สาบเสือ
ใบของต้นสาบเสือ
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: พืช (Plantae)
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Asterids
อันดับ: Asterales
วงศ์: Asteraceae
สกุล: Chromolaena
สปีชีส์: C.  odorata
ชื่อทวินาม
Chromolaena odorata
(L.) R.M. King & H. Rob
ชื่อพ้อง
  • Chrysocoma maculata Vell.
  • Chrysocoma maculata Vell. Conc.
  • Chrysocoma volubilis Vell. Conc.
  • Eupatorium brachiatum Sw. ex Wikstr.
  • Eupatorium clematitis DC.
  • Eupatorium conyzoides Mill.
  • Eupatorium dichotomum Sch.Bip.
  • Eupatorium divergens Less.
  • Eupatorium floribundum Kunth
  • Eupatorium graciliflorum DC.
  • Eupatorium klattii Millsp.
  • Eupatorium odoratum L.
  • Eupatorium sabeanum Buckley
  • Eupatorium stigmatosum Meyen & Walp.
  • Osmia atriplicifolia (Vahl) Sch.Bip.
  • Osmia clematitis (DC.) Sch.Bip.
  • Osmia divergens (Less.) Sch.Bip.
  • Osmia floribunda (Kunth) Sch.Bip.
  • Osmia graciliflora (DC.) Sch.Bip.
  • Osmia graciliflorum (DC.) Sch.Bip.
  • Osmia odorata (L.) Sch.Bip.

สาบเสือ เป็นสมุนไพรอย่างหนึ่งที่หาง่ายมากมีอยู่ทั่วไป เป็นวัชพืชที่มีสรรพคุณทางยาที่ใช้ประโยชน์ได้ดี สาบเสือเป็นดรรชนีชี้วัดอุณหภูมิความแห้งแล้งของอากาศ เพราะหากอากาศไม่แล้งต้นสาบเสือก็จะไม่ออกดอก สาเหตุที่ได้ชื่อว่า สาบเสือ เพราะว่าดอกมีกลิ่นสาบ ไม่มีกลิ่นหอมเหมือนดอกไม้ทั่วไป มนุษย์โบราณเวลาหนีสัตว์ร้ายอื่นเข้าดงสาบเสือจะปลอดภัย เพราะสัตว์อื่นนั้นจะไม่ได้กลิ่นมนุษย์[1]

ชื่ออื่นๆ แก้

ชื่อสามัญตามท้องถิ่นอาจมีชื่อเรียกต่างกัน เช่น ช้าผักคราด, ไช้ปู่กอ ชิโพกวย - เส้โพกวย - เซโพกวย - เพาะจีแค (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), บ่อโส่, บ้านร้าง, เบญจมาศผักคราด, ผักคราดบ้านร้าง - ผักคราดบ้านฮ้าง (ราชบุรี), ฝรั่งรุกที่, ฝรั่งเหาะ, พาทั้ง, มนทน (เพชรบูรณ์), มุ้งกระต่าย, ยี่สุ่นเถื่อน (สุราษฎร์), รำเคย (ระนอง), หญ้าค่าพั้ง, หญ้าดงร้าง, หญ้าดอกขาว - หญ้าพระศิริไอยสวรรค์, หญ้าฝรั่งเศส, หญ้าเมืองวาย​ หญ้าแมงวาย - หญ้าเมืองงาย, หญ้าเมืองฮ้าง - หญ้าเลาฮ้าง, หญ้าลืมเมือง, หญ้าเหม็น, นองสังเปรง[2] - หนองเส้นเปรง, หมาหลง, หญ้าเสือหมอบ, หญ้าครกขาว, อีเทิน[3][4]

ถิ่นกำเนิด แก้

สาบเสือ เป็นวัชพืชที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในอเมริกากลาง มีเขตแพร่กระจายตั้งแต่ทางตอนใต้ของฟลอริดาจนถึงพื้นที่ตอนเหนือของอาร์เจนตินา ระบาดไปทั่วเขตร้อนของโลกทุกทวีป ยกเว้นการระบาดเข้าไปในทวีปออสเตรเลียซึ่งเพิ่งจะพบเพียงเล็กน้อยในช่วงเวลาภายใน 10 ปีที่ผ่านมา[5]

ลักษณะของพืช แก้

สาบเสือ เป็นไม้ล้มลุก แตกกิ่งก้านสาขามากมายจนดูเป็นทรงพุ่ม[6] ลำต้นและกิ่งก้านปกคลุม ด้วยขนอ่อนนุ่ม ก้านและใบเมื่อขยี้จะมีกลิ่นแรงคล้ายสาบเสือ มีลำต้น สูง 1-2 เมตร ใบเดี่ยวออกจากลำต้น ที่ข้อ แบบตรงกันข้าม รูปรีค่อนข้างเป็นสามเหลี่ยมขอบใบ หยัก ปลายใบแหลม ฐานใบกว้าง เรียวสอบเข้าหากัน สีเขียวอ่อน เส้นใบเห็นชัดเจน 3 เส้น มีขนปกคลุม ผิวใบทั้งสองด้าน ดอกเป็นช่อ สีขาวหรือฟ้าอมม่วง ดอกย่อย 10-35 ดอก ดอกวงนอกบานก่อน กลีบดอก หลอมรวมกันเป็นหลอด ผลขนาดเล็ก รูปร่างเป็น ห้า เหลี่ยมสีน้ำตาลหรือดำ มีหนามแข็งบนเส้นของผล ส่วน ปลายผลมีขนสีขาว ช่วยพยุงให้ผลและเมล็ดปลิวตามลม

สรรพคุณ แก้

สาบเสือมีสรรพคุณทางยามากมายทั้งจากต้น ใบ ดอก ซึ่งสามารถจำแนกได้ดังนี้

ต้น แก้

เป็นยาแก้ ปวดท้อง ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ แก้บวม ดูดหนอง[7]

ใบ แก้

ใบของสาบเสือมีสารสำคัญคือ กรดอะนิสิก และฟลาโวนอยด์หลายชนิด เช่น ไอโซซากูรานิติน และโอโดราติน นอกจากนี้ยังมีสารพวกน้ำมันหอมระเหย ซึ่งประกอบไปด้วยสารยูพาทอล คูมาริน โดยสารสำคัญเหล่านี้จะไปออกฤทธิ์ที่ผนังเส้นเลือดทำให้เส้นเลือดหดตัว และนอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ไปกระตุ้นสารที่ทำให้เลือดแข็งตัวได้เร็วขึ้น ทำให้สามารถห้ามเลือดได้[8] ใช้เป็นยารักษาแผลสด สมานแผล ถอนพิษแก้อักเสบ แก้พิษน้ำเหลือง แก้ตาฟาง แก้ตาแฉะ แก้ริดสีดวงทวารหนัก รักษาแผลเปื่อย และแผลจากปลิงดูดเลือดได้[9][10] ชาวโอรังอัซลีในรัฐเปรัก ประเทศมาเลเซียใช้ยาต้มที่ใส่ใบใช้เป็นยาขับปัสสาวะ[11]

ใบสาบเสือ ยังมีฤทธิ์ในการกำจัดปลวก ไล่แมลง[12][13]

ดอก แก้

 
ดอกของสาบเสือ

เป็นยาแก้ร้อนใน กระหายน้ำ ชูกำลัง แก้อ่อนเพลีย บำรุงหัวใจ แก้ไข้

ทั้งต้น แก้

เป็นยาแก้บาดทะยัก และซอยที่แผล

การแพร่กระจาย แก้

ขึ้นทั่วไปทั้งในสภาพดินชื้นหรือ แห้ง แพร่กระจายในแหล่งปลูกพืชยืนต้นและที่รกร้าง ว่างเปล่า และตามที่มีแสงแดดมากๆ ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด[14]

 
เมล็ดสาบเสือแก่ สามารถลอยไปตามลมได้
 
เมล็ดสาบเสือ

ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน แก้

สาบเสือเป็นพืชต่างถิ่นรุกราน (Alien invasive species) ที่สร้างความเสียหายแก่ระบบนิเวศธรรมชาติ และเป็น 1 ใน 100 ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นรุกรานถิ่นที่อยู่อาศัยเดิมของโลก ตามคู่มือ Global Invasive Species Database (GISD) ที่จัดทำขึ้นโดย IUCN (International Union for Conservation of Nature) เนื่องจากสามารถขยายพันธุ์ได้ดีและเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่โล่ง โดยส่วนใหญ่จะขึ้นปกคลุมเป็นพื้นที่กว้างขวาง ทำให้พืชชนิดอื่นขึ้นได้ยาก รวมทั้งพืชเบิกนำ (Pioneer species) ซึ่งส่งผลทำให้ระบบนิเวศในพื้นที่เปลี่ยนแปลงไป และมีผลทำให้เกิดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ บริเวณพื้นที่ป่าที่ถูกบุกรุกพบได้ทั่วประเทศไทย ระบาดทั่วไปในพื้นที่ราบจนถึงพื้นที่สูงถึง 800 เมตรจากระดับน้ำทะเล[1] เก็บถาวร 2016-08-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน[2]

 
สาบเสือ (bitter bush, Siam weed, devil weed)

ดูเพิ่ม แก้

  • สาบแร้งสาบกา สาบเสือมีให้เห็นในรัฐชาน ประเทศพม่า มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า คาพัง มีสรรพคุณห้ามเลือด นำมาตำให้ช้ำแล้วนำไปประคบแผลสดหรือห้ามเลือดกำเดา เป็นสมุนไพรที่หาได้ง่ายในรัฐ

อ้างอิง แก้

  1. "สาบเสือ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-21. สืบค้นเมื่อ 2021-10-02.
  2. สาบเสือ. เทคโนโลยีชาวบ้าน, 31 พฤษภาคม 2562.
  3. "สาบเสือ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-02-05. สืบค้นเมื่อ 2008-04-18.
  4. Suphan. มหัศจรรย์ สาบเสือ เป็นทั้งวัชพืชและยา. เก็บถาวร 2021-10-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 27 มิถุนายน 2558.
  5. ชาติพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน[ลิงก์เสีย]
  6. "สมุนไพรป้องกันและกำจัดศัตรูพืช". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-21. สืบค้นเมื่อ 2021-10-02.
  7. สมุนไพรไม้เป็นยา : “สาบเสือ” สมุนไพรข้างทาง ห้ามเลือด สมานแผล แก้บาดทะยัก. MGR Online, 1 กันยายน 2557.
  8. "สาบเสือ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-27. สืบค้นเมื่อ 2021-10-02.
  9. การศึกษาวิจัย เรื่อง เปรียบเทียบความสามารถในการห้ามเลือดของใบสาบเสือและยาสูบ. 2 กุมภาพันธ์ 2556.
  10. เรื่องน่ารู้ : สาบเสือ เดลินิวส์, 23 มิถุนายน 2560.
  11. Samuel, A.J.S.J., Kalusalingam, A., Chellappan, D.K., Gopinath, R., Radhamani, S., Husain, H. A., Muruganandham, V., Promwichit, P. 2010. Ethnomedical survey of plants used by the orang asli in kampong bawong, Perak, West Malaysia. Joutnal of Ethnobiology and Ethnomedicine. 6:5
  12. ใช้สาบเสือป้องกันกำจัดศัตรูพืช ดีกว่าสารเคมีหลายด้าน เดลินิวส์, 24 กรกฎาคม 2560.
  13. ณฐพงศ์ เมธินธรังสรรค์, ดวงเดือน วัฏฏานุรักษ์. ผลของสารสกัดหยาบจากใบสาบเสือในการควบคุมแมลงวันผลไม้ Bactrocera dorsalis (Hendel) (Diptera: Tephritidae). คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์, วารสารวิจัยรำไพพรรณี ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2561
  14. "สาบเสือ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-25. สืบค้นเมื่อ 2008-04-18.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Chromolaena odorata ที่วิกิสปีชีส์