สเปซอินเวเดอส์

(เปลี่ยนทางจาก สเปซอินเวเดอร์ส)

สเปซอินเวเดอร์ส (ญี่ปุ่น: スペースインベーダー; อังกฤษ: Space Invaders) เป็นวิดีโอเกมอาเขด ที่ได้รับการออกแบบโดยโทะโมะฮิโระ นิชิคะโดะ และได้รับการเปิดตัวใน ค.ศ. 1978 ซึ่งเดิมผลิตและจำหน่ายโดยบริษัทไทโทในประเทศญี่ปุ่น และในภายหลังได้รับสิทธิการผลิตในสหรัฐอเมริกาโดยมิดเวย์ของแบลลี สเปซอินเวเดอร์ส เป็นหนึ่งในเกมยิงปืนที่เก่าแก่ที่สุด โดยมีจุดมุ่งหมายคือการปราบฝูงเอเลี่ยนด้วยปืนเลเซอร์เพื่อทำคะแนนให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ในการออกแบบเกม นิชิคะโดะได้รับแรงบันดาลใจจากสื่อที่เป็นที่นิยมอย่าง เบรกเอาท์, เดอะวอร์ออฟเดอะเวิลด์ส และ สตาร์ วอร์ส ในการทำให้สำเร็จ เขาได้ออกแบบฮาร์ดแวร์และเครื่องมือในการพัฒนาที่กำหนดขึ้นเอง

สเปซอินเวเดอร์ส
ผู้พัฒนาไทโทคอร์ปอเรชัน
ผู้จัดจำหน่ายJP ไทโท
NA มิดเวย์
ออกแบบโทะโมะฮิโระ นิชิคะโดะ
เครื่องเล่นอาเขด
วางจำหน่ายมิถุนายน ค.ศ. 1978 [1]
แนวยิงแก้ปัญหา
รูปแบบวิดีโอเกมผู้เล่นคนเดียว

มันถือได้ว่าเป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกของการเล่นวิดีโอเกมที่ทันสมัย และมีส่วนช่วยขยายอุตสาหกรรมวิดีโอเกม ด้วยความแปลกใหม่ให้กับอุตสาหกรรมทั่วโลก (ดูเพิ่มที่ ยุคทองแห่งวิดีโอเกมอาเขด) ในการเปิดตัวครั้งแรก สเปซอินเวเดอร์ส ก็ประสบความสำเร็จเป็นอย่างสูง โดยภายหลังจากการเปิดตัว เกมนี้ได้ส่งผลให้เกิดการขาดแคลนเหรียญ 100 เยนในประเทศญี่ปุ่นอยู่ช่วงระยะเวลาหนึ่ง และสามารถทำรายได้ทั่วโลกที่ 2 พันล้านเหรียญสหรัฐเมื่อถึง ค.ศ. 1982

เกมนี้ยังได้สร้างแรงบันดาลใจสำหรับเกมอื่นๆ และได้เปิดตัวในแพลตฟอร์มอื่นหลายครั้ง รวมถึงมีภาคต่ออีกหลายภาค ค.ศ. 1980 ในเวอร์ชันอาตาริ 2600 ได้มีการจำหน่ายโดยการบอกเล่าปากต่อปาก และกลายเป็น "ทีเด็ด" แรก สำหรับเครื่องเล่นวิดีโอเกม สเปซอินเวเดอร์ส ได้รับการอ้างถึงและล้อเลียนในรายการโทรทัศน์หลายรายการ รวมถึงเป็นส่วนหนึ่งของวิดีโอเกมที่มีอยู่เป็นจำนวนมากที่ได้รับการจัดแสดงในนิทรรศการทางวัฒนธรรม กราฟิกแบบพิกเซลของเอเลี่ยนฝ่ายศัตรูได้กลายมาเป็นวัฒนธรรมสมัยนิยม ที่ได้รับการนำมาเป็นตัวแทนภาพลักษณ์ของวิดีโอเกมโดยรวม

รูปแบบการเล่น แก้

 
ผู้เล่นกำลังควบคุมการยิงปืนเลเซอร์ใส่เหล่าเอเลี่ยน ในขณะที่พวกมันกำลังเคลื่อนตัวลงสู่ด้านล่างของจอ

สเปซอินเวเดอร์ส เป็นเกมยิงแก้ปัญหาสองมิติ โดยผู้เล่นจะควบคุมการยิงปืนเลเซอร์ โดยการเคลื่อนที่ในแนวนอนที่ด้านล่างของจอ และยิงเหล่าเอเลี่ยนที่กำลังเคลื่อนตัวลงมา ซึ่งมีจุดมุ่งหมายคือการกำจัดเหล่าเอเลี่ยนห้าแถวหน้ากระดาน ซึ่งมีอยู่แถวละสิบเอ็ดตัว โดยในบางเวอร์ชันอาจมีจำนวนที่ต่างกัน โดยมีการเคลื่อนตัวไปในแนวนอนแล้วหวนกลับไปมาในขณะที่พวกมันค่อยๆเลื่อนลงสู่ด้านล่างของจอ ผู้เล่นจะทำการกำจัดเหล่าเอเลี่ยนและเก็บสะสมแต้มจากการยิงพวกมันด้วยปืนเลเซอร์ เมื่อเหล่าเอเลี่ยนถูกกำจัดมากขึ้น การเคลื่อนไหวของเอเลี่ยนและเพลงประกอบเกมจะเร่งให้เร็วขึ้น ซึ่งการกำจัดเหล่าเอเลี่ยนที่มาเป็นฝูงจะมีการเพิ่มความยากมากยิ่งขึ้น และวนเวียนเช่นนี้เรื่อยไป[1][2][3][4]

เหล่าเอเลี่ยนพยายามที่จะทำลายฐานกำลังด้วยการยิงไปที่ส่วนนี้ ในขณะที่พวกมันค่อยๆเคลื่อนตัวลงสู่ด้านล่างของจอ หากพวกมันมาถึงด้านล่าง การรุกรานของเหล่าเอเลี่ยนก็จะเป็นผลสำเร็จและเกมก็จะจบลง ส่วน "เรือลึกลับ" ลำพิเศษในบางครั้งจะเคลื่อนผ่านในหน้าจอและหากสามารถทำลายได้จะได้รับคะแนนโบนัส ปืนเลเซอร์จะได้รับการป้องกันบางส่วนจากบังเกอร์นิ่งที่มีอยู่หลายอัน โดยจะมีจำนวนที่แตกต่างกันไปในแต่ละเวอร์ชัน ซึ่งจะถูกทำลายโดยขีปนาวุธจากเหล่าเอเลี่ยนและตัวของผู้เล่นเอง[1][2][3][4]

การพัฒนา แก้

สเปซอินเวเดอร์ส ได้รับการสร้างขึ้นโดยโทะโมะฮิโระ นิชิคะโดะ ผู้ซึ่งใช้เวลาหนึ่งปีในการออกแบบและพัฒนาฮาร์ดแวร์ที่จำเป็นในการผลิตเกมนี้[5] มีการรายงานถึงแรงบันดาลใจในการสร้างเกมจากที่มาที่แตกต่างกัน รวมถึงการดัดแปลงเชิงกลไกของเกม สเปซมอนสเตอร์ส ที่ได้รับการเปิดตัวใน ค.ศ. 1972 และความฝันเกี่ยวกับเด็กนักเรียนญี่ปุ่นที่กำลังรอซานต้าครอสและมีการโจมตีจากการบุกรุกของเหล่าเอเลี่ยน[1][6] อย่างไรก็ตาม นิชิคะโดะได้อ้างว่าเกมอาเขด เบรกเอาท์ ของอาตาริได้สร้างแรงบันดาลใจให้แก่เขา เขาได้มุ่งหมายต่อการสร้างเกมยิงที่มีความโดดเด่นของความรู้สึกเดียวกันกับความสำเร็จจากการพิชิตด่านและทำลายเป้าหมาย แต่มีกราฟิกส์ที่ซับซ้อนมากขึ้น[5][7] นิชิคะโดะได้ใช้รูปแบบที่คล้ายกันกับ เบรกเอาท์ แต่มีการเปลี่ยนแปลงทางกลศาสตร์ของเกม

อิทธิพลและสิ่งสืบเนื่อง แก้

เพียงไม่กี่เดือนแรกของการเปิดตัวที่ประเทศญี่ปุ่น เกมดังกล่าวก็ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก[8] ย่านอาเขดแทบไม่มีอะไรนอกจากตู้ สเปซอินเวเดอร์ส[5][8] และช่วงปลาย ค.ศ. 1978 บริษัทไทโทก็ได้ทำการติดตั้งมากกว่า 100,000 เครื่อง และทำรายได้กว่า 600 ล้านเหรียญสหรัฐเฉพาะในประเทศญี่ปุ่นเพียงอย่างเดียว[9] ภายในช่วงระยะเวลาสองปีล่วงไปจนถึง ค.ศ. 1980 [10] บริษัทไทโทได้จำหน่ายตู้เกม สเปซอินเวเดอร์ส ไปแล้วกว่า 300,000 เครื่องในประเทศญี่ปุ่น[11] นอกจากนี้ ยังมี 60,000 เครื่องในสหรัฐอเมริกา[10][12] โดยมีราคาอยู่ที่ช่วงระหว่าง 2,000 ถึง 3,000 เหรียญสหรัฐสำหรับแต่ละเครื่อง[13]ภายในระยะเวลาหนึ่งปีหลังจากการเปิดตัว[14] ตู้อาเขดได้กลายเป็นของสะสมโดยเวอร์ชันค็อกเทลและคาบาเรต์เป็นรุ่นที่หาได้ยาก[15] ปัญหาการขาดแคลนเหรียญ 100 เยน และการผลิตเพิ่มขึ้นในภายหลังในประเทศญี่ปุ่นมีสาเหตุมาจากเกมดังกล่าว[5][16][17]ภายในช่วงหนึ่งปีหลังการเปิดตัว[9] โดยในช่วงกลาง ค.ศ. 1981 มากกว่าสี่พันล้านควอเตอร์ หรือ 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐได้เป็นรายได้ที่มาจากตู้เกม สเปซอินเวเดอร์ส[18] และมันยังคงทำกำไรขั้นต้นเฉลี่ย 600 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี[19] ผ่านมาจนถึง ค.ศ. 1982 เกมดังกล่าวสามารถทำรายได้ที่ 2 พันล้านควอเตอร์[20][21] (เทียบเท่า 4.6 พันล้านดอลลาร์ใน ค.ศ. 2011)[22] โดยมีกำไรสุทธิที่ 450 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[21] (เทียบเท่า 1 พันล้านดอลลาร์ใน ค.ศ. 2011)[22] นี่เองที่ทำให้มันกลายเป็นรายชื่อวิดีโอเกมที่ขายดีที่สุดวิดีโอเกมที่ขายดีที่สุดและผลิตภัณฑ์ด้านความบันเทิงที่มีรายได้สูงสุดในช่วงเวลาดังกล่าว[20] ซึ่งเปรียบเทียบได้กับภาพยนตร์ที่ทำรายได้สูงสุดอย่าง สตาร์วอร์ส ในช่วงหลังจากนั้น[20][23] ซึ่งทำรายได้ 486 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[23] ในตั๋วภาพยนตร์ (ราคาเฉลี่ยใบละ 2.25 ดอลาร์สหรัฐ)[20] ด้วยกำไรสุทธิ 175 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[23] สเปซอินเวเดอร์ ทำกำไรให้แก่ไทโทกว่า 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[5][24]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ GS-SI-Hall
  2. 2.0 2.1 Craig Glenday, บ.ก. (March 11, 2008). "Top 100 Arcade Games: Top 5". Guinness World Records Gamer's Edition 2008. Guinness World Records. Guinness. p. 237. ISBN 978-1-904994-21-3.
  3. 3.0 3.1 "The Definitive Space Invaders". Retro Gamer. Imagine Publishing (41): 24–33. 2007. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)
  4. 4.0 4.1 Seabrook, Andrea (April 12, 2008). "Replay: the Evolution of Video Game Music". All Things Considered. National Public Radio. สืบค้นเมื่อ May 12, 2008.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 Staff (2008). "Classic GI: Space Invaders". Game Informer. Game Stop (177): 108–109. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)
  6. Williams, Kevin. "Arcade Fantastic – Part 1". GameSpy. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-09. สืบค้นเมื่อ September 19, 2008.
  7. Staff. "Nishikado-San Speaks". Retro Gamer. Live Publishing (3): 35.
  8. 8.0 8.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ 1UP-10things
  9. 9.0 9.1 "Can Asteroids Conquer Space Invaders?" (PDF). Electronic Games. 1 (1): 30–33 [31]. Winter 1981. สืบค้นเมื่อ February 1, 2012.
  10. 10.0 10.1 Dale Peterson (1983), Genesis II, creation and recreation with computers, Reston Publishing, p. 175, ISBN 0-8359-2434-3, สืบค้นเมื่อ May 1, 2011, By 1980, some 300,000 Space Invader video arcade games were in use in Japan, and an additional 60,000 in the United States.
  11. Jiji Gaho Sha, inc. (2003), Asia Pacific perspectives, Japan, vol. 1, University of Virginia, p. 57, สืบค้นเมื่อ April 9, 2011, At that time, a game for use in entertainment arcades was considered a hit if it sold 1000 units; sales of Space Invaders topped 300,000 units in Japan and 60,000 units overseas.
  12. Ellis, David (2004). "Arcade Classics". Official Price Guide to Classic Video Games. Random House. p. 345. ISBN 0-375-72038-3.
  13. "Video arcades rival Broadway theatre and girlie shows in NY", InfoWorld, vol. 4 no. 14, p. 15, April 12, 1982, ISSN 0199-6649, สืบค้นเมื่อ May 1, 2011
  14. Kohler, Chris (2004). Power-Up: How Japanese Video Games Gave the World an Extra Life. Indianapolis, Ind.: BradyGames. p. "represented+a+significant+portion+of+the+cost" 19. ISBN 0-7440-0424-1. Within one year of its US release, an additional 60,000 machines had been sold. One arcade owner said of Space Invaders that it was the first arcade game whose intake "represented a significant portion of the cost of [buying] the game in any one week." That is, it was the first video game that paid for itself within about a month.
  15. Ellis, David (2004). "Arcade Classics". Official Price Guide to Classic Video Games. Random House. pp. 411–412. ISBN 0-375-72038-3.
  16. Craig Glenday, บ.ก. (March 11, 2008). "Record Breaking Games: Shooting Games Roundup". Guinness World Records Gamer's Edition 2008. Guinness World Records. Guinness. pp. 106–107. ISBN 978-1-904994-21-3.
  17. Richards, Giles (July 24, 2005). "A life through video games". The Observer. UK: Guardian Media Group. สืบค้นเมื่อ May 22, 2008.
  18. Glinert, Ephraim P. (1990), Visual Programming Environments: Applications and Issues, IEEE Computer Society Press, p. 321, ISBN 0-8186-8974-9, สืบค้นเมื่อ April 10, 2011, As of mid-1981, according to Steve Bloom, author of Video Invaders, more than four billion quarters had been dropped into Space Invaders games around the world
  19. "Video Warriors on the Screen", New Scientist, vol. 95 no. 1317, p. 377, August 5, 1982, ISSN 0262-4079, สืบค้นเมื่อ May 1, 2011, But this is 1982, and the game Space Invaders – as the Disney handout enviously reminds us – grosses over $600 million a year.
  20. 20.0 20.1 20.2 20.3 "Making millions, 25 cents at a time". The Fifth Estate. Canadian Broadcasting Corporation. November 23, 1982. สืบค้นเมื่อ April 30, 2011.
  21. 21.0 21.1 "Space Invaders vs. Star Wars", Executive, Southam Business Publications, vol. 24, p. 9, 1982, สืบค้นเมื่อ April 30, 2011, According to TEC, Atari's arcade game Space Invaders has taken in $2 billion, with net recipts of $450 million.
  22. 22.0 22.1 "CPI Inflation Calculator". Bureau of Labor Statistics. สืบค้นเมื่อ March 22, 2011.
  23. 23.0 23.1 23.2 "Space Invaders vs. Star Wars", Executive, Southam Business Publications, vol. 24, p. 9, 1982, สืบค้นเมื่อ April 30, 2011, They compare this to the box office movie top blockbuster Star Wars, which has taken in only $486 million, for a net of $175 million.
  24. Kevin Bowen. "The Gamespy Hall of Fame: Space Invaders". GameSpy. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-04-08. สืบค้นเมื่อ April 30, 2011.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้