สามเวท (สันสกฤต: सामवेद, sāmaveda, จากคำว่า สามานฺ "บทเพลง" + เวท "ความรู้"), เป็นคัมภีร์พระเวทอันดับที่สอง (ตามลำดับที่ถือโดยทั่วไป) ในบรรดาพระเวททั้งสี่ นับเป็นคัมภีร์ฮินดูที่สำคัญและเก่าแก่มาก เนื้อหาส่วนที่เก่าแก่ที่สุด มีอายุราว 1,000 ปีก่อนคริสตกาล โดยมีความสำคัญและความเก่าแก่รองจากคัมภีร์ฤคเวท เนื้อหาประกอบด้วยรวมบทสวด (สังหิตา) และร้อยกรองอื่น ๆ โดยนำมาจากฤคเวท (ยกเว้น 75 บท)[1] เพื่อใช้เป็นบทร้องสวดเป็นทำนองตามพิธีกรรม เรียกว่า "สามคาน" สวดโดยนักบวชที่เรียกว่า "อุทคาตา" ขณะทำพิธีคั้น กรอง และผสมน้ำโสม เพื่อถวายเทพเจ้า

สามเวท เป็นคัมภีร์ของฮินดูในภาษาพระเวทสันสกฤต เอกสารที่เขียนขึ้นของคัมภีร์สามเวท เขียนในอักษรที่ใช้ในอินเดียหลายแบบ ด้านบน: อักษรเทวนาครี ด้านล่าง: อักษรครันถะ

อ้างอิง แก้

  1. Michael Witzel (1997). "The Development of the Vedic Canon and its Schools : The Social and Political Milieu". Inside the Texts, Beyond the Texts: New Approaches to the Study of the Vedas (PDF). Harvard University Press. pp. 269–270. ISBN 9781888789034.