สุสานเตียวเหลง[1] หรือสุสานเจี่ยงหลิง (จีน: 蔣陵; พินอิน: Jiǎnglíng) มีคำเรียกอื่น ๆ ว่า อู่หวางเฝิน (จีน: 吳王墳; พินอิน: Wú Wáng Fén), ซุนหลิงก่าง (จีน: 孫陵崗; พินอิน: Sūnlínggǎng) และสุสานซุนกวน (จีน: 孫權墓; พินอิน: Sūn Quán Mù) เป็นสุสานของซุนกวนจักรพรรดิผู้ก่อตั้งรัฐง่อก๊กในยุคสามก๊กของจีน ตั้งอยู่ที่เขาเหมย์ฮฺวา (梅花山 เหมย์ฮฺวาชาน; เดิมชื่อซุนหลิงก่าง) บริเวณเชิงเขาด้านใต้ของเขาจื่อจิน (紫金山 จื่อจินชาน) ในเขตชานเมืองด้านตะวันออกของนครหนานจิง และหันหน้าไปทางสุสานหลวงหมิงเซี่ยว เป็นสุสานหลวงที่เก่าแก่ที่สุดในกลุ่มสุสานหลวง 6 ราชวงศ์ในนครหนานจิง

สุสานเตียวเหลง
ประติมากรรมรูปซุนกวนที่เชิงเขาเหมย์ฮฺวา

ข้อมูลสุสาน แก้

 
หออนุสรณ์ซุนกวน

สุสานเตียวเหลงตั้งอยู่ที่เขาเหมย์ฮฺวา บริเวณใกล้เคียงกับสุสานหลวงหมิงเซี่ยว วัตถุที่หลงเหลือในบริเวณสุสานได้แก่แผ่นศิลาแผ่นหนึ่ง สะพานศิลาแห่งหนึ่ง แผ่นป้ายจารึกแผ่นหนึ่ง และประติมากรรมศิลาอันหนึ่ง

จดหมายเหตุสามก๊กบันทึกว่า "ฤดูร้อนเดือนสี่ [ซุน]กวนสิ้นชีพ อายุได้เจ็ดสิบเอ็ดปี ได้รับสมัญญานามว่าไต้ฮ่องเต้ (大皇帝 ต้าหฺวางตี้) ฤดูใบไม้ร่วงเดือนเจ็ด ฝังศพที่สุสานเตียวเหลง"[2]

สุสานเตียวเหลงยังเป็นที่ฝังพระศพของพระมเหสีพัวฮูหยินและพระสนมปู้ฟูเหริน (步夫人) ซุนเต๋งพระโอรสผู้เป็นรัชทายาทของซุนกวนที่สิ้นพระชนม์ก่อนเวลาอันควรก็ได้รับการฝังพระศพในบริเวณใกล้เคียงด้วยเช่นกัน

ในปี ค.ศ. 1957 สุสานซุนกวนได้รับการประกาศให้เป็นโบราณสถานที่ได้รับการคุ้มครองในมณฑลเจียงซู ในปี ค.ศ. 1982 ถูกเพิกถอนจากการเป็นโบราณสถานที่ได้รับการคุ้มครองเนื่องจากได้รับการเสียหายอย่างหนัก ในปีเดียวกันนั้นสุสานซุนกวนได้รับการประกาศอีกครั้งให้เป็นโบราณสถานที่ได้รับการคุ้มครองในนครหนานจิง[3][4] ขอบเขตการคุ้มครองคือ "ครอบคลุมเขาเหมย์ชาน โดยใช้ถนนที่ล้อมรอบในปัจจุบันเป็นขอบเขต"[5] นักวิชาการและผู้เชียวชาญมีความเห็นว่าชื่อ "สุสานซุนกวน" ไม่เป็นมาตรฐาน ดังนั้นในเดือนกันยายน พ.ศ. 2566 สำนักงานวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวนครหนานจิงจึงเสนอต่อที่ว่าการนครหนานจิงให้เปลี่ยนชื่อเป็น "อู๋ต้าตี้ซุนเฉฺวียนเจี่ยงหลิง" (吳大帝孫權蔣陵) แปลว่า "สุสานเตียวเหลงในจักรพรรดิไต้ฮ่องเต้แห่งง่อก๊กซุนกวน"[6][7]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. ("จูกัดเจ๊กกับขุนนางผู้ใหญ่ผู้น้อยทั้งปวงก็ให้ซุนเหลียงเสวยราชย์แทนพระบิดา พระเจ้าซุนเหลียงก็ให้แต่งการเชิญศพไปฝังที่ตำบลเตียวเหลงตามประเพณี แล้วให้จารึกอักษรว่าที่ฝังศพพระเจ้าไต้ฮ่องเต้") "สามก๊ก ตอนที่ ๘๐". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ May 20, 2024.
  2. (夏四月,權薨,時年七十一,謚曰大皇帝。秋七月,葬蔣陵。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 47.
  3. 南京市地方志编纂委员会 (1997). 南京文物志. 北京: 方志出版社. p. 666. ISBN 7-80122-222-9.
  4. 苏州历史文化研究会编; 王国平,李峰主编 (2020). 苏州历史与江南文化. 苏州: 苏州大学出版社. p. 280. ISBN 978-7-5672-3449-9.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  5. "市政府办公厅关于公布南京市第一第二批和第四批市级文物保护单位保护范围及建设控制地带的通知(宁政办发〔2018〕94号)" (PDF). 南京市人民政府. 2018-12-24.
  6. "建议恢复"孙权墓"文保碑原字体". 人民网领导留言板. 2023-12-25. สืบค้นเมื่อ 2024-04-12.
  7. "市政府关于公布第五批市级文物保护单位的通知". 南京市人民政府. 2023-09-14. สืบค้นเมื่อ 2024-04-12.