สาคร สุขศรีวงศ์

ศาสตราจารย์พิเศษ ดร. สาคร สุขศรีวงศ์ (Professor Sakorn Suksriwong, DBA) หรือ อาจารย์หมี เป็นอาจารย์พิเศษ ประจำคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[1] ด้านการจัดการและองค์กร

ศ. (พิเศษ) ดร.สาคร สุขศรีวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทเงินทุน กรุงเทพธนาทร จำกัด (มหาชน)

การศึกษา แก้

ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.สาคร สุขศรีวงศ์ จบการศึกษาจากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล สำเร็จการศึกษาปริญญาเอกบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต (DBA) จาก University of South Australia ประเทศ ออสเตรเลีย ปริญญาโทบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (MBA) สาขาการจัดการระหว่างประเทศ จาก The George Washington University ประเทศสหรัฐอเมริกา และปริญญาตรีบริหารธุรกิจบัณฑิต ภาควิชาการธนาคารและการเงิน จาก คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

นอกจากนี้ ศ.(พิเศษ)ดร.สาคร ยังได้ผ่านการอบรมผู้บริหารระดับสูงจากสถาบันชั้นนำทั้งในและต่างประเทศหลายแห่ง อาทิ หลักสูตร Advanced Management Program (AMP) จาก Harvard University ประเทศสหรัฐอเมริกา หลักสูตร Oxford Advanced Management and Leadership Program จาก Oxford University หลักสูตร NIDA-Wharton Executive Leadership Program จาก University of Pennsylvania ประเทศสหรัฐอเมริกา หลักสูตร Director Certificate Program สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย Certification Program in Business Law มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ประกาศนียบัตรหลักสูตรการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยสำหรับนักบริหารระดับสูง สถาบันพระปกเกล้า (ปปร.11) หลักสูตรผู้บริหารระดับสูง สถาบันวิทยาการตลาดทุน (วตท.12) และหลักสูตร "ภูมิพลังแผ่นดิน" รุ่น 1 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ตำแหน่งทางวิชาการ แก้

ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ศาสตราจารย์พิเศษ ในสาขาวิชาบริหารธุรกิจ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่วันที่ 29 ธันวาคม 2554 ประกาศ ณ วันที่ 20 มีนาคม 2555[2]

ประวัติการทำงาน แก้

ศ. (พิเศษ) ดร.สาคร สุขศรีวงศ์ เริ่มต้นชีวิตการทำงานเป็นอาจารย์ประจำคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่เมื่อภาระงานทางธุรกิจมากขึ้นจึงได้ผันตัวเองมาทำงานด้านธุรกิจเป็นหลักและงานด้านการสอนตลอดจนงานการกุศลอื่นเป็นงานรอง ก่อนหน้าที่จะดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) ที่บริษัทเงินทุน กรุงเทพธนาทร จำกัด (มหาชน) หรือ BFIT[3] นั้น ดร.สาคร สุขศรีวงศ์ ได้ดำรงตำแหน่งในระดับบริหารในบริษัทจำกัดกว่า 10 บริษัท ทั้งที่เป็นกรรมการผู้จัดการ, กรรมการ , กรรมการผู้อำนวยการ หรือแม้กระทั่งผู้บริหาร ส่วนที่เป็นงานการกุศลก็อีกประมาณ 2-3 แห่งด้วยกัน อาทิ กรรมการและผู้จัดการทั่วไป ร้านภูฟ้า (โครงการตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี) กรรมการมูลนิธิรามาธิบดี และผู้อำนวยการ สถาบันออกแบบนานาชาติชนาพัฒน์[4] นอกจากนั้นยังคงทำงานทางการศึกษามาอย่างต่อเนื่อง อาทิ เป็นอาจารย์พิเศษ ด้านการจัดการ ณ และ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งสอนมากว่า 20 ปี และ ณ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รวมทั้งเป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยเนชั่นอีกด้วย

ศ. (พิเศษ) ดร.สาคร สุขศรีวงศ์ ยังได้ทำงานรับใช้ประเทศในหน้าที่ต่างๆอีกหลายตำแหน่ง อาทิ กรรมการรัฐวิสาหกิจ (การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย การประปาส่วนภูมิภาค) ที่ปรึกษารัฐมนตรีหลายกระทรวง กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (The Board of Investment หรือ BOI)

รางวัล แก้

  • รางวัลนิสิตเก่าดีเด่น คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปี พ.ศ. 2550
  • รางวัลเสาเสมาธรรมจักร ประจำปี พ.ศ. 2552 ประเภทผู้ประกอบอาชีพที่มีคุณธรรมและส่งเสริมพุทธศาสนา
  • เข็มเชิดชูเกียรติและโล่ประกาศเกียรติคุณ "คนดีศรีศาสนา" ในโครงการคนดีศรีแผ่นดินประจำปี 2555 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าฯ พระนครเหนือ
  • ปริญญาบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิตกิตตมศักดิ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

ผลงานทางวิชาการ แก้

  1. เรียนบริหารผ่านกรณีศึกษา (CASE STUDY: LEARNING METHOD AND COLLECTIONS). พิมพ์ครั้งแรก. ปี 2554. สำนักพิมพ์ จี.พี. ไซเบอร์พรินท์. ISBN 978-97449638-5-7
  2. การจัดการ: จากมุมมองนักบริหาร (Management from the executive's viewpoint). พิมพ์ครั้งที่ 7. ปี 2554. สำนักพิมพ์ จี.พี. ไซเบอร์พรินท์. ISBN 974-85133-8-6
  3. การพัฒนาพฤติกรรมการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมด้วยการปฏิบัติสมาธิ. จุฬาลงกรณ์วารสาร. 2551. 81: 5-27
  4. สมาธิในพระพุทธศาสนากับการพัฒนาประชาธิปไตยที่ยั่งยืน. 2551. เอกสารวิชาการส่วนบุคคลหลักสูตรการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยสำหรับนักบริหารระดับสูง รุ่นที่ 11 สถาบันพระปกเกล้า
  5. การเปลี่ยนและการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ: กรอบวิเคราะห์และปัจจัยแห่งความสำเร็จ. จุฬาลงกรณ์วารสาร. 2550. 77: 5-35
  6. Investment Criteria of Venture Capital companiesวารสารบริหารธุรกิจ. 2546. 98: 57-77
  7. Venture Capital: Venture Capital Industry in Thailand จุฬาลงกรณ์วารสาร. 2546. 60: 76-99
  8. Venture Capital: Venture Capital Industries Around the World จุฬาลงกรณ์วารสาร. 2545. 57: 81-98

อ้างอิง แก้

  1. "เว็บไซต์คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-03-01. สืบค้นเมื่อ 2007-03-10.
  2. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องการแต่งตั้งศาสตราจารย์พิเศษ
  3. เว็บไซต์บริษัทเงินทุน กรุงเทพธนาทร จำกัด(มหาชน)
  4. "เว็บไซต์สถาบันออกแบบนานาชาติชนาพัฒน์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-27. สืบค้นเมื่อ 2007-03-09.
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ประจำปี ๒๕๕๒ เก็บถาวร 2022-05-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๒ ข หน้า ๒, ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๑๘๕, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-05-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๘, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๔

แหล่งข้อมูลอื่น แก้