สายตาสั้น (อังกฤษ: myopia, near-sightedness, short-sightedness) เป็นภาวะของตาซึ่งแสงที่เข้ามาไม่ตกบนจอตาโดยตรง แต่ตกหน้ากว่า[1][2] ทำให้ภาพที่บุคคลเห็นเมื่อมองวัตถุไกลอยู่นอกจุดรวม แต่ในจุดรวมเมื่อมองวัตถุใกล้[1] ภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องได้แก่ปวดหัวและตาล้า[1] อาการสายตาสั้นมักมีส่วนเกี่ยวข้องกับคววามเสี่ยงต่อจอตาหลุดลอก, โรคต้อกระจก และโรคต้อหินมากขึ้น[2]

สายตาสั้น
ชื่ออื่นshort-sightedness, near-sightedness
ภาพแสดงการเปลี่ยนแปลงในดวงตาที่มีอาการสายตาสั้น
สาขาวิชาจักษุวิทยา, ทัศนมาตรศาสตร์
อาการวัตถุที่อยู่ไกลจะมัว วัตถุที่อยู่ใกล้ดูปกติ, ปวดกัว, ตาล้า[1]
ภาวะแทรกซ้อนจอตาหลุดลอก, โรคต้อกระจก, โรคต้อหิน[2]
สาเหตุผสมระหว่างปัจจัยทางพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม[2]
ปัจจัยเสี่ยงทำงานแบบใกล้, ใช้เวลาข้างในมากกว่า, ประวัติครอบครัว[2][3]
วิธีวินิจฉัยการตรวจตา[1]
การป้องกันไม่ทราบ
การรักษาแว่นตา, เลนส์สัมผัส, ผ่าตัด[1]
ความชุก1.5 พันล้านคน (22%)[2][4]

วิชาชีพการดูแลตาแก้ไขสายตาสั้นด้วยการใช้เลนส์บำบัดมากที่สุด เช่น แว่นตาหรือเลนส์สัมผัส นอกจากนี้ ยังอาจแก้ไขได้โดยศัลยกรรมหักเหแสง แม้มีกรณีผลข้างเคียงที่สัมพันธ์ เลนส์บำบัดมีกำลังสายตาเป็นลบ (คือ มีผลเว้าสุทธิ) ซึ่งชดเชยไดออพเตอร์ (diopter) บวกเกินของตาที่สั้น โดยทั่วไปไดออพเตอร์ลบใช้อธิบายความรุนแรงของสายตาสั้น และเป็นค่าของเลนส์เพื่อแก้ไขตา สายตาสั้นขั้นสูงหรือสายตาสั้นรุนแรงนิยามโดย -6 ไดออพเตอร์หรือเลวกว่านั้น[5]

อาการสายตาสั้นเป็นอาการที่พบได้มากที่สุดและประมาณการว่าส่งผลกระทบถึง 1.5 พันล้านคน (22% ของประชากรทั่วโลก)[2][4] โดยมีอัตราในแต่ละประเทศแตกต่างกัน[2] อัตราในวัยผู้ใหญ่อยู่ที่ร้อยละ 15 ถึง 49[3][6]

ตรงข้ามกับสายตาสั้น คือ สายตายาว

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 "Facts About Refractive Errors". NEI. October 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 July 2016. สืบค้นเมื่อ 30 July 2016.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 2.7 Foster PJ, Jiang Y (February 2014). "Epidemiology of myopia". Eye. 28 (2): 202–8. doi:10.1038/eye.2013.280. PMC 3930282. PMID 24406412.
  3. 3.0 3.1 Pan CW, Ramamurthy D, Saw SM (January 2012). "Worldwide prevalence and risk factors for myopia". Ophthalmic & Physiological Optics. 32 (1): 3–16. doi:10.1111/j.1475-1313.2011.00884.x. PMID 22150586. S2CID 32397628.
  4. 4.0 4.1 Holden B, Sankaridurg P, Smith E, Aller T, Jong M, He M (February 2014). "Myopia, an underrated global challenge to vision: where the current data takes us on myopia control". Eye. 28 (2): 142–6. doi:10.1038/eye.2013.256. PMC 3930268. PMID 24357836.
  5. Etiopathogenesis and management of high-degree myopia. Part I
  6. Pan CW, Dirani M, Cheng CY, Wong TY, Saw SM (March 2015). "The age-specific prevalence of myopia in Asia: a meta-analysis". Optometry and Vision Science. 92 (3): 258–66. doi:10.1097/opx.0000000000000516. PMID 25611765. S2CID 42359341.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก