สุทธวรรณ สุบรรณ ณ อยุธยา

สุทธวรรณ สุบรรณ ณ อยุธยา ท.ช. (ชื่อเล่น: มิ้นท์) เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครปฐม 1 สมัย[1] สังกัดพรรคก้าวไกล เป็นอดีตโฆษกพรรคก้าวไกล (14 มีนาคม 2563 - 29 เมษายน 2565)[2] และอดีตรองโฆษกพรรคก้าวไกล (30 เมษายน 2565 - 23 กันยายน 2566) เมื่อครั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เคยดำรงตำแหน่งโฆษกคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน สภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 25 และตำแหน่งรองประธานคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 25[3]

สุทธวรรณ สุบรรณ ณ อยุธยา
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
จังหวัดนครปฐม เขต 3
ดำรงตำแหน่ง
24 มีนาคม พ.ศ. 2562 – 20 มีนาคม พ.ศ. 2566
(3 ปี 361 วัน)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด20 กันยายน พ.ศ. 2531 (35 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
พรรคการเมืองอนาคตใหม่ (พ.ศ. 2561-2563)
ก้าวไกล (พ.ศ. 2563-ปัจจุบัน)
ศิษย์เก่าโรงเรียนราชินีบน
มหาวิทยาลัยมหิดล
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ประวัติ แก้

สุทธวรรณ สุบรรณ ณ อยุธยา เกิดเมื่อวันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2531 เป็นบุตรสาวคนเดียวของพันตำรวจเอก นรภัทร สุบรรณ ณ อยุธยา อดีตรองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดอุบลราชธานี และศาสตราจารย์ พลตำรวจโทหญิง ดร.นัยนา เกิดวิชัย อดีตคณบดีคณะตำรวจศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ

ชื่อ "สุทธวรรณ" แปลว่า วรรณะอันบริสุทธิ์ เป็นชื่อพระราชทานจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งพระราชทานไว้เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2531

การศึกษา แก้

ประกาศนียบัตร แก้

  • หลักสูตรประกาศนียบัตร ผู้นำยุคใหม่ในระบอบประชาธิปไตย รุ่นที่ 9 (ปนป.9) สถาบันพระปกเกล้า
  • หลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูง การเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยสำหรับนักบริหารระดับสูง รุ่นที่ 24 (ปปร.24) สถาบันพระปกเกล้า

วุฒิบัตร แก้

  • หลักสูตรกลยุทธ์การบริหารธุรกิจอสังหาริมทรัพย์สำหรับคนรุ่นใหม่ รุ่นที่ 11 (RE-CU Junior 11) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • หลักสูตรนักบริหารยุคใหม่เพื่องานพิทักษ์สันติราษฎร์ รุ่นที่ 4 (บพส.4) โรงเรียนนายร้อยตำรวจ

การทำงาน แก้

สุทธวรรณ เป็นอดีตที่ปรึกษาระบบ SAP ในบริษัท ไอแอมคอนซัลติ้ง จำกัด เป็นอดีตนักวิเคราะห์ระบบคอมพิวเตอร์ ของศูนย์การจัดการทรัพยากรของมหาวิทยาลัย (ศจท.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นอดีตกรรมการบริหาร บริษัท จีราฟ มิวสิค จำกัด ซึ่งเปิดกิจการสอนดนตรี โดยใช้ชื่อว่า สถาบันดนตรีจีราฟ[4]

งานการเมือง แก้

สุทธวรรณ เริ่มเข้าสู่เส้นทางการเมือง โดยการลงสมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครปฐม เขต 3 สังกัดพรรคอนาคตใหม่ ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2562 โดยได้รับคะแนนเสียง 40,661 คะแนน ชนะนายพรศักดิ์ เปี่ยมคล้า อดีต ส.ส. 2 สมัย จากพรรคพลังประชารัฐ ซึ่งได้คะแนน 23,441 คะแนน และชนะนายก่อเกียรติ สิริยะเสถียร อดีต ส.ส. 3 สมัย แชมป์เก่าจากพรรคชาติไทยพัฒนา ซึ่งได้คะแนน 12,258 คะแนน [5]

ต่อมาเมื่อพรรคอนาคตใหม่ถูกยุบ เธอจึงย้ายมาสังกัดพรรคก้าวไกล พร้อมกับสมาชิกเดิม และเป็นโฆษกพรรคก้าวไกล ร่วมกับวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ณัฐชา บุญไชยอินสวัสด์ และธัญญ์วาริน สุขะพิศิษฐ์ ตั้งแต่วันที่ 13 มีนาคม 2563 ถึง 29 เมษายน 2565[6] หลังจากนั้นมีการปรับโครงสร้างทีมโฆษก จากเดิมที่มีโฆษก 4 คน ได้เปลี่ยนให้รังสิมันต์ โรม เป็นโฆษกเพียงคนเดียว และมีสุทธวรรณกับกรุณพล เทียนสุวรรณ เป็นรองโฆษก

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2566 สุทธวรรณแจ้งว่า ประสงค์ไม่ลงสมัครรับเลือกตั้งสภาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยจะพักการลงเลือกตั้ง 1 สมัย เนื่องจากตั้งครรภ์และอยากใช้เวลาดูแลบุตรสาวให้เต็มที่ พร้อมทั้งต้องการศึกษาปริญญาเอกที่ยังค้างอยู่ให้สำเร็จ แต่ยังคงทำงานร่วมกับพรรคก้าวไกลเช่นเดิมในบทบาทอื่น ๆ[7]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แก้

สุทธวรรณ สุบรรณ ณ อยุธยา ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 1 สมัย คือ

1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดนครปฐม สังกัดพรรคอนาคตใหม่พรรคก้าวไกล

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

ลำดับสาแหรก แก้

อ้างอิง แก้

  1. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง
  2. ไม่ผิดคาด “ทิม พิธา” นั่งหัวหน้าพรรคก้าวไกล พร้อมเปิดตัวโลโก้ใหม่
  3. รายนาม คณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม
  4. ประวัติส่วนตัว สุทธวรรณ สุบรรณ ณ อยุธยา
  5. "นครปฐม - รายงานผลการเลือกตั้ง 62 : PPTVHD36". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-20. สืบค้นเมื่อ 2020-03-22.
  6. "'พิธา ลิ้มเจริญรัตน์' นั่งหัวหน้า 'พรรคก้าวไกล' ยืนยันไม่ใช่พรรคชั่วคราว". prachatai.com.
  7. matichon (2023-02-03). "ส.ส.สุทธวรรณ แจงปม ไม่ลงสมัคร รักษาเก้าอี้นครปฐม ยันไม่คิดย้ายออกก้าวไกล". มติชนออนไลน์.
  8. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๕, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๖, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๑๓, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔

แหล่งข้อมูลอื่น แก้