจังหวัดอย่าง ทรู แบงค็อก ยูไนเต็ด โดยแต่งตั้ง "โค้ชบอย" ศุภชัย คมศิลป์ เป็นรักษาการหัวหน้าผู้ฝึกสอนแทนที่ แมตต์ สมิธ ซึ่งถูกย้ายไปรับตำแหน่งประธานเทคนิคของสโมสร[26]

สัญลักษณ์สโมสร แก้

สนามแข่งขัน แก้

บีจีสเตเดียม เป็นสนามฟุตบอลหญ้าจริง ที่สร้างขึ้นภายใน บริษัท บางกอกกล๊าส จำกัด (มหาชน) ตำบลบึงยี่โถ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี ขนาด 68 x 105 เมตร สำหรับใช้ในการแข่งขันฟุตบอลเกมเหย้าของสโมสรฟุตบอลบีจี ปทุม ยูไนเต็ด สโมสรฟุตบอลในไทยลีก มีความจุทั้งหมด 15,114 ที่นั่ง พร้อมเก้าอี้สนามกีฬามาตรฐานที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจากสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (FIFA) และจากสหพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชีย (AFC) ในระดับ A Class

จากเดิมชื่อสนาม ลีโอ สเตเดี้ยม และได้เปลี่ยนเป็น บีจีสเตเดียม โดยได้รับการอนุมัติจากสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ และ บริษัท ไทยลีก จำกัด ในฐานะฝ่ายจัดการแข่งขันฟุตบอลภายในประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565

สนามแห่งนี้เปิดใช้เมื่อปี พ.ศ. 2552 โดยใช้หญ้าจริงในการแข่งขัน และได้ทำการเปลี่ยนใช้หญ้าเทียมทั้งหมด จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2561 นั้นได้เปลี่ยนกลับมาเป็นหญ้าจริงแทน

โดยนอกจากจะเป็นรังเหย้าของสโมสรฟุตบอลบีจี ปทุม ยูไนเต็ด แล้ว ยังเคยใช้จัดการแข่งขันระดับนานาชาติของทีมชาติไทย รวมถึงฟุตบอลถ้วยรายการสำคัญของเมืองไทย ก่อนจะเปลี่ยนชื่อเป็นสนาม บีจีสเตเดียม ในปัจจุบัน

ที่ตั้ง ที่ตั้ง สนาม ความจุ ปี
14°00′02″N 100°40′45″E / 14.000649°N 100.679028°E / 14.000649; 100.679028 จังหวัดปทุมธานี บีจี สเตเดียม 15,114 2010–ปัจจุบัน

ชุดแข่งขัน แก้

เหย้า

 
 
 
 
 
 
 
 
2016
 
 
 
 
 
 
2017
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
2019
 
 
 
 
 
2020–21
 
 
 
 
 
 
 
 
 
2021–22
 
 
 
 
 
2023–24

เยือน

 
 
 
 
 
 
 
 
2016
 
 
 
 
 
 
2017
 
 
 
 
 
 
 
 
2019
 
 
 
 
 
 
2020–21
 
 
 
 
 
 
 
 
2021–22
 
 
 
 
 
 
 
 
2023–24

ชุดแข่งที่สาม

 
 
 
 
 
 
2021–22
 
 
 
 
 
2023–24

ผู้เล่น แก้

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน แก้

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
2 DF   กฤษดา กาแมน
3 DF   ชินภัทร์ ลีเอาะ
4 MF   เชาว์วัตน์ วีระชาติ
5 DF   วิกตูร์ การ์ดูซู
6 MF   สารัช อยู่เย็น (กัปตันทีม)
7 FW   ดานีลู อัลวิส
9 FW   สุรชาติ สารีพิมพ์
10 FW   ธีรศิลป์ แดงดา
11 FW   อีกอร์ เซียร์เกเยฟ
14 MF   เฟรดดี อัลบาเรซ
15 DF   อภิสิทธิ์ โสรฎา
16 DF   จักพัน ไพรสุวรรณ
17 DF   อีร์ฟัน ฟันดี
18 MF   ชนาธิป สรงกระสินธ์
19 FW   เจนรบ สำเภาดี
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
22 FW   ชนานันท์ ป้อมบุปผา
23 DF   สันติภาพ จันทร์หง่อม
24 DF   ไรฮาน สจวร์ต
26 GK   กิตติพงศ์ ภูแถวเชือก
27 FW   เดนิส บุชน์ยา
33 DF   วัฒนากรณ์ สวัสดิ์ละคร
36 MF   พิธิวัต สุขจิตธรรมกุล
48 MF   กนกพล ปุษปาคม
49 GK   นราวิชญ์ อินทเจริญ
55 DF   ชนภัช บัวพันธ์
69 DF   เซย์ดีน แอนดียาเย
81 DF   วาริส ชูทอง
85 GK   อิสระพงษ์ แววดี
93 GK   พิศาล ดอกไม้แก้ว
99 FW   อิคซัน ฟันดี

ผู้เล่นที่ถูกยืมตัว แก้

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
1 GK   ฉัตรชัย บุตรพรม (ไป พีที ประจวบ จนจบฤดูกาล)
8 MF   ฉัตรมงคล ทองคีรี (ไป พีที ประจวบ จนจบฤดูกาล)
19 GK   เกียรติพล อุดม (ไป นาระ คลับ จนจบฤดูกาล)
32 GK   สุภนัย จันทร์ประสิทธิ์ (ไป ราชประชา จนจบฤดูกาล)
48 FW   ฐิติภัส เอกอรัญพงศ์ (ไป แทมพินีสโรเวอส์ จนจบฤดูกาล)
54 DF   ศรัณยวัฒน์ น้าประเสริฐ (ไป สุพรรณบุรี จนจบฤดูกาล)
58 MF   ณัฐพล วรสุทธิ์ (ไป นครปฐม ยูไนเต็ด จนจบฤดูกาล)
77 FW   พาตริก กุสตาฟส์สัน (ไป นาระ คลับ จนจบฤดูกาล)
DF   อดิศักดิ์ ซอสูงเนิน (ไป จันทบุรี จนจบฤดูกาล)
GK   ฟาหัส บิลังโหลด (ไป เชียงใหม่ จนจบฤดูกาล)
MF   ชิตชนก ไชยเสนสุรินธร (ไป เชียงใหม่ จนจบฤดูกาล)
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
MF   ศตวรรษ ลีลา (ไป แพร่ ยูไนเต็ด จนจบฤดูกาล)
DF   เวลโก ฟิลิโปวิช (ไป สิงห์ เชียงราย ยูไนเต็ด จนจบฤดูกาล)
MF   พงศ์รวิช จันทวงษ์ (ไป จันทบุรี จนจบฤดูกาล)
MF   ศุภศักดิ์ สารภี (ไป จันทบุรี จนจบฤดูกาล)
DF   ธเนศ สุขเนตร (ไป แทมพินีสโรเวอส์ จนจบฤดูกาล)
MF   เกริกพล อาบรัมย์ (ไป บีเอฟบี พัทยา ซิตี้ จนจบฤดูกาล)
FW   ศุภสัณห์ อาจรอด (ไป โรงสีแม่ใจธนะโชติวัฒน์ พะเยา จนจบฤดูกาล)
FW   ศิรชัช กระแสทอง (ไป โรงสีแม่ใจธนะโชติวัฒน์ พะเยา จนจบฤดูกาล)
MF   วุฒิชัย เอียดวารี (ไป เอ็มเอช นครศรีฯ ซิตี้ จนจบฤดูกาล)
MF   วงศ์วรรธน์ เจริญทวีสุข (ไป โบลาเวน สมุทรปราการ จนจบฤดูกาล)

บุคลากร แก้

ทีมงานบริหาร แก้

ตำแหน่ง ชื่อ
ประธานสโมสร กิตติมศักดิ์ สุรศักดิ์ เดชะรินทร์
ประธานสโมสร ปวิณ ภิรมย์ภักดี
รักษาการประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ปิยศักดิ์ ภูมิจิตร
ที่ปรึกษา อัมรัตน์ ภูววีรานินทร์
กิตติศักดิ์ จิรภาสุขสกุล
ผู้อำนวยการสำนักการเงิน เพลินพิศ เทียนสว่าง
ผู้อำนวยการฟุตบอล สุรชัย จตุรภัทรพงษ์
ผู้อำนวยการสำนักบริหารและการสื่อสาร / เลขาธิการสโมสร ธนากร ปันทวังกูร
ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการระหว่างประเทศ ฟิลลิป ตัน
ผู้จัดการทั่วไป สมัย สียาโง
ผู้จัดการฝ่ายการเงินและบัญชี วิรชาดา แสงชาติ
ผู้จัดการฝ่ายกฎหมาย วสันต์ ศานติวิวัฒน์กุล

ทีมงานฝึกสอนและเจ้าหน้าที่ แก้

ตำแหน่ง ชื่อ
หัวหน้าผู้ฝีกสอน มาโกโตะ เทงูราโมริ
ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน ฮิโรอากิ นางาชิมะ
เนติพงษ์ ศรีทองอินทร์
อำนาจ แก้วเขียว
จักรกริช บุญคำ
พีรพงศ์ พิชิตโชติรัตน์
ล่ามแปลภาษา วงศ์ธวัช กันทรากรกิติ
หัสดิน สุขโกกี
ผู้ฝึกสอนผู้รักษาประตู มาร์กอส โดมินเกรท
ผู้ฝีกสอนฟิตเนส อรรถพล บุญสรรค์
ภูดิษ ภคปภาบุญณกุล
ฟิตเนสเทรนเนอร์ อังเดร์ซง นิโคเลาว์
แพทย์ประจำทีม ภคภณ อิสรไกรศิล
นักกายภาพบำบัด ยงศักดิ์ เลิศดำรงเกียรติ
ศรัญญู เขียวเล็ก
ชโลทร ชัยศิริ
หมอนวดประจำทีม อนุพัฒน์ ไกรสังข์
สันติสุข สกุลดี
กนกศักดิ์ ทองชู
นักโภชนาการ ธเนษฐ์พงษ์ สุขวงศ์
เจ้าหน้าที่ทีม วินิซิอุส ซานโตส คอสตา
สาโรจน์ เจริญสุข
ธวัชชัย ขำคล้อย
พรชัย พลกูร

รายชื่อหัวหน้าผู้ฝึกสอน แก้

ชื่อ สัญชาติ ระยะเวลา เกียรติยศ
อ.ไนยะ บุญประสิทธิ์   เม.ย. 2549 – ต.ค. 2551 รองชนะเลิศ ถ้วยพระราชทานประเภท ง
Mr.Hans Rudolf Franz Emser   มี.ค. – มิ.ย. 2552
สุรชัย จตุรภัทรพงศ์   มิ.ย. 2552 – มิ.ย. 2553 รองชนะเลิศ สิงค์โปร์คัพ 2552, ชนะเลิศ ควีนส์คัพ 2553
การ์ลูส โรเบร์ตู จี การ์วัลยู   มิ.ย. – ต.ค. 2553
ศุภสิน ลีลาฤทธิ์/สาธิต เบ็ญโสะ   ต.ค. 2553 – มี.ค. 2554 ชนะเลิศ สิงค์โปร์คัพ 2553
อาจหาญ ทรงงามทรัพย์   มี.ค. – ธ.ค. 2554
สุรชัย จตุรภัทรพงศ์   ม.ค. – ก.ย. 2555
ฟิล สตับบินส์   ต.ค. 2555 – มี.ค. 2556
อนุรักษ์ ศรีเกิด   เม.ย. – พ.ค. 2556
อรรถพล บุษปาคม   พ.ค. 2556 – มิ.ย. 2557 รองชนะเลิศ เอฟเอคัพ 2556
อนุรักษ์ ศรีเกิด   ก.ค. – ธ.ค. 2557 ชนะเลิศ เอฟเอคัพ 2557
ริการ์โด โรดริเกซ   ม.ค. – พ.ย. 2558
อนุรักษ์ ศรีเกิด   ธ.ค. 2558 – มิ.ย. 2559
ออเรลิโอ วิดมาร์   ส.ค. 2559 – ก.ค. 2560
สุรชัย จตุรภัทรพงศ์   ก.ค. – พ.ย. 2560
โจเซฟ เฟร์เร   พ.ย. 2560 – มี.ค. 2561
อนุรักษ์ ศรีเกิด   เม.ย. – ต.ค. 2561 รองชนะเลิศ ลีกคัพ 2561
ดุสิต เฉลิมแสน   ต.ค. 2561 – เม.ย. 2564 ชนะเลิศ ไทยลีก 2 ฤดูกาล 2562, ชนะเลิศ ไทยลีก ฤดูกาล 2563–64
ออเรลิโอ วิดมาร์   พ.ค. – พ.ย. 2564 ชนะเลิศ ไทยแลนด์แชมเปียนส์คัพ 2564
ดุสิต เฉลิมแสน   พ.ย. 2564 – ม.ค. 2565
สุรชัย จตุรภัทรพงษ์
(รักษาการ)
  ม.ค. 2565
มาโกโตะ เทงูราโมริ   ม.ค. – ต.ค. 2565 รองชนะเลิศ ไทยลีก ฤดูกาล 2564–65, ชนะเลิศ ไทยแลนด์แชมเปียนส์คัพ 2565
มิตซูโอะ คาโตะ
(รักษาการ)
  ต.ค. 2565
แมตต์ สมิธ   พ.ย. 2565 – มี.ค. 2566
ศุภชัย คมศิลป์
(รักษาการ)
  มี.ค.
ธงชัย สุขโกกี   พ.ค. 2566 – ธ.ค. 2566 รองชนะเลิศ รีโว่ คัพ 2565–66
มาโกโตะ เทงูราโมริ   ม.ค. 2567 –

ผลงานของสโมสรแบ่งตามฤดูกาล แก้

ตารางคะแนนในลีก แก้

ฤดูกาล ดิวิชัน อันดับที่ นัด W D L F A +/- แต้ม เหย้า W D L F A +/- แต้ม เยือน W D L F A +/- แต้ม ดาวซัลโวสูงสุด จำนวนประตู
บางกอกกล๊าส
2552 TPL 3rd 30 16 8 6 45 31 14 56 15 11 4 0 25 11 14 37 15 5 4 6 20 20 0 19 นันทวัฒน์ แทนโสภา 11
2553 TPL 5th 30 12 9 9 48 38 10 45 15 8 6 1 28 12 16 30 15 4 3 8 20 26 (-6) 15 ชาตรี ฉิมทะเล 10
2554 TPL 5th 34 15 8 11 55 41 14 53 17 11 3 3 36 15 21 36 17 4 5 8 19 26 (-7) 17 ศรายุทธ ชัยคำดี 15
2555 TPL 8th 34 10 15 9 53 39 14 45 17 8 7 2 33 15 18 31 17 2 8 7 20 24 (-4) 14 อาจายี่ เบงกา 12
2556 TPL 5th 32 14 8 10 40 31 9 50 16 11 3 2 27 8 19 36 16 3 5 8 13 23 (-10) 14 ชาตรี ฉิมทะเล 10
2557 TPL 10th 38 14 7 17 70 65 5 49 19 9 3 7 40 30 10 30 19 5 4 10 30 35 (-5) 19 ลาซารัส คาอิมบี้ 12
2558 TPL 6th 34 15 11 8 47 38 9 56 17 11 5 1 37 19 18 38 17 4 6 7 10 19 (-9) 18 ดาร์โก้ ทาเชฟสกี้
อริดาเน่ ซานตาน่า
9
2559 TL 3rd 31 18 3 10 62 41 21 57 15 11 1 3 34 14 20 34 16 7 2 7 28 27 1 23 อาเรียล โรดริเกวซ 19
2560 T1 5th 34 16 8 10 63 44 19 56 17 12 2 3 42 19 22 38 17 4 6 7 21 25 -4 18 สุรชาติ สารีพิมพ์
ยาสมานี่ คัมโปส
10
2561 T1 14th 34 11 9 14 55 46 9 42 15 8 1 6 32 22 10 25 16 3 7 6 21 19 2 16 สุรชาติ สารีพิมพ์

ดาวิด บาล่า

8
บีจี ปทุม ยูไนเต็ด
2562 T2 1st 34 24 6 4 76 27 49 78 17 15 1 1 43 9 34 46 17 9 5 3 33 18 15 32 บาร์รอส ทาร์เดลลี 18
2563–64 T1 1st 30 24 5 1 54 13 41 77 15 12 3 0 28 8 20 39 15 12 2 1 26 5 21 38 วิกตูร์ การ์ดูซู 15
2564–65 T1 2nd 30 17 9 4 52 27 25 60 15 12 1 2 32 13 19 37 15 5 8 2 20 14 6 23 จีโอกู ลูอิส ซังตู 10
2565–66 T1 9th 30 12 5 13 42 39 3 41 15 10 1 4 31 18 13 31 15 2 4 9 11 21 -10 10 ธีรศิลป์ แดงดา 11
ชนะเลิศ รองชนะเลิศ อันดับที่ 3 เลื่อนชั้น ตกชั้น

ฟุตบอลถ้วย แก้

ฤดูกาล เอฟเอคัพ ลีกคัพ ถ้วย ก. /
ไทยแลนด์แชมเปียนส์คัพ
เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก
บางกอกกล๊าส
2552 รอบก่อนรองชนะเลิศ ไม่ได้แข่งขัน ไม่ได้แข่งขัน ไม่ได้แข่งขัน
2553 รอบ 3 รอบ 8 ทีม
2554 รอบ 4 รอบ 32 ทีม
2555 รอบรองชนะเลิศ รอบรองชนะเลิศ
2556 รองชนะเลิศ รอบ 64 ทีม
2557 ชนะเลิศ รอบ 8 ทีม
2558 รอบ 16 ทีม รอบ 16 ทีม รองชนะเลิศ รอบคัดเลือกรอบ 3
2559 รอบ 32 ทีม รอบ 32 ทีม ไม่ได้แข่งขัน ไม่ได้แข่งขัน
2560 รอบ 16 ทีม รอบ 32 ทีม
2561 รอบ 32 ทีม รองชนะเลิศ
บีจี ปทุม ยูไนเต็ด
2562 รอบ 32 ทีม รอบก่อนรองชนะเลิศ ไม่ได้แข่งขัน ไม่ได้แข่งขัน
2563–64 รอบ 32 ทีม ยกเลิกการแข่งขัน
2564–65 รอบ 8 ทีม รอบ 8 ทีม ชนะเลิศ รอบ 16 ทีม
2565–66 รอบก่อนรองชนะเลิศ รองชนะเลิศ ชนะเลิศ รอบ 8 ทีม
2566–67 รอบ 32 ทีมสุดท้าย ไม่ได้แข่งขัน รอบแบ่งกลุ่ม
ชนะเลิศ รองชนะเลิศ

ผลงานระดับทวีป แก้

ฤดูกาล การแข่งขัน รอบ คู่แข่ง เหย้า เยือน รวม
2015 เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก รอบคัดเลือกรอบ 2   โจโฮร์ดารุลตักซิม 3–0
รอบเพลย์ออฟ   เป่ย์จิงกั๋วอัน 0–3
2021 เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก กลุ่ม เอฟ   คายา–อีโลอีโล 4–1 1–0 อันดับที่ 2
  อุลซันฮุนได 0–2 0–2
  วิเอตเตล 2–0 3–1
รอบ 16 ทีมสุดท้าย   ช็อนบุกฮย็อนแดมอเตอส์ 1–1
(ต่อเวลา)
(2–4 p)
2022 เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก กลุ่ม จี   เมลเบิร์นซิตี 1–1 0–0 อันดับที่ 1
  ช็อนนัมดรากอนส์ 0–0 2–0
  ยูไนเต็ดซิตี 5–0 3–1
รอบ 16 ทีมสุดท้าย   คิตฉี 4–0
รอบก่อนรองชนะเลิศ   อูราวะ เรดไดมอนส์ 0–4
2023–24 เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก รอบเพลย์ออฟ   เซี่ยงไฮ้พอร์ต 3–2
กลุ่ม ไอ   อุลซันฮุนได 1–3 1–3 อันดับที่ 4
  โจโฮร์ดารุลตักซิม 2–4 1–4
  คาวาซากิ ฟรอนตาเล 2–4 2–4

เกียรติประวัติ แก้

การแข่งขัน จำนวน ฤดูกาล
ถ้วยภายในประเทศ
ไทยลีก ชนะเลิศ 1 2563–64
ไทยลีก รองชนะเลิศ 1 2564–65
ไทยลีก 2 ชนะเลิศ 1 2562
ฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ค รองชนะเลิศ 1 2551/52
ฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ง รองชนะเลิศ 1 2550/51
ไทยเอฟเอคัพ ชนะเลิศ 1 2557
ไทยเอฟเอคัพ รองชนะเลิศ 1 2556
ไทยลีกคัพ รองชนะเลิศ 2 2561, 2565–66
ไทยแลนด์แชมเปียนส์คัพ ชนะเลิศ 2 2564, 2565
ควีนส์คัพ ชนะเลิศ 1 2553
ซูเปอร์คัพ ชนะเลิศ 1 2552
ถ้วยนอกประเทศ
สิงคโปร์คัพ ชนะเลิศ 1 2553
สิงคโปร์คัพ รองชนะเลิศ 1 2552

ทีมสำรองและทีมเยาวชน แก้

สโมสรบีจี ปทุม ยูไนเต็ดได้เปิดอะคาเดมี่ฟุตบอลเพื่อคัดเลือกเยาวชนที่มีความสนใจด้านการฝึกทักษะความสามารถด้านฟุตบอลมาตั้งแต่ปี 2552 ต่อมาในปี 2555 สโมสรบางกอกกล๊าส (ชื่อเดิมในขณะนั้น) ได้เซ็นสัญญาร่วมเป็นพันธมิตรกับโรงเรียนอัสสัมชัญในโครงการอัสสัมชัญ แคมปัส พระราม 2 เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนนักเตะ บุคลากร ของโรงเรียน และพัฒนานักเตะเยาวชนที่มีความรู้ความสามารถ เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของนักเตะบางกอกกล๊าสในอนาคตต่อไป

ปี 2555 สโมสรบางกอกกล๊าส ได้สนับสนุนให้ ส.บางกอกกล๊าส (รังสิต เอฟซี) เข้าแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภทข. จนคว้าแชมป์ถ้วยพระราชทานได้สำเร็จ และได้เลื่อนชั้นขึ้นมาเล่น ฟุตบอลลีกภูมิภาค โซนกรุงเทพฯและปริมณฑล โดยสโมสรมีนโยบายจะให้ทีม สโมสรฟุตบอลรังสิต เอฟซี นั้นเป็นเวทีแจ้งเกิด ของนักฟุตบอลเยาวชนของสโมสร เป็นการสร้างโอกาส ฝึกฝน เรียนรู้การเป็นนักเตะอาชีพ ก่อนที่จะได้รับโอกาสขึ้นมาเล่นใน สโมสรฟุตบอลบางกอกกล๊าส ต่อไป

ปี 2556 สโมสรบางกอกกล๊าส ได้สนับสนุนให้ ส.บางกอกกล๊าส (รังสิต เอฟซี) เป็นพันธมิตร 2 ปี กับมหาวิทยาลัยธนบุรี ในการจับมือร่วมกันทำทีม สโมสรธนบุรี-บีจี ยูไนเต็ด ส่งทีมเข้าแข่งขันฟุตบอลลีกภูมิภาค โซนภาคกลางและภาคตะวันตก โดยมีโค้ชสาธิต เบ็ญโสะ เป็นหัวหน้าสต๊าฟโค้ช และมีนักเตะเยาวชนสโมสรบางกอกกล๊าสร่วมทีม

ปี 2559 สโมสรบางกอกกล๊าส ร่วมกับตั้งศูนย์ฝึกฟุตบอล ยามาโอกะ ฮานาซากะ อะคาเดมี่(YHA) ตั้งอยู่ที่ คลอง 4 รังสิต จ.ปทุมธานี และจัดโครงการสร้างเจ้าหนูนักเตะ โดยปัจจุบันเปิดรับเยาวชนเข้าร่วมฝึกฝนในอะคาเดมี่ด้วยกัน 3 รุ่น ได้แก่ ยู-12 ยู-15 และยู-18

โดยในปี 2560-2564 ทีมเยาวชนของสโมสรในรุ่นอายุต่าง ๆ ได้สร้างผลงานให้กับทางสโมสรในการแข่งขันกีฬาฟุตบอลเยาวชนในระดับประเทศ ซึ่งสามารถทำผลงานให้เป็นที่ยอมรับในการแข่งขันรายการระดับเยาวชน อาทิ

  • เยาวชนรุ่นอายุ ยู-13 ชนะเลิศ การแข่งขันรายการ "U-13 National Youth Football League" ระดับประเทศ
  • เยาวชนรุ่นอายุ ยู-15 ชนะเลิศ การแข่งขันรายการ "U-15 Asian Dream Football" ระดับประเทศ
  • เยาวชนรุ่นอายุ ยู-15 ชนะเลิศ การแข่งขันรายการ "U-15 Kingpower Cup" ระดับประเทศ
รายชื่อผู้อำนวยการศูนย์ฝึกเยาวชน
ชื่อ สัญชาติ ปี
Mr.Hans Rudolf Franz Emser   2552-2559
สุรชัย จตุรภัทรพงศ์   2559-ปัจจุบัน

สโมสรพันธมิตร แก้

อ้างอิง แก้

  1. สุโขทัยเชือดแอร์ฟอร์ซ 3-2 รอดตกชั้น, Goal.com, สืบค้นข้อมูลเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2561
  2. 2.0 2.1 H2Hดีกว่าบีจี! ชัยนาทซัดสุพรรณ2-1 รอดตกชั้น, Goal.com, สืบค้นข้อมูลเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2561
  3. ""บีจี ปทุม ยูไนเต็ด" คว้าแชมป์ไทยลีกเร็วสุดในประวัติศาสตร์". สำนักข่าวไทย. สืบค้นเมื่อ 5 March 2021.
  4. "9 ข้อต้องรู้! ความเป็น "ที่สุด" ของ บีจี ปทุมฯ กับแชมป์ไทยลีกประวัติศาสตร์". สยามสปอร์ต. สืบค้นเมื่อ 5 March 2021.
  5. https://www.matichon.co.th/sport/footballlocal/news_2750203
  6. https://mgronline.com/sport/detail/9640000052164
  7. https://sport.trueid.net/detail/BrOJapJDy24Y
  8. https://www.90min.com/th/posts/thai-league-2021-22-13-november-match-roundup
  9. https://www.pptvhd36.com/sport/news/160572
  10. https://www.khaosod.co.th/sports/news_6730983
  11. https://www.matichon.co.th/sport/footballlocal/news_3136812
  12. https://thestandard.co/revo-thai-league-2021-2022/
  13. https://thaileague.co.th/v1/news-index/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%82%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%99-acl-2022-%E0%B9%83%E0%B8%99-3-%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%A1/
  14. https://www.thairath.co.th/sport/eurofootball/otherleague/2381367
  15. https://www.goal.com/th/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7/%E0%B8%9A%E0%B8%B5%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%8A%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%A1-0-0-%E0%B8%88%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B9%87%E0%B8%AD%E0%B8%84%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B9%8C-acl-2022/bltb0ce3c6ef30371a0
  16. https://thestandard.co/bg-pathum-united-f-c/
  17. https://www.pptvhd36.com/sport/news/178843
  18. https://www.pptvhd36.com/sport/news/179030
  19. https://www.komchadluek.net/news/sport/527151
  20. https://mgronline.com/sport/detail/9650000080541
  21. https://thestandard.co/bg-pathum-makoto/
  22. https://siamsport.co.th/football-thailand/thaileague-1/4824/
  23. https://www.goal.com/th/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7/official--%E0%B8%95%E0%B9%8D%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99-%E0%B8%9A%E0%B8%B5%E0%B8%88%E0%B8%B5-%E0%B8%9B%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%AF-%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87-%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B8%95%E0%B9%8C-%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%98-%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%8B%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88/blt9fa0c1a1db3a993a
  24. https://siamsport.co.th/football-thailand/thaileague-1/5286/
  25. https://www.thairath.co.th/sport/thaifootball/thaipremierleague/2658151
  26. https://www.thaipost.net/sport-news/345023/
  27. "'สิงห์'รุกคืบ เซ็นพาร์ตเนอร์ 'เซเรโซ' ทีมดังเจลีก". thairath.co.th. สืบค้นเมื่อ 24 September 2015.
  28. "บีจี จับมือ เซเรโซ่ เป็นพันธมิตรอย่างเป็นทางการ". สืบค้นเมื่อ 24 September 2012.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้