สาธารณรัฐประชาชนบัลแกเรีย

สาธารณรัฐประชาชนบัลแกเรีย (บัลแกเรีย: Народна република България Narodna republika Balgariya) เป็นชื่ออย่างเป็นทางการของ ประเทศบัลแกเรีย เมื่อยังเป็นสาธารณรัฐสังคมนิยม

สาธารณรัฐประชาชนบัลแกเรีย

Народна република България
พ.ศ. 2489พ.ศ. 2533
ตราแผ่นดิน (ค.ศ. 1971–1990)ของบัลแกเรีย
ตราแผ่นดิน (ค.ศ. 1971–1990)
เพลงชาติShumi Maritsa  (พ.ศ. 2489–2490)
Шуми Марица  (บัลแกเรีย)
Maritsa Rushes  (คำแปล)
Republiko nasha, zdravey[1]  (พ.ศ. 2490–2493)
Републико наша, здравей!  (บัลแกเรีย)
สาธารณรัฐของเรา จงเจริญ!  (คำแปล)
Balgariyo mila, zemya na geroi[2]  (พ.ศ. 2493–2507)
Българийо мила, земя на герои  (บัลแกเรีย)
มาตุภูมิที่รัก ดินแดนแห่งวีชน  (คำแปล)
Mila Rodino  (พ.ศ. 2507–2533)
Мила Родино  (บัลแกเรีย)
มาตุภูมิที่รัก  (คำแปล)
ตำแหน่งของสาธารณรัฐประชาชนบัลแกเรีย
ตำแหน่งของสาธารณรัฐประชาชนบัลแกเรีย
สถานะรัฐบริวารของสหภาพโซเวียต
เมืองหลวง โซเฟีย
42°41′N 23°19′E / 42.683°N 23.317°E / 42.683; 23.317
ภาษาทั่วไปภาษาบัลแกเรีย
การปกครองรัฐเดี่ยว สาธารณรัฐระบบรัฐสภา (1946–1947)
รัฐเดี่ยว สาธารณรัฐสังคมนิยม (1947–1950)
รัฐเดี่ยว ลัทธิมากซ์–เลนิน รัฐพรรคการเมืองเดียว สาธารณรัฐสังคมนิยม (1950–1989)
รัฐเดี่ยว ระบบรัฐสภา สาธารณรัฐรัฐธรรมนูญ (1989–1990)
เลขาธิการพรรค 
• 1948–1949
แกออร์กี ดีมีตรอฟ
• 1949–1954
Valko Chervenkov
• 1954–1989
ตอดอร์ ซีฟกอฟ
• 1989–1990
Petar Mladenov
ประธานาธิบดี 
• 1946–1947
(คนแรก)
Vasil Kolarov
• 1989–1990
(คนสุดท้าย)
Petar Mladenov
นายกรัฐมนตรี 
• 1946–1949
(คนแรก)
แกออร์กี ดีมีตรอฟ
• 1990
(คนสุดท้าย)
อังเดรย์ ลูคานอฟ
สภานิติบัญญัติสภาแห่งชาติบัลแกเรีย
ยุคประวัติศาสตร์สงครามเย็น
• ก่อตั้ง
15 กันยายน พ.ศ. 2489
• สิ้นสุด
พฤศจิกายน พ.ศ. 2533
พื้นที่
1946110,994 ตารางกิโลเมตร (42,855 ตารางไมล์)
1989110,994 ตารางกิโลเมตร (42,855 ตารางไมล์)
ประชากร
• 1946
7029349
• 1989
9009018
สกุลเงินเลฟ (BGN)
ก่อนหน้า
ถัดไป
ราชอาณาจักรบัลแกเรีย
สาธารณรัฐบัลแกเรีย

สาธารณรัฐประชาชนบัลแกเรียดำรงอยู่ตั้งแต่ ค.ศ. 1946 ถึง ค.ศ. 1990 และถูกปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์บัลแกเรีย ซึ่งต่อมาได้ปกครองร่วมกับพันธมิตรคือสหภาพเกษตรกรรมชาติบัลแกเรีย บัลแกเรียเป็นสมาชิกของคอมิคอน และกติกาสัญญาวอร์ซอ และเป็นพันธมิตรอย่างใกล้ชิดกับสหภาพโซเวียตในช่วงสงครามเย็น กลุ่มขบวนการต่อต้านได้โค่นล้มและปกครองราชอาณาจักรบัลแกเรียในช่วงรัฐประหารบัลแกเรีย ค.ศ. 1944 ซึ่งเป็นการสิ้นสุดการเป็นพันธมิตรกับฝ่ายอักษะและนำไปสู่สาธารณรัฐประชาชนใน ค.ศ. 1946

พรรคคอมมิวนิสต์บัลแกเรียจำลองนโยบายของตนหลังจากสหภาพโซเวียตเปลี่ยนประเทศในช่วงทศวรรษจากสังคมชาวนาเกษตรกรรมกลายเป็นสังคมแบบสังคมนิยมอุตสาหกรรม ในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1950 และหลังจากการอสัญกรรมของสตาลิน พวกหัวอนุรักษ์นิยมได้สูญเสียอิทธิพลและเป็นช่วงระยะเวลาของการเปิดเสรีทางสังคมและความมั่นคงภายใด้การปกครองของตอดอร์ ซีฟกอฟ หลังจากที่มีการสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานและการขนส่งขึ้นมาใหม่การผลิตใน ค.ศ. 1960 ทำให้กลายเป็นภาคเศรษฐกิจที่สำคัญและบัลแกเรียได้กลายเป็นผู้ส่งออกเครื่องใช้ในครัวเรือนรายใหญ่และต่อมาได้ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ทำให้บัลแกเรียได้รับฉายาว่า "ซิลิคอนแวลลีย์แห่งกลุ่มตะวันออก" ระดับการผลิตที่ค่อนข้างสูงของประเทศและคะแนนสูงในการจัดอันดับการพัฒนาทางสังคมทำให้เป็นแบบอย่างสำหรับนโยบายการบริหารของประเทศสังคมนิยมอื่น ๆ

ใน ค.ศ. 1989 หลังจากไม่กี่ปีของอิทธิพลเสรีนิยมการปฏิรูปการเมืองได้ริเริ่มขึ้น ตอดอร์ ซีฟกอฟผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคตั้งแต่ ค.ศ. 1954 ถูกปลดออกจากตำแหน่งในสภาคองเกรสของพรรคคอมมิวนิสต์บัลแกเรีย ใน ค.ศ. 1990 ภายใต้การนำของ แกออร์กี ปราวานอฟ พรรคคอมมิวนิสต์บัลแกเรียได้เปลี่ยนชื่อเป็นพรรคสังคมนิยมบัลแกเรีย (BSP) และได้นำแนวคิดทางการเมืองแบบกึ่งกลางซ้ายมาแทนที่ลัทธิมากซ์-เลนิน หลังจากชัยชนะของพรรคสังคมนิยมบัลแกเรียในการเลือกตั้งใน ค.ศ. 1990 ซึ่งเป็นครั้งแรกที่มีการเลือกตั้งหลายพรรคต่อเนื่องนับตั้งแต่ค.ศ. 1931 ชื่อของรัฐก็เปลี่ยนเป็นสาธารณรัฐบัลแกเรีย

อ้างอิง แก้

  1. "Republiko nasha, zdravey" (ภาษาอังกฤษ). nationalanthems.info. สืบค้นเมื่อ 2007-09-15.
  2. "Balgariyo mila, zemya na geroi" (ภาษาอังกฤษ). nationalanthems.info. สืบค้นเมื่อ 2007-09-15.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้