บริษัท สแกนเนีย จำกัด (สวีเดน: Scania Aktiebolag; อังกฤษ: Scania AB) ใช้ชื่อในผลิตภัณฑ์ว่า สแกนเนีย (SCANIA) เป็นบริษัทผู้ผลิตรายใหญ่สัญชาติสวีเดน มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมืองเซอเดอเท็ลเยอ มุ่งเน้นการผลิตยานพาหนะเพื่อการพาณิชย์เป็นหลัก โดยเฉพาะรถบรรทุกหนัก รถบรรทุก และรถโดยสาร นอกจากนี้ยังผลิตเครื่องยนต์ดีเซลสำหรับยานยนต์หนัก ตลอดจนเครื่องยนต์ทางทะเลและอุตสาหกรรมทั่วไป

บริษัท สแกนเนีย จำกัด
Scania Aktiebolag
ชื่อเดิมบริษัท สแกนเนีย-วาบิส จำกัด (AB Scania-Vabis)
ประเภทบริษัทย่อย (Aktiebolag)
ISINSE0000308280 Edit this on Wikidata
อุตสาหกรรมยานยนต์
ก่อนหน้า
  • บริษัท เครื่องจักรกลสแกนเนีย จำกัด
  • วาบิส
ก่อตั้งพ.ศ. 2454; 113 ปีก่อน
สำนักงานใหญ่,
จำนวนที่ตั้ง
10
พื้นที่ให้บริการ
ทั่วโลก
บุคลากรหลัก
  • แอนเนตต์ เดเนียลสกี[1] (ประธาน)
  • คริสเตียน เลวิน[1] (ประธานและซีอีโอ)
ผลิตภัณฑ์
บริการบริการทางการเงิน
รายได้เพิ่มขึ้น 170 พันล้าน ครูนา[2] (2022)
รายได้จากการดำเนินงาน
เพิ่มขึ้น 12.37 พันล้าน ครูนา[2] (2565)
รายได้สุทธิ
เพิ่มขึ้น 7.86 พันล้าน ครูนา[2] (2565)
สินทรัพย์เพิ่มขึ้น 290.66 พันล้าน ครูนา[2] (2565)
ส่วนของผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้น 79.62 พันล้าน ครูนา[2] (2565)
พนักงาน
เพิ่มขึ้น 56,927 คน[2] (สิ้นปี 2565)
บริษัทแม่ทราทัน (Traton)
เว็บไซต์www.scania.com

สแกนเนียก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2454 โดยการควบรวมกิจการระหว่างวาบิส (Vabis) ซึ่งมีฐานอยู่ที่เมืองเซอเดอเท็ลเยอ กับบริษัท เครื่องจักรกลสแกนเนีย จำกัด (Maskinfabriks-aktiebolaget Scania) ซึ่งมีฐานอยู่ที่เมืองมัลเมอ และได้ย้ายที่ตั้งบริษัทไปที่เซอเดอเท็ลเยอหลังจากการควบรวมกิจการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2455

ปัจจุบันสแกนเนียมีโรงงานผลิตในประเทศสวีเดน ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ ไทย จีน อินเดีย อาร์เจนตินา บราซิล โปแลนด์ รัสเซีย และฟินแลนด์[3] นอกจากนี้ยังมีโรงงานประกอบใน 10 ประเทศในทวีปแอฟริกา เอเชีย และยุโรป สำนักงานขาย ศูนย์บริการ และบริษัททางการเงินของสแกนเนียมีอยู่ทั่วโลก ในปี พ.ศ. 2565 บริษัทมีพนักงานทั่วโลกประมาณ 56,927 คน[3]

สแกนเนียจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ NASDAQ OMX Stockholm ตั้งแต่ปี 2539 ถึง 2557[4][5] ปัจจุบันเป็นบริษัทในเครือทราทัน (Traton) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเครือฟ็อลคส์วาเกิน (Volkswagen Group)

โลโก้ของสแกนเนียเป็นรูปกริฟฟอน จากตราอาร์มของจังหวัดสกัวเนอ (สวีเดน: Skåne)[6]

ประวัติ แก้

 
หุ้นของสแกนเนีย-วาบิส ออกเมื่อปี พ.ศ. 2459
 
สแกนเนีย-วาบิส 2122 (พ.ศ. 2472)
 
สแกนเนีย-วาบิส L71 (พ.ศ. 2500)
 
สแกนเนีย-วาบิส LS5646 (พ.ศ. 2510)
 
สแกนเนีย L80 (รุ่นถัดจาก สแกนเนีย-วาบิส L56)

ช่วงแรก แก้

บริษัท สแกนเนีย-วาบิส จำกัด (AB Scania-Vabis) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2454 จากการควบรวมกิจการระหว่างวาบิส (Vabis) ผู้ผลิตตู้รถไฟที่ใกล้จะปิดตัว ซึ่งมีฐานอยู่ในเมืองเซอเดอเท็ลเยอ และบริษัท เครื่องจักรกลสแกนเนีย จำกัด (Maskinfabriks-aktiebolaget Scania) ผู้ผลิตจักรยาน ซึ่งมีฐานอยู่ในเมืองมัลเมอ

 
สแกนเนีย ซีรีส์ S รุ่นใหม่ (ขวา) และซีรีส์ R (ซ้าย)

การพัฒนา การผลิตเครื่องยนต์ และยานพาหนะขนาดเล็กถูกกำหนดให้เป็นที่เซอเดอเท็ลเยอ ส่วนรถบรรทุกจะถูกผลิตในมัลเมอ

โลโก้ของบริษัทได้รับการออกแบบใหม่จากโลโก้ดั้งเดิมของ บจ.เครื่องจักรกลสแกนเนีย โดยมีส่วนหัวของกริฟฟอน ซึ่งเป็นตราอาร์มของจังหวัดสกัวเนอ (Skåne) ของสวีเดน อยู่ตรงกลางชุดจานหน้าจักรยานแบบสามก้าน เดิมสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในมัลเมอ แต่ต่อมาก็ได้ย้ายสำนักงานใหญ่ไปที่เซอเดอเท็ลเยอในปี พ.ศ. 2455[7][8]

สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และคริสต์ทศวรรษ 1920 แก้

เนื่องจากมีการนำเข้ารถยนต์ราคาไม่แพงเข้ามาในสวีเดนเป็นจำนวนมากในเวลานั้น สแกนเนีย-วาบิสจึงตัดสินใจสร้างรถยนต์หรูหราระดับสูง เช่น รถลีมูซีน Type III รุ่นปี พ.ศ. 2463 ซึ่งมีที่ใส่หมวกทรงสูงบนหลังคา เจ้าชายคาร์ลแห่งสวีเดน ทรงเป็นเจ้าของสแกนเนีย-วาบิส 3S รุ่นปี พ.ศ. 2456 ซึ่งเป็นรุ่นที่ติดตั้งปุ่มในรถเพื่อให้ผู้โดยสารสามารถสื่อสารกับคนขับได้ และสแกนเนีย-วาบิสยังสร้างรถสปอร์ตสองที่นั่ง (หรือ "รถยนต์นั่งสมรรถนะสูง")[9]

ในอีกไม่กี่ปีถัดมา ผลกำไรของบริษัทก็ซบเซา โดยคำสั่งซื้อประมาณหนึ่งในสามมาจากต่างประเทศ[7] อย่างไรก็ตาม การปะทุของสงครามโลกครั้งที่หนึ่งได้เปลี่ยนแปลงบริษัท โดยผลผลิตเกือบทั้งหมดถูกส่งออกไปยังกองทัพบกสวีเดน และทำกำไรได้มากพอที่จะลงทุนในการปรับปรุงโรงงานผลิตทั้งสองแห่งภายในปี พ.ศ. 2459[7]

หลังจากจบสงครามในปี พ.ศ. 2459 สแกนเนียตัดสินใจมุ่งเน้นไปที่การสร้างรถบรรทุกโดยสิ้นเชิง โดยละทิ้งผลผลิตอื่น ๆ รวมถึงรถยนต์และรถโดยสาร[7] อย่างไรก็ตาม พวกเขาได้รับผลกระทบจากการล้นตลาดของยานพาหนะทางทหารที่ปลดประจำการจากสงคราม และบริษัทก็ล้มละลายในปี พ.ศ. 2464[6]

หลังจากปัญหาทางเศรษฐกิจในปี พ.ศ. 2464 มีเงินทุนใหม่จากธนาคารสต็อกโฮล์มเอนสกิลดา (Stockholms Enskilda Bank) ซึ่งตระกูลวัลเลนเบิร์ก (Wallenberg) เป็นเจ้าของ และสแกนเนีย-วาบิสก็กลายเป็นบริษัทที่แข็งแกร่งและมีชื่อเสียงในทางเทคนิค

เดนมาร์ก

ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2456 บริษัทได้จัดตั้งบริษัทย่อยในประเทศเดนมาร์ก ในปีต่อมารถยนต์ชนิดหลังคาเปิดได้ (Phaeton) สี่ที่นั่งที่สร้างขึ้นในเดนมาร์กคันแรกถูกสร้างขึ้นที่โรงงานของบริษัทที่เฟรเดอริกส์เบิร์ก ในโคเปนเฮเกน ในปี พ.ศ. 2457 โรงงานได้ผลิตรถบรรทุกสแกนเนีย-วาบิสคันแรกของเดนมาร์ก และหลังจากนั้นก็ได้พัฒนาเครื่องยนต์ V8 ซึ่งเป็นหนึ่งในเครื่องยนต์แรก ๆ ของโลก ในปี พ.ศ. 2464 สแกนเนียขายรถบรรทุกได้ประมาณ 175 คัน และรถยนต์ 75 คัน และต่อมากิจการในเดนมาร์กก็ปิดตัวลง[6]

นอร์เวย์

ในปี พ.ศ. 2460 มีการก่อตั้งข้อตกลงกับ บจ.การยานยนต์นอร์เวย์ จํากัด (Norsk Automobilfabrik A/S) ประเทศนอร์เวย์ ที่จัดตั้งขึ้นใหม่เกี่ยวกับการผลิตรถยนต์และรถบรรทุกภายใต้ใบอนุญาตของสแกนเนีย-วาบิส การผลิตเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2462 แต่สิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2464 หลังจากการผลิตรถบรรทุกเพียง 77 คัน ซึ่งส่วนใหญ่สร้างจากชิ้นส่วนที่ผลิตในสวีเดน

สงครามโลกครั้งที่สอง แก้

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง สแกนเนียได้ผลิตยานพาหนะทางทหารหลายประเภทให้กับกองทัพสวีเดน เช่น รถถังเบา Stridsvagn m/41 ที่ผลิตภายใต้ใบอนุญาต[6]

คริสต์ทศวรรษ 1950 และ 1960 แก้

ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1950 สแกนเนีย-วาบิสได้ขยายการดำเนินงานไปยังกลุ่มลูกค้าใหม่ โดยเป็นตัวแทนจำหน่ายวิลลีส์ จี๊ป (Willys Jeep) และฟ็อลคส์วาเกิน บีเทิล (Volkswagen Beetle) ซึ่งสร้างผลกำไรให้กับบริษัทอย่างมาก นอกจากนี้ยังเริ่มกลายเป็นคู่แข่งของวอลโว่ด้วยรถบรรทุก L71 รีเจนต์ ใหม่ซึ่งเปิดตัวในปี พ.ศ. 2497[10]

ในช่วงเวลานี้ สแกนเนีย-วาบิสได้ขยายเครือข่ายตัวแทนจำหน่ายและศูนย์ปฏิบัติการเฉพาะทางทั่วประเทศ ในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1950 ส่วนแบ่งการตลาดในสวีเดนอยู่ระหว่าง 40–50% และบรรลุเป้าหมาย 70% ในกลุ่มรถบรรทุกที่มีน้ำหนักมากที่สุด โดยได้รับความช่วยเหลือจากความพยายามของตัวแทนจำหน่ายในตลาดการขนส่ง[10]

ผลกระทบใหญ่ที่สุดอยู่ที่ตลาดส่งออก ก่อนปี พ.ศ. 2493 การส่งออกคิดเป็นสัดส่วนเพียง 10% ของผลผลิต แต่ในทศวรรษต่อมา การส่งออกในปัจจุบันอยู่ที่ 50% ของผลผลิต

บจ.เบียส์ (Beers) กลายเป็นผู้นำเข้าอย่างเป็นทางการและหุ้นส่วนที่สำคัญมากของสแกนเนีย-วาบิสในประเทศเนเธอร์แลนด์ และก่อตั้งเครือข่ายตัวแทนจำหน่าย พร้อมด้วยโครงการฝึกอบรมสำหรับช่างเครื่องและคนขับ เบียส์ยังเสนอการยกเครื่องยานพาหนะของลูกค้าฟรีปีละสองครั้ง และนำเสนอบริการเคลื่อนที่ทั่วเนเธอร์แลนด์ด้วยรถบรรทุกบริการ เนื่องจากความพยายามร่วมกันของเบียส์ ส่วนแบ่งการตลาดของสแกนเนีย-วาบิสในเนเธอร์แลนด์จึงยังคงอยู่ที่ 20% อย่างสม่ำเสมอตลอดช่วงเวลานี้ และสแกนเนีย-วาบิสจะนำรูปแบบธุรกิจของเบียส์มาใช้ในการดำเนินธุรกิจการขายในต่างประเทศของบริษัทเอง[10]

ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1960 สแกนเนีย-วาบิสได้ขยายการดำเนินงานด้านการผลิตไปยังต่างประเทศ ซึ่งก่อนหน้านั้นดำเนินการที่เซอเดอเท็ลเยอเพียงแห่งเดียว แต่ต่อมาบริษัทก็เล็งเห็นถึงความจำเป็นในการขยายการผลิตไปต่างประเทศ บราซิลกลายเป็นตลาดที่โดดเด่นสำหรับรถบรรทุกหนัก และยังต้องพึ่งพารถโดยสารระหว่างเมืองด้วย โดยมีข้อกำหนดเฉพาะสำหรับถนนบนภูเขาของบราซิล ซึ่งกลายเป็นเส้นทางที่ไม่สามารถสัญจรได้ในบางครั้ง[11] ในวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2500 บมจ.สแกนเนีย-วาบิส บราซิล (Scania-Vabis do Brasil S.A.) ซึ่งเป็นบริษัทสาขาบราซิลได้ก่อตั้งขึ้นและเริ่มประกอบรถบางรุ่นด้วยตนเองในปี พ.ศ. 2501 และเปิดตัวโรงงานเครื่องยนต์แห่งใหม่ในเซาเปาลูในวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2502 และตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2503 เป็นต้นมาจึงได้ประกอบรถทั้งหมดด้วยตนเอง[12] ในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2505 สแกนเนีย-วาบิสได้ก่อตั้งโรงงานผลิตเต็มรูปแบบแห่งแรกนอกเซอเดอเท็ลเยอ โดยการสร้างโรงงานแห่งใหม่ใกล้เมืองเซาเปาลู และนี่คือการกำหนดมาตรฐานสำหรับการดำเนินงานระหว่างประเทศของสแกนเนีย-วาบิส[11][12]

ใกล้บ้านมากขึ้น ประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (EEC) ที่เพิ่งจัดตั้งขึ้นก็เสนอโอกาสเพิ่มเติมให้สแกนเนีย-วาบิสสร้างโรงงานแห่งใหม่ในซโวลเลอ ซึ่งแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2507 โดยอิงจากอิทธิพลที่แข็งแกร่งในตลาดเนเธอร์แลนด์[11] โรงงานแห่งใหม่ในเนเธอร์แลนด์นี้ช่วยให้สแกนเนีย-วาบิสก้าวไปสู่อีกห้าประเทศ EEC โดยเฉพาะตลาดเยอรมันและฝรั่งเศส[11]

สแกนเนีย-วาบิสยังคงขยายโรงงานผลิตอย่างต่อเนื่องผ่านการซื้อกิจการ ในปี พ.ศ. 2510 ได้ก่อตั้งบริษัทสาขาแห่งใหม่ชื่อ บจ.รถโดยสารสแกนเนีย (Scania-Bussar) 1 ปีต่อมา การวิจัย การพัฒนาและการผลิตรถบัสถูกย้ายไปที่แคทรีนโฮล์ม[11] มีการเพิ่มสถานที่ผลิตเพิ่มเติมที่ซิบบูลท์ และฟอลุน และจำนวนพนักงานของสแกนเนียก็เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะที่เซอเดอเท็ลเยอ ซึ่งช่วยเพิ่มจำนวนประชากรในเมืองเป็นสองเท่า[11]

นอกจากนี้ สแกนเนีย-วาบิสยังผลิตรถบรรทุกในบอตสวานา บราซิล เกาหลีใต้ แทนซาเนีย เนเธอร์แลนด์ ซิมบับเว และสหรัฐอเมริกา

ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2511 มีการเปิดตัวรถบรรทุกรุ่นใหม่ และในเวลาเดียวกันบริษัทก็ได้เปลี่ยนชื่อให้เหลือเพียงแค่สแกนเนียเท่านั้น นอกจากวาบิสจะหายไปจากชื่อและโลโก้ใหม่แล้ว รถรุ่นปัจจุบันทั้งหมดยังได้รับชื่อรุ่นใหม่อีกด้วย[13]

คริสต์ทศวรรษ 1970 และ 1980 แก้

ในปี พ.ศ. 2519 ได้มีการเปิดตัวศูนย์อุตสาหกรรมอาร์เจนตินา ไม่กี่เดือนต่อมา ในวันที่ 10 กันยายน ได้มีการผลิตกระปุกเกียร์ชุดแรกนอกประเทศสวีเดน และในที่สุดก็มีการผลิตรถบรรทุก L111 ในเดือนธันวาคม[14] กลายเป็นรถบรรทุกคันแรกของสแกนเนียที่ผลิตในอาร์เจนตินา ในไม่ช้า โรงงานแห่งนี้ก็มีความเชี่ยวชาญในการผลิตกระปุกเกียร์ เพลา และเฟืองท้าย[15]

นอกจากนี้ในอาร์เจนตินา ในปี พ.ศ. 2525 ได้มีการเปิดตัวรถบรรทุกซีรีส์ 2 (Series 2) โดยเป็นส่วนหนึ่งของ "โปรแกรมสแกนเนีย" ซึ่งประกอบด้วยรถบรรทุก T-112[16] และ R-112[17] ทั้งสองรุ่นมีห้องโดยสาร ตัวเลือกในด้านเครื่องยนต์และความสามารถในการบรรทุกที่แตกต่างกัน ในปี พ.ศ. 2526 ได้มีการเปิดตัวรถโคชรุ่น K112[18] เพื่อทดแทนรุ่น BR-116[19]

ในช่วงกลางปี ​​พ.ศ. 2528 สแกนเนียเข้าสู่ตลาดสหรัฐอเมริกาเป็นครั้งแรก โดยเริ่มต้นอย่างเรียบง่ายโดยตั้งเป้าหมายไว้ที่ 200 คันในปี พ.ศ. 2530 (จำหน่ายรถบรรทุกได้ 121 คันในระหว่างปี พ.ศ. 2529[20]) สแกนเนียจำกัดขอบเขตการตลาดไว้ที่นิวอิงแลนด์ซึ่งสถานการณ์คล้ายคลึงกับยุโรปมากกว่า[21]

ยานพาหนะเพื่อการพาณิชย์และการทหารของสแกนเนีย, วาบิส และสแกนเนีย-วาบิส หลายรุ่นถูกจัดแสดงไว้ที่มาร์คัส วัลเลนเบิร์กฮอลล์ (พิพิธภัณฑ์สแกนเนีย) ในเมืองเซอเดอเท็ลเยอ

เจ้าของ แก้

ซ้าบ-สแกนเนีย (พ.ศ. 2512–2538) แก้

ในวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2512 สแกนเนียได้รวมกิจการกับซ้าบ (Saab AB) และก่อตั้งเป็น บริษัท ซ้าบ-สแกนเนีย จำกัด (Saab-Scania AB)[13] เมื่อซ้าบ-สแกนเนียแยกออกจากกันในปี พ.ศ. 2538 ชื่อของแผนกรถบรรทุกและรถบัสจึงถูกเปลี่ยนเป็น บริษัท สแกนเนีย จำกัด (Scania AB) 1 ปีต่อมาได้เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ซึ่งนำไปสู่การเปลี่ยนชื่อเล็กน้อยเป็น บริษัท สแกนเนีย จำกัด (มหาชน) (Scania AB (publ))

การระงับการเข้าซื้อกิจการของวอลโว่ แก้

ในวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2542 วอลโว่ (Volvo) ประกาศตกลงซื้อหุ้นส่วนใหญ่ในสแกนเนีย 49.3% ซึ่งเป็นของบริษัท อินเวสเตอร์ จำกัด (Investor AB) ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของสแกนเนีย ในเวลานั้น การเข้าซื้อกิจการใช้เงิน 7.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (60.7 พันล้านครูนาสวีเดน) และจะกลายเป็นผู้ผลิตรถบรรทุกหนักที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก รองจากไดม์เลอร์ไครสเลอร์ (DaimlerChrysler)[22]

แต่การควบรวมกิจการประสบความล้มเหลว เนื่องจากจากสหภาพยุโรปไม่อนุมัติ โดยให้เหตุผลว่าบริษัทหนึ่งจะมีส่วนแบ่งการตลาดเกือบ 100% ในตลาดนอร์ดิก[ต้องการอ้างอิง]

การระงับการเข้าซื้อกิจการของ MAN แก้

ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2549 เอ็ม.เอ.เอ็น (MAN AG) ผู้ผลิตรถบรรทุกสัญชาติเยอรมนี ยื่นข้อเสนอที่ไม่เป็นมิตรมูลค่า 10.3 พันล้านยูโรเพื่อซื้อสแกนเนีย ลีฟ เอิสต์ลิ่ง (Leif Östling) ซีอีโอของสแกนเนีย ถูกบังคับให้ขอโทษที่เปรียบการเสนอราคาของ MAN เหมือนกับบลิทซ์ครีค ต่อมา MAN ก็ได้ยกเลิกข้อเสนอ แต่ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2551 MAN ก็ได้เพิ่มสิทธิในการออกเสียงในสแกนเนียเป็น 17%

เครือฟ็อลคส์วาเกิน แก้

สแกนเนียถือหุ้น 100% โดยเครือฟ็อลคส์วาเกิน (Volkswagen Group) บริษัทยานยนต์สัญชาติเยอรมัน และเป็นส่วนหนึ่งของบจ.ทราทัน (Traton) ซึ่งเป็นบริษัทลูกของเครือฟ็อลคส์วาเกินด้านยานยนต์เพื่อการพาณิชย์ขนาดใหญ่ พร้อมด้วย มันทรัคแอนด์บัส (MAN Truck & Bus), ฟ็อลคส์วาเกินทรัคแอนด์บัส (Volkswagen Camnhões e Ônibus) และนาวิสตาร์ (Navistar)

ฟ็อลคส์วาเกินเข้าซื้อหุ้นของวอลโว่เป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2543 และเข้าซื้อกิจการของสแกนเนียหลังจากความพยายามในการเข้าซื้อกิจการของวอลโว่ถูกยกเลิก และเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นเป็น 36.4% ในไตรมาสแรกของปี พ.ศ. 2550[23] จากนั้นในเดือนมีนาคม 2551 ฟ็อลคส์วาเกินได้เข้าซื้อกิจการของ บจ.อินเวสเตอร์ (Investor AB) โดยเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นเป็น 70.94%[24] ข้อตกลงดังกล่าวได้รับการอนุมัติจากหน่วยงานกำกับดูแลในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2551 จากนั้น สแกนเนียจึงกลายเป็นตราสินค้าลำดับที่ 9 ในเครือฟ็อลคส์วาเกิน[25] ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 ฟ็อลคส์วาเกินได้เข้าควบคุมสัดส่วนการถือหุ้น 100% ของสแกนเนีย

สแกนเนียในประเทศไทย แก้

รถบรรทุกสแกนเนียคันแรกได้ถูกนำเข้ามาในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2529 โดยบริษัท โฟฟร้อนท์ (ประเทศไทย) จำกัด จากนั้นในปี พ.ศ. 2543 Scania CV AB ประเทศสวีเดน ได้เข้ามาลงทุนและจัดตั้งบริษัท สแกนเนีย สยาม จำกัด ต่อมาในปี พ.ศ. 2545 ลงทุนสร้างโรงงานประกอบในจังหวัดฉะเชิงเทราโดยแบ่งสายการประกอบรถบรรทุกและรถโดยสารออกจากกัน ในปี พ.ศ. 2552 ได้สร้างสำนักงานใหญ่แห่งใหม่เป็นทั้งสำนักงานขายและศูนย์บริการที่ครบวงจร ณ จังหวัดสมุทรปราการ บนเนื้อที่ 16 ไร่ ริมถนนบางนา-ตราด[26]

เหตุการณ์ แก้

ค่าปรับการกำหนดราคา แก้

ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2560 สแกนเนียถูกสหภาพยุโรปปรับเป็นเงิน 880 ล้านยูโร (8.45 พันล้านครูนาสวีเดน) ฐานมีส่วนร่วมในกลุ่มพันธมิตรกำหนดราคานาน 14 ปี[27] สมาชิกอีกห้าคนของกลุ่มพันธมิตร ได้แก่ ไดม์เลอร์ (Daimler), ดัฟ (DAF), มัน (MAN), อีเวโก้ (Iveco) และวอลโว่/เรโนลต์ (Volvo/Renault) ได้ตกลงร่วมกับคณะกรรมาธิการในปี 2559[28]

ธุรกิจในรัสเซีย แก้

ในวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2565 หลังจากการรุกรานยูเครนโดยรัสเซีย สแกนเนียได้ประกาศหยุดดำเนินการในรัสเซีย เนื่องจากรัสเซียบังคับใช้มาตรการคว่ำบาตรและข้อจำกัดการส่งออก ในเดือนมีนาคม สแกนเนียหยุดการส่งมอบรถบรรทุกและชิ้นส่วนไปยังรัสเซีย และหยุดการผลิตในเซนต์ปีเตอส์เบิร์ก[29]

ผลิตภัณฑ์ แก้

รถบรรทุกและยานพาหนะพิเศษ แก้

 
สแกนเนีย R 730 LA4x2MNB รุ่นปรับโฉมปี 2552
 
รถหัวลากสแกนเนีย R 500 LA6x2HHA
 
รถดับเพลิงสแกนเนีย P 270 รุ่นแรก ของหน่วยดับเพลิงดับลิน ประเทศไอร์แลนด์
 
รถดับเพลิงหนักสแกนเนีย P 360 รุ่นที่สอง ของกรมบริการดับเพลิงฮ่องกง

สแกนเนียพัฒนา ผลิต และจำหน่ายรถบรรทุกที่มีพิกัดน้ำหนักรวมของยานพาหนะ (GVWR) มากกว่า 16 ตัน (คลาส 8) ซึ่งมีไว้สำหรับการขนส่งทางไกล การกระจายสินค้าในระดับภูมิภาคและระดับท้องถิ่น ตลอดจนการขนส่งในการก่อสร้าง

ในปี พ.ศ. 2506 สแกนเนีย LB76 ได้สร้างชื่อเสียงให้กับสแกนเนีย-เวบิส นอกประเทศสวีเดน โดยเป็นหนึ่งในห้องโดยสารรถบรรทุกรุ่นแรก ๆ ที่ได้รับการทดสอบการชนอย่างละเอียดถี่ถ้วน

ปัจจุบัน แก้

รถบรรทุกทั้งหมดของสแกนเนียในปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มผลิตภัณฑ์รถบรรทุกสแกนเนีย (PRT-range) วางตลาดเป็นซีรีส์ที่แตกต่างกันตามความสูงของห้องโดยสาร

  • ซีรีส์ L (L-series) – เปิดตัวในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2560 โดยมีห้องโดยสารที่ต่ำกว่าซีรีส์ P ได้รับการออกแบบให้เหมาะสมสำหรับการทำงานในสภาพแวดล้อมชุมชนเมืองที่หนาแน่น และการขนส่งระยะสั้น
     
    สแกนเนีย L 280
  • ซีรีส์ P (P-series) – เปิดตัวในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2547 เป็นรุ่นอเนกประสงค์ที่สุด ใช้สำหรับงานทั่วไป ได้แก่ ระดับภูมิภาคและท้องถิ่น การก่อสร้าง และการปฏิบัติการพิเศษต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งและบริการ ทุกรุ่นมีห้องโดยสาร P cab ซึ่งมีจำหน่ายหลายรูปแบบ: แบบเตียงนอนเดี่ยว เดย์แค็บกว้างขวาง หัวเก๋งแบบสั้น และแบบยาว (crew cab)
     
    สแกนเนีย P 280
  • ซีรีส์ G (G-series) – เปิดตัวในเดือนกันยายน พ.ศ. 2550 นำเสนอทางเลือกที่หลากหลายมากขึ้นสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่ทำงานในการขนส่งระยะไกลระดับประเทศและการใช้งานในการก่อสร้างแทบทุกประเภท ทุกรุ่นมีห้องโดยสาร G cab มีจำหน่ายทั้งแบบหัวลากและแบบบรรทุก มาพร้อมกับห้องโดยสาร 5 แบบ ได้แก่ ตู้นอน 3 ตู้ เดย์แค็บ และหัวเก๋งแบบสั้น มีรูปแบบเพลาที่แตกต่างกัน สามารถเลือกความสูงแชสซีและระบบกันสะเทือนได้
     
    สแกนเนีย G 360
  • ซีรีส์ R (R-series) – เปิดตัวในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2547 และได้รับรางวัลรถบรรทุกนานาชาติแห่งปีในปี พ.ศ. 2548 และอีกครั้งในปี พ.ศ. 2553[30] ซีรีส์นี้นำเสนอรถบรรทุกหลากหลายประเภทที่ปรับให้เหมาะกับการขนส่งระยะไกล ทุกรุ่นมีห้องโดยสาร R cab มีจำหน่ายทั้งแบบหัวลากและแบบบรรทุก มีรูปแบบเพลาที่แตกต่างกัน และมีตัวเลือกความสูงแชสซีและระบบกันสะเทือน รุ่นที่ทรงพลังที่สุดของซีรีส์นี้คือรุ่น R 730 ด้วยเครื่องยนต์ DC16 เทอร์โบ ดีเซล V8 ขนาด 16.4 ลิตร ให้กำลัง 730 แรงม้า (540 กิโลวัตต์) ที่ 1,900 รอบต่อนาที และแรงบิด 3,500 นิวตันเมตร (2,600 ปอนด์ฟุต) ที่ 1,000–1,350 รอบต่อนาที
     
    สแกนเนีย R 450 "Heróis da estrada" ("วีรบุรุษแห่งท้องถนน") - เป็นรุ่นพิเศษเฉลิมฉลองครบรอบ 63 ปีของสแกนเนีย ในประเทศบราซิล
  • ซีรีส์ S (S-series) – เปิดตัวในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2559 เป็นซีรีส์ที่มีห้องโดยสารสูงที่สุดเท่าที่สแกนเนียเคยสร้างมา มีพื้นราบและมีเตียงเตี้ยที่ขยายได้สูงสุด 100 เซนติเมตร (ประมาณ 3.28 ฟุต)
     
    สแกนเนีย S 650

ในอดีต แก้

รถบัสและรถโคช แก้

กลุ่มผลิตภัณฑ์รถบัสและรถโคชของสแกนเนียมุ่งเน้นไปที่แชสซีมาโดยตลอด โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อใช้ร่วมกับรถบัสและรถโคช แต่ตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1950 เป็นต้นมา เมื่อบริษัทยังคงเป็นที่รู้จักในชื่อสแกนเนีย-วาบิส พวกเขาได้ผลิตรถบัสสำเร็จสำหรับตลาดในสวีเดนและส่วนอื่น ๆ ของสแกนดิเนเวีย และสำหรับภูมิภาคหลักของยุโรปตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1990 เป็นต้นมา

แชสซี แก้

รถสำเร็จ แก้

ความร่วมมือ แก้

เครื่องยนต์ดีเซล แก้

นอกเหนือจากเครื่องยนต์รถบัสและรถบรรทุกแล้ว เครื่องยนต์อุตสาหกรรมและเครื่องยนต์ทางทะเลของสแกนเนียยังใช้ในชุดเครื่องกำเนิดไฟฟ้าและในเครื่องจักรขนย้ายดินและการเกษตร ตลอดจนบนเรือและงานฝีมือเพื่อความบันเทิง

การมีส่วนร่วมของสแกนเนียในการผลิตเครื่องยนต์สันดาปภายในเกิดขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2440 เมื่อวิศวกร กุสตาฟ เอริกสัน (Gustav Erickson) ได้ออกแบบเครื่องยนต์สำหรับรถยนต์คันแรกของบริษัท ในช่วงหลายปีต่อมา สแกนเนียได้เติบโตขึ้นจนกลายเป็นหนึ่งในผู้ผลิตเครื่องยนต์ที่มีประสบการณ์มากที่สุดในโลก โดยไม่เพียงแต่สร้างเครื่องยนต์สำหรับรถบรรทุกและรถโดยสารเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการใช้งานทางทะเลและอุตสาหกรรมทั่วไปด้วย ซึ่งมีการส่งออกไปทั่วโลก[31]

ปัจจุบัน แก้

ปีในวงเล็บคือปีที่ใช้งานในยานพาหนะเป็นครั้งแรก

 
เครื่องยนต์สแกนเนีย 770 แรงม้า 8 สูบ

ในอดีต แก้

  • D10/DS10 6 สูบ 10,261 ซีซี (พ.ศ. 2501)
  • D7 6 สูบ 7,167 ซีซี (พ.ศ. 2502)
  • D8/DS8 6 สูบ 7,790 ซีซี (พ.ศ. 2505)
  • D11/DN11/DS11/DSC11/DSI11 6 สูบ 11,021 ซีซี (พ.ศ. 2506)
  • D5/DS5 4 สูบ 5,193 ซีซี (พ.ศ. 2507)
  • DI14/DS14/DSC14/DSI14 8 สูบ 14,188 ซีซี (พ.ศ. 2512)
  • DC9/DI9/DN9/DS9/DSC9 6 สูบ 8,476 ซีซี (พ.ศ. 2527)
  • DC9 6 สูบ 8,974 ซีซี (พ.ศ. 2539)
  • DH12/DI12/DSC12/DSI12/DT12 6 สูบ 11,705 ซีซี (พ.ศ. 2539)
  • DC11 6 สูบ 10,641 ซีซี (พ.ศ. 2542)
  • DC16 8 สูบ 15,607 ซีซี (พ.ศ. 2543)
  • DC9 5 สูบ 8,867 ซีซี (พ.ศ. 2547)

ผลิตภัณฑ์อื่น แก้

ฐานการผลิต แก้

ตารางด้านล่างนี้แสดงสถานที่ตั้งของโรงงานผลิตในปัจจุบัน[33] และในอดีตของสแกนเนีย เนื่องจากปัจจุบันสแกนเนียเป็นเจ้าของส่วนใหญ่โดยฟ็อลคส์วาเกิน ตารางนี้จึงรวมข้อมูลอ้างอิงของเครือฟ็อลคส์วาเกินไว้ด้วย[34]

หมายเหตุ: ช่องที่สองของตาราง 'รหัส VIN โรงงาน' ระบุไว้ในหลักที่ 11 ของหมายเลขประจำตัวยานพาหนะ 17 หลักของยานพาหนะ และรหัสโรงงานนี้จะกำหนดให้กับโรงงานที่ผลิตยานพาหนะที่สมบูรณ์เท่านั้น โรงงานชิ้นส่วนที่ไม่ได้ผลิตรถยนต์ครบชุดจะไม่มีรหัสประจำตัวโรงงานนี้

ชื่อโรงงาน หมายเลขประจำตัวยานพาหนะ รหัสประจำตัวผู้ผลิตของโลก ประเทศ ที่ตั้ง อุตสาหกรรมปัจจุบัน อุตสาหกรรมในอดีต ผลิตภัณฑ์ ปีที่เปิดใช้งาน (พ.ศ.) พิกัด
อ็องเฌ
[34][35]
9 VLU ฝรั่งเศส อ็องเฌ,
จังหวัดแมเนลัวร์,
แคว้นเปอีเดอลาลัวร์
ประกอบรถบรรทุกสแกนเนีย 2535 47°30′4″N 0°30′55″W / 47.50111°N 0.51528°W / 47.50111; -0.51528 (Scania Production S.A.S., Angers)
แคทรีนโฮล์ม
YS4 สวีเดน เทศบาลแคทรีนโฮล์ม, เทศมณฑลโซเดอร์มานลันด์ โครงรถบัสและประกอบตัวถังสแกนเนีย 58°59′42.7956″N 16°10′7.914″E / 58.995221000°N 16.16886500°E / 58.995221000; 16.16886500 (Katrineholm plant)
ลาห์ตี
YK900L ฟินแลนด์ ลาห์ตี,
ปายัต-เฮเม
ประกอบรถบรรทุกสแกนเนีย 2550 60°57′0″N 25°36′3″E / 60.95000°N 25.60083°E / 60.95000; 25.60083 (SOE Busproduction Finland Oy)
ลูเลโอ
[34][36]
สวีเดน เทศบาลลูเลโอ,
นอร์บอตเทิน,
เทศมณฑลนอร์บอตเทิน
โครงรถบรรทุกสแกนเนีย, โครงเพลาล้อหลัง 65°36′48″N 22°7′45″E / 65.61333°N 22.12917°E / 65.61333; 22.12917 (Ferruform AB, Luleå (part of Scania AB))
เมปเปิล
[34][37]
เนเธอร์แลนด์ เมปเปิล,
จังหวัดเดรนเทอ
ส่วนประกอบรถบรรทุกสแกนเนีย และโรงพ่นสี 52°41′25″N 6°10′24″E / 52.69028°N 6.17333°E / 52.69028; 6.17333 (Scania Production Meppel B.V., Meppel)
ออสการ์ชัมส์
[34][38]
สวีเดน เทศบาลออสการ์ชัมส์,
เศมณฑลคาลมาร์, สมัวแลนด์
ผลิตห้องโดยสารรถบรรทุกสแกนเนีย 57°15′24″N 16°25′42″E / 57.25667°N 16.42833°E / 57.25667; 16.42833 (Scania AB production plant, Oskarshamn)
เซาเบอร์นาร์โด โด กัมโป[34][39] 3 9BS บราซิล เซาเบอร์นาร์โด โด กัมโป,
มหานครเซาเปาลู,
รัฐเซาเปาลู
โครงรถบรรทุกและรถบัสสแกนเนีย เครื่องยนต์, กระปุกเกียร์, ส่วนประกอบ เพลา, ห้องโดยสารรถบรรทุก 2505 23°42′49″S 46°33′58″W / 23.71361°S 46.56611°W / -23.71361; -46.56611 (Scania Latin America Ltda., São Bernardo do Campo)
สวุปสก์
[34][40]
SZA โปแลนด์ สวุปสก์,
จังหวัดปอมอแช
ประกอบรถบัสสแกนเนีย 2536 54°28′42″N 17°0′46″E / 54.47833°N 17.01278°E / 54.47833; 17.01278 (Scania Production Slupsk S.A)
เซอเดอเท็ลเยอ
[34][41]
1
2
YS2 สวีเดน เซอเดอเท็ลเยอ, เทศมณฑลเซอเดอเท็ลเยอ,
เซอเดอร์มันลันด์,
เทศมณฑลสต็อกโฮล์ม
โครงรถบรรทุกและรถบัสสแกนเนีย ส่วนประกอบเครื่องยนต์ 2434 59°10′14″N 17°38′26″E / 59.17056°N 17.64056°E / 59.17056; 17.64056 (Scania AB Headquarters & production plant, Södertälje)
เซนต์ปีเตอส์เบิร์ก
[34][42]
X8U รัสเซีย เซนต์ปีเตอส์เบิร์ก,
เขตสหพันธ์ตะวันตกเฉียงเหนือ
ตัวถังรถบัส และประกอบรถบรรทุกสแกนเน้ย 59°53′24″N 30°20′24″E / 59.89000°N 30.34000°E / 59.89000; 30.34000 (Scania Peter, St Petersburg)
ตูกูมัน
[34][43]
8A3 อาร์เจนตินา ซานมิเกลเดตูกูมัน,
รัฐตูกูมัน
เพลาล้อหลัง, กระปุกเกียร์, เฟืองท้าย, เพลาขับ 2519[15] 26°52′47.5″S 65°7′38″W / 26.879861°S 65.12722°W / -26.879861; -65.12722 (Scania Argentina S.A., Tucamán)
ซโวลเลอ
[34][44]
4
5
XLE เนเธอร์แลนด์ ซโวลเลอ,
จังหวัดโอเฟอไรส์เซิล
ประกอบรถบรรทุกสแกนเนีย 2507[45] 52°30′46″N 6°3′48″E / 52.51278°N 6.06333°E / 52.51278; 6.06333 (Scania Nederland B.V., Zwolle)

ในปี พ.ศ. 2558 สแกนเนียได้เปิดโรงงานในเอเชียแห่งแรกในเมืองบังกาลอร์ รัฐกรณาฏกะ ประเทศอินเดีย โรงงานแห่งนี้ผลิตรถบัสและรถโค้ช

ในเดือนพฤศจิกายน พ ศ. 2563 สแกนเนียได้ซื้อบริษัทรถบรรทุก Nantong Gaokai ซึ่งตั้งอยู่ในเมืองรู่เกา ทางตะวันออกของจีน เพื่อเริ่มแผนการผลิตรถยนต์ที่นั่น[46]


อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "Board of Directors". Scania AB. สืบค้นเมื่อ 3 May 2021.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 "2022 Annual and Sustainability Report" (PDF). Scania AB. pp. 4, 71–72. สืบค้นเมื่อ 28 May 2023.
  3. 3.0 3.1 "Key figures Scania (2012)". Scania. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 September 2013. สืบค้นเมื่อ 28 September 2013.
  4. "Scania now a publicly listed company". Scania. 1 April 1996. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 July 2014. สืบค้นเมื่อ 9 July 2014.
  5. "Scania's application for delisting approved". Scania. 21 May 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 July 2014. สืบค้นเมื่อ 9 July 2014.
  6. 7.0 7.1 7.2 7.3 "Scania". Autoevolution. SoftNews NET. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 February 2012.
  7. "The history of Scania: 1910 − A new company is born". Scania AB. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 September 2015.
  8. Ekström, Gert (1984). Svenska bilbyggare. Allt om hobby. ISBN 91-85496-22-7.
  9. 10.0 10.1 10.2 "1950 – Growth and new frontiers". Scania. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 October 2009. สืบค้นเมื่อ 7 October 2009.
  10. 11.0 11.1 11.2 11.3 11.4 11.5 "1960 – Expanding production". Scania. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 October 2009. สืบค้นเมื่อ 7 October 2009.
  11. 12.0 12.1 "História 1957–1966" (ภาษาโปรตุเกส). Scania Latin America. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 September 2009.
  12. 13.0 13.1 Berg, Jørgen Seemann (1995). King of the road i femti år: Norsk Scania AS 1945–1995 (ภาษานอร์เวย์). Oslo, Norway: Norsk Scania AS. p. 85. ISBN 82-993693-0-4.
  13. Dl, Esteban (16 June 2012). "Camión Argentino: Scania L/LT 111". camionargentino.blogspot.com.ar. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 December 2017. สืบค้นเมื่อ 4 May 2018.
  14. 15.0 15.1 Dl, Esteban (16 February 2012). "Camión Argentino: Scania". camionargentino.blogspot.com.ar. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 October 2017. สืบค้นเมื่อ 4 May 2018.
  15. Camionero, El (2 September 2012). "Camión Argentino: Scania T 112H 4x2". camionargentino.blogspot.com.ar. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 November 2017. สืบค้นเมื่อ 4 May 2018.
  16. Dl, Esteban (30 January 2013). "Camión Argentino: Scania R 112H 4x2". camionargentino.blogspot.com.ar. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 October 2017. สืบค้นเมื่อ 4 May 2018.
  17. Camionero, El (30 June 2012). "Camión Argentino: Scania K 112". camionargentino.blogspot.com.ar. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 December 2017. สืบค้นเมื่อ 4 May 2018.
  18. Dl, Esteban (28 May 2012). "Camión Argentino: Scania BR 116". camionargentino.blogspot.com.ar. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 December 2017. สืบค้นเมื่อ 4 May 2018.
  19. Stark, Harry A., บ.ก. (1987). Ward's Automotive Yearbook 1987. Vol. 49. Detroit, MI: Ward's Communications, Inc. p. 174. ISBN 0910589007.{{cite book}}: CS1 maint: ignored ISBN errors (ลิงก์)
  20. Kerr, John (December 1986). Barden, Paul (บ.ก.). "View: USA". TRUCK. London, UK: FF Publishing Ltd: 30, 34.
  21. "Volvo buys Scania". Diesel Net. Ecopoint. 7 August 1999. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 April 2010. สืบค้นเมื่อ 6 October 2009.
  22. "January–March 2007 Interim Report" (PDF). Wolfsburg: Volkswagen. May 2007: 1, 3. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 29 October 2008. สืบค้นเมื่อ 6 October 2009. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  23. "VW CEO hints there will be no merger of Scania and MAN". Thomson Financial. สืบค้นเมื่อ 21 March 2008. แม่แบบ:Registration required[ต้องการตรวจสอบความถูกต้อง]
  24. "Scania has become the ninth brand in the Volkswagen Group" (Press release). Volkswagen. 1 December 2008. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 October 2011. สืบค้นเมื่อ 10 November 2009.
  25. "ประวัติสแกนเนียในประเทศไทย". Scania ประเทศไทย.
  26. "VW's truckmaker Scania fined 880 million euros for price fixing". Reuters. 27 September 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 September 2017. สืบค้นเมื่อ 30 September 2017.
  27. "VW's Scania truck firm fined €880m by EU for price fixing". The Guardian. 27 September 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 September 2017. สืบค้นเมื่อ 30 September 2017.
  28. https://www.scania.com/group/en/home/newsroom/press-releases/press-release-detail-page.html/4351117-scania-makes-a-provision-for-russia]
  29. "International Truck and Van of the Year 2005". Transport News Network. 4 August 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 November 2010. สืบค้นเมื่อ 6 October 2009.
  30. "Scania – Undisturbed pleasure". Kelly's Truck and Marine Service. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 October 2009. สืบค้นเมื่อ 6 October 2009.
  31. "Scania Truck Gear". scania.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 October 2015. สืบค้นเมื่อ 4 May 2018.
  32. "Production units". Scania. 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 October 2009. สืบค้นเมื่อ 4 October 2009.
  33. 34.00 34.01 34.02 34.03 34.04 34.05 34.06 34.07 34.08 34.09 34.10 "Production Plants". Volkswagen. 31 December 2008. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 January 2010. สืบค้นเมื่อ 4 October 2009.
  34. "France, Angers". Scania. 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 June 2010. สืบค้นเมื่อ 4 October 2009.
  35. "Sweden, Luleå". Scania. 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 July 2011. สืบค้นเมื่อ 4 October 2009.
  36. "The Nederlands, Meppel". Scania. 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 July 2011. สืบค้นเมื่อ 4 October 2009.
  37. "Sweden, Oskarshamn". Scania. 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 July 2011. สืบค้นเมื่อ 4 October 2009.
  38. "Brazil, São Paulo". Scania. 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 July 2011. สืบค้นเมื่อ 4 October 2009.
  39. "Poland, Slupsk". Scania. 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 March 2010. สืบค้นเมื่อ 4 October 2009.
  40. "Sweden, Södertälje". Scania. 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 May 2010. สืบค้นเมื่อ 4 October 2009.
  41. "Russia, St. Petersburg". Scania. 2008. สืบค้นเมื่อ 4 October 2009.[ลิงก์เสีย]
  42. "Argentina, Tucamán". Scania. 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 July 2011. สืบค้นเมื่อ 4 October 2009.
  43. "The Nederlands, Zwolle". Scania. 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 July 2011. สืบค้นเมื่อ 4 October 2009.
  44. "Scania Production Zwolle - scaniaproductionzwolle.com". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 April 2015. สืบค้นเมื่อ 19 March 2015.
  45. Sweden's Scania to start making trucks in China after acquisition, Reuters, 24 November 2020

แหล่งข้อมูลอื่น แก้