สลาฟ (ญี่ปุ่น: Daifugō/Daihinmin, 大富豪/大貧民) เป็นเกมไพ่ชนิดหนึ่ง ที่ผู้เล่น 4 คนหรือมากกว่า 4 คน (ส่วนใหญ่เล่น 4-6 คน, สูงสุด 8 คน)[1]พยายามที่จะทิ้งไพ่ให้หมดจากมือ โดยการเล่นจะผลัดการวางไพ่คนละใบตรงกลางวง โดยให้แต้มมีค่าสูงกว่าไพ่ในกอง เมื่อไม่มีใครสามารถลงไพ่ได้สูงกว่า ให้เริ่มต้นใหม่โดยผู้ลงคนสุดท้ายจะเป็นคนเริ่มต้น โดยผู้ที่ทิ้งไพ่ได้หมดก่อนจะได้เป็นกษัตริย์หรือคิง และผู้ที่เหลือเป็นคนสุดท้ายจะถูกเรียกเป็นสลาฟ ในการเล่นรอบถัดไป สลาฟและคิงจะทำการแลกไพ่กัน 2 ใบ ส่วนรองสลาฟและควีนจะแลกไพ่กัน 1 ใบ

สำหรับเกมไพ่สลาฟมีลักษณะการเล่นคล้ายกับบิ๊กทูของจีน และเพรซิเดนท์ของตะวันตก ซึ่งคล้ายกับแอสโฮล

ไพ่ แก้

สำหรับเกมไพ่สลาฟ ใช้ไพ่หนึ่งสำรับ 52 ใบ ซึ่งในบางวัฒนธรรม อาจมีการเพิ่มโจ๊กเกอร์เข้าไปด้วยสองใบ รวมเป็น 54 ใบ สำหรับค่าของไพ่สามารถเรียงจากสูงไปต่ำได้ดังนี้: โจ๊กเกอร์-2-A-K-Q-J-10-9-8-7-6-5-4-3[1] การที่ผู้เล่นคนใดคนหนึ่งมีไพ่มากหรือน้อยกว่าคนอื่นไม่ถือว่ามีผลต่อเกม

ประวัติ แก้

เป็นที่เชื่อกันว่าเกมไพ่ดังกล่าวถือกำเนิดขึ้นในประเทศจีนในคริสต์ทศวรรษ 1970 และได้กลายมาเป็นเกมไพ่ที่ได้รับความนิยมทั่วประเทศญี่ปุ่นในคริสต์ทศวรรษ 1980 และ 1990 โดยในช่วงเวลาดังกล่าว ได้มีการเพิ่มเติมกฎและรูปแบบของเกมขึ้นมาเป็นจำนวนมาก และเป็นที่เชื่อกันอีกเช่นกันว่าสลาฟเป็นเกมไพ่ต้นกำเนิดโดยตรงของเพรซิเดนท์ ซึ่งเป็นเกมไพ่ที่ได้รับความนิยมทางตะวันตกในอีกไม่กี่ปีถัดมา[1]

การเล่น แก้

ในตาแรก ผู้เล่นที่จะได้ลงเป็นคนแรกคือผู้เล่นที่มีไพ่สามดอกจิก จากนั้นจะเวียนไปยังผู้เล่นคนอื่นทางซ้ายหรือทางขวา ผู้เล่นคนแรกสามารถลงไพ่แบบใดก็ได้ โดยวางไพ่หงายไว้ตรงกลางวง

รูปแบบการลง แก้

  • ไพ่เดี่ยว: เป็นการลงไพ่ใบเดียว ผู้เล่นคนถัดไปจะต้องลงไพ่เดี่ยวที่สูงกว่า หรือ ไพ่สเตจ หรือไพ่ตอง การเล่นไพ่เดี่ยวจะไม่สามารถเล่นไพ่คู่หรือไพ่สี่ได้
  • ไพ่คู่ (แพร์): เป็นการลงไพ่สองใบที่มีค่าเท่ากัน ผู้เล่นคนถัดไปจะต้องลงไพ่คู่ที่สูงกว่า หรือไพ่สี่ การเล่นไพ่คู่จะไม่สามารถเล่นไพ่เดี่ยว ไพ่สเตจ หรือไพ่ตองได้
  • ไพ่ตอง: เป็นการลงไพ่สามใบที่มีค่าเท่ากัน ผู้เล่นคนถัดไปจะต้องลงไพ่ตองที่สูงกว่า
  • ไพ่สเตจ: เป็นการลงไพ่สามใบที่มีค่าเรียงกันจากน้อยไปมากและมีดอกเหมือนกัน ผู้เล่นคนถัดไปจะต้องลงไพ่สเตจที่มีค่าสูงกว่า หรือไพ่ตอง ในกรณี A-2-3 หรือ 2-3-4 ไม่ถือว่าเป็นไพ่สเตจ เพราะค่าของ 2 และ 3 ไม่ได้เรียงกัน
  • ไพ่สี่: เป็นการลงไพ่สี่ใบที่มีค่าเท่ากัน ผู้เล่นคนถัดไปจะต้องลงไพ่สี่ที่สูงกว่า

โจ๊กเกอร์สามารถใช้แทนไพ่ใบใดก็ได้ในไพ่คู่ ไพ่ตอง ไพ่สี่ หรือไพ่สเตจ การลงไพ่ที่มีโจ๊กเกอร์อยู่ด้วยให้ถือว่ามีดอกและค่าตามที่ผู้เล่นต้องการ อย่างเช่น 8-8 มีค่าเท่ากับ 8-โจ๊กเกอร์ และไพ่สเตจ 9-10 โจ๊กเกอร์ ก็มีค่าเท่ากับ 9-10-J[1]

กฎพิเศษ แก้

  1. ในบางที่ ถ้าควีนรักษาตำแหน่งไม่ได้ก็ไม่ต้องตกไปเป็นรองสลาฟด้วย
  2. พีเพิล หรือประชาชน สามารถ ทำการค้าขายกันเองได้ โดยในช่วงที่ คิงกับสลาฟ และ ควีนกับรองสลาฟ แลกไพ่กัน พีเพิลสามารถแลกไพ่กันเองได้หนึ่งใบ โดยห้ามบอกกันว่าไพ่นั้นคืออะไร(ให้คว่ำไพ่ไว้ข้างหน้ารอให้มีพีเพิลด้วยกันมาแลก สามารถโฆษณาได้แต่ไม่จำเป็นต้องไม่พูดความจริง)
  3. ที่ฮ่องกง และ มาเก๊า มี กฎ พิเศษ ดังนี้
    1. เพิ่มไพ่ชุดเรียง ต้องมีดอกเดียวกันและเลขเรียงกันตั้งแต่สามใบขึ้นไป แต่ สามไม่สามารถต่อกับสองได้
    2. เรียงที่มีจำนวนไพ่เป็นเลขคู่(เรียงสี่ใบ เรียงหกใบ)ตบชุดคู่และสี่ใบเหมือนได้
    3. เรียงที่มีจำนวนไพ่เป็นเลขคี่(เรียงสามใบ เรียงห้าใบ)ตบชุดเดี่ยวและตองได้
    4. เรียงที่มีจำนวนไพ่เท่ากันให้ดูที่แต้มของไพ่ที่มีค่ามากที่สุดในแต่ละชุด
    5. เรียงที่มีจำนวนไพ่มากกว่า ตบ เรียงที่มีจำนวนไพ่น้อยกว่า ได้
    6. เมื่อใดก็ตามที่มีการตบด้วยเรียง ค่าของไพ่จะกลับตารปัตร ทั้งหมด คือ 3 ดอกจิกสูงสุดและ 2 โพดำต่ำสุด แต่ลำดับการตบยังคงเดิม

ชื่อเรียกอื่น แก้

สลาฟ ในต่างประเทศมีชื่อเรียกที่หลากหลาย เพรซิเดนต์ (President) แอสส์โฮล (Asshole) หรือ อาร์สโฮล (Arsehole) เป็นชื่อของเกมไพ่ลักษณะคล้ายกันที่เล่นในสหรัฐอเมริกา

เกมมือถือ แก้

ปัจจุบันมีการพัฒนาเกมสลาฟในรูปแบบของเกมมือถือหลากหลายเกม เกมเฮฮาสักตาสิ เกมที่รวมเกมไพ่หลากลายเกมเอาไว้ รวมถึง ไพ่สลาฟ





อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 Dai Fugō / Dai Hinmin. สืบค้น 20-1-2554.