สุมินทร์ อุปโยคิน

สุมินทร์ อุปโยคิน เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่[1] และเป็นนักธุรกิจสัมปทานป่าไม้ในจังหวัดเชียงใหม่[2]

สุมินทร์ อุปโยคิน
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่
ดำรงตำแหน่ง
5 สิงหาคม พ.ศ. 2489 – 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2490
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดราว พ.ศ. 2453
เสียชีวิต18 กรกฎาคม พ.ศ. 2490 (อายุ 37 ปี)
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสกาญจนา อุปโยคิน

ประวัติ แก้

สุมินทร์ อุปโยคิน เกิดราวปี พ.ศ. 2453 ในครอบครัว "อุปะโยคิน" ซึ่งมีต้นตระกูลคือ รองอำมาตย์เอกหลวงโยนะการพิจิตร(ปันโหย่ อุปะโยคิน หรือพญาตะก่าพ่อค้าไม้ชาวพม่า) ท่านเป็น กรมการพิเศษในกองข้าหลวงเทศาภิบาล มณฑลพายัพ คนทั่วไปเรียกท่านว่า หลวงโยฯ แต่ราชการไทยเรียกท่านว่ามองปันโย[3][4] ท่านเป็นพ่อค้าไม้ชาวพม่าที่ช่วยเจ้าหลวงสร้างสิ่งที่เป็นสาธารณะประโยชน์และบูรณะวัดมากมาย[5][6] จากการประกอบคุณความดีสร้างสิ่งที่เป็นสาธารณสมบัติ อย่างต่อเนื่องและการช่วยเหลือทางราชการครั้งปราบกบฏเงี้ยว ที่เมืองแพร่ ส่งผลให้หม่องปันโยเป็นคนเชื้อสายพม่าคนแรก ที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระมหากษัตริย์ไทย สามรัชกาลคือ รัชกาลที่ 5 ทรงแต่งตั้งให้เป็นหลวงโยนะการพิจิตรและพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์[7] รัชกาลที่ 6 พระราชทานนามสกุล[7] และรัชกาลที่ 7 พระราชทาน หีบเพลิงเมื่อถึงแก่กรรม[7] นอกจากนั้นยังได้รับความไว้วางใจจากเจ้าหลวงและเจ้านายฝ่ายเหนือ ให้ทำป่าไม้ในพื้นที่ป่าหลายแห่ง ท่านเป็นผู้นำคนในบังคับอังกฤษในเชียงใหม่[3] [4][5][6]  บ้านเดิมของท่านคือบ้านไม้สักในโรงแรมเพชรงามเชียงใหม่ ปัจจุบันคือ โรงแรมเพชรงาม ถนนเจริญประเทศ[2]

สุมินทร์ อุปโยคิน เป็นบุตรของนายอูบะส่วย อุปโยคิน (บุตรชายหลวงโยนการพิจิตร) กับนางบัวจี๋ อุปโยคิน นายสุมินทร์ เรียนหนังสือที่โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย และต่อมาเข้าไปเรียนต่อที่ธรรมศาสตรบัณฑิตที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[8] แล้วจึงกลับมาเชียงใหม่เพื่อทำสัมปทานป่าไม้ จนกระทั่งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป สิงหาคม พ.ศ. 2489 ซึ่งเป็นการเลือกตั้งเพิ่มเติมในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 4 นายสุมินทร์ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.เชียงใหม่ สมัยแรก[2]

แต่เมื่อทำงานได้ไม่นาน สุมินทร์ อุปโยคิน ก็เสียชีวิตเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2490 ด้วยโรคมะเร็ง ในขณะดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ รวมอายุได้ 37 ปี[2][9]

สุมินทร์ สมรสกับนางกาญจนา อุปโยคิน มีบุตร 6 คน[2]

อ้างอิง แก้

  1. พัฒนาการกลุ่มทุนการเมืองในภาคเหนือของประเทศไทย: การเปลี่ยนทุนเศรษฐกิจ และวัฒนธรรมให้เป็นทุนการเมือง
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 นักการเมืองถิ่นจังหวัดเชียงใหม่
  3. 3.0 3.1 "หลวงโยนะการพิจิตร..พ่อค้าไม้ชาวพม่าผู้อุปถัมภ์พระเจดีย์ สร้างพระ และอุปถัมภ์วัด..(ตามรอย 1) - GotoKnow". www.gotoknow.org.
  4. 4.0 4.1 "หลวงโยนะการพิจิตร..พ่อค้าไม้ชาวพม่าผู้อุปถัมภ์พระเจดีย์ สร้างพระและอุปถัมภ์วัด(ตามรอย12..พระมหากรุณาธิคุณ) - GotoKnow". www.gotoknow.org.
  5. 5.0 5.1 "หลวงโยนะการพิจิตร..พ่อค้าไม้ชาวพม่าผู้อุปถัมป์พระเจดีย์ สร้างพระ และอุปถัมภ์วัด(ตามรอย 4 ...วัดสำคัญ) - GotoKnow". www.gotoknow.org.
  6. 6.0 6.1 "หลวงโยนะการพิจิตร..พ่อค้าไม้ชาวพม่าผู้อุปถัมภ์พระเจดีย์ สร้างพระและอุปถัมภ์วัด(ตามรอย11..ในราชกิจจานุเบกษา) - GotoKnow". www.gotoknow.org.
  7. 7.0 7.1 7.2 "หลวงโยนะการพิจิตร..พ่อค้าไม้ชาวพม่าผู้อุปถัมภ์พระเจดีย์ สร้างพระและอุปถัมภ์วัด(ตามรอย12..พระมหากรุณาธิคุณ) - GotoKnow". www.gotoknow.org.
  8. ศราวุฒิ วิสาพรม. ราษฎรสามัญหลังวันปฏิวัติ ๒๔๗๕.
  9. รายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 21/วันที่ 28 กรกฎาคม 2490