สุวิช จันทประดิษฐ์

พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก สุวิช จันทประดิษฐ์ อดีตปลัดกระทรวงกลาโหม[1] ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ พ.ศ. 2535 – พ.ศ. 2537 เดิมเคยรับราชการในกองทัพอากาศ เป็นผู้ช่วยทูตทหารอากาศไทยประจำกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย และ เคยเป็นผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรืออากาศ เคยเป็นอดีตราชองครักษ์พิเศษ[2] ต่อมา เป็นผู้บัญชาการสถาบันวิชาทหารอากาศชั้นสูง

พลอากาศเอก
สุวิช จันทประดิษฐ์
ปลัดกระทรวงกลาโหม
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2535 – 30 กันยายน พ.ศ. 2537
ก่อนหน้าพลเอก วันชัย เรืองตระกูล
ถัดไปพลเอก ประเสริฐ สารฤทธิ์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด24 มิถุนายน พ.ศ. 2477 (89 ปี)
จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม
คู่สมรสเพ็ญพรรณ จันทประดิษฐ์

ประวัติ แก้

พลอากาศเอก สุวิช จันทประดิษฐ์ เกิดที่ จังหวัดพระนคร เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2477 เป็นบุตรของนายไพโรจน์ กับนางผ่องศรี เริ่มเรียนหนังสือที่โรงเรียนลำเนาพิทยาคม ต่อมาได้เข้าเรียนที่โรงเรียนประจำจังหวัดปราจีนบุรี จนจบ ม.2 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 บิดาได้ส่งมาเรียนหนังสือที่กรุงเทพฯ ที่โรงเรียนอัสสัมชัญบางรัก จนกระทั่งจบ ม.8 สายวิทยาศาสตร์ ต่อมา พ.ศ. 2496 กองทัพอากาศได้เปิดโรงเรียนนายเรืออากาศเป็นปีแรก สุวิชสอบได้ลำดับที่ 3 จึงได้รับหมายเลขประจำตัว 3 ในระหว่างเป็นนักเรียนนายเรืออากาศ ได้เล่นรักบี้ให้กับโรงเรียนอยู่ 2-3 ปี เมื่อขึ้น ปี 5 ได้ไปเป็นศิษย์การบินอยู่ที่โรงเรียนการบินจังหวัดนครราชสีมา 1 ปี จนจบเป็นนายทหารสัญญาบัตรเมื่อ 1 มกราคม พ.ศ. 2501

สุวิช สมรสเมื่อ 9 มีนาคม พ.ศ. 2506 ภริยาชื่อ เพ็ญพรรณ จันทประดิษฐ์ มีบุตรทั้งหมด 4 คน ชาย 3 หญิง 1 ทิฆัมพร จันทประดิษฐ์ เจน จันทประดิษฐ์ พอใจ จันทประดิษฐ์ และวิศรุต จันทประดิษฐ์

การทำงาน แก้

พล.อ.อ.สุวิช รับราชการในกองทัพอากาศ มีโอกาสไปต่างประเทศหลายครั้งและไปเรียนหลักสูตรครูการบินเครื่องวัด ประกอบการบิน ที่สหรัฐอเมริกาเป็นเวลา 7 เดือน (พ.ศ. 2508-09) อยู่หน่วยการบินลำเลียงของสหประชาชาติ ในกรณีสงครามเกาหลี หน่วยอยู่ที่ ตาชิกาวา ญี่ปุ่น และเคยไปราชการสงคราม 2 ครั้ง พ.ศ. 2512 เป็นทหารรับจ้าง ทำการบินรบอยู่ในประเทศลาว 1 ปี กรณีสงครามเวียดนาม

สุวิช ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยทูตทหารอากาศ ณ กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ในระหว่างปี พ.ศ. 2524 ถึงปี พ.ศ. 2527 ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรืออากาศ และเป็นผู้บัญชาการสถาบันวิชาทหารอากาศชั้นสูง จากนั้นก็ได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นผู้ช่วยบัญชาการทหารอากาศ เป็นรองปลัดกระทรวงกลาโหม ในปี พ.ศ. 2532 และเป็นปลัดกระทรวงกลาโหม ในปี พ.ศ. 2535

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ
  2. ราชองครักษ์พิเศษ
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๒๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๒
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๒๐๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๑
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๕๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๓ พฤษภาคม ๒๕๓๖
  6. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๘๓ ตอนที่ ๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๓, ๑๔ มกราคม ๒๕๐๙
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๔ ตอนที่ ๙๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑๖, ๒๑ ตุลาคม ๒๕๒๐
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๘๙ ตอนที่ ๕๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๖, ๒๙ มีนาคม ๒๕๑๕
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๘๖ ตอนที่ ๑๑๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๘๖๙, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๒
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๑๗๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๗ กันยายน ๒๕๓๐