สละ (ปาล์ม)

สปีชีส์ของพืช
สละ
ผลสละ
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Monocots
ไม่ได้จัดลำดับ: Commelinids
อันดับ: Arecales
วงศ์: Arecaceae
สกุล: Salacca
สปีชีส์: S.  zalacca
ชื่อทวินาม
Salacca zalacca
(Gaertn.) Voss
ชื่อพ้อง

Calamus zalacca
Salacca edulis

สละ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Salacca zalacca; มลายู: salak) เป็นพืชในวงศ์ปาล์มและอยู่ในสกุลเดียวกับระกำ ลักษณะต้นเป็นทรงพุ่มคล้ายระกำ มีหนามแหลมแข็ง ออกตามก้านใบ ดอกแยกเพศ สีน้ำตาล แต่เกสรตัวผู้ของสละมักไม่แข็งแรง ผสมติดน้อย เกษตรกรจึงนิยมเอาเกสรตัวผู้ของระกำมาผสม [1] สละออกผลเป็นทะลายเรียก "คาน" ในแต่ละคานมีทะลายย่อยเรียก "กระปุก" ลักษณะผลของสละเป็นทรงยาวรี ผลอ่อนสีน้ำตาล เปลือกเป็นเกล็ดซ้อนกัน ผลแก่กลายเป็นสีแดงอมน้ำตาล บนผลมีขนแข็ง สั้น คล้ายหนาม ลักษณะของผลสละที่ต่างจากผลระกำคือมีเมล็ดเล็กกว่า สีเมล็ดเป็นสีน้ำตาลเข้มกว่า เนื้อสละเป็นสีเหลืองอ่อน ส่วนเนื้อระกำเป็นสีเหลืองอมส้ม สละมีกลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์

พันธุ์สละ แก้

 
ป่าสละใน Bogor ชวาตะวันตก
 
ผลอ่อนของสละ

ประเทศไทย แก้

สละที่มีการปลูกเป็นการค้าในประเทศไทยมีหลายพันธุ์ เช่น [1]

  • พันธุ์เนินวง ผลหัวท้ายเรียว สีส้มอมน้ำตาล หนามยาว ผลดิบฝาดเปรี้ยว ผลสุก หวานหอม เมล็ดเล็ก
  • พันธุ์หม้อ ผลยาว ปลายแหลมเป็นจะงอย เปลือกสีแดงเข้ม
  • พันธุ์สุมาลี ทรงต้นคล้ายระกำ ผลป้อมสั้น เนื้อเป็นสีส้มคล้ายระกำ

ประเทศอินโดนีเซีย แก้

 
สละปนโดะห์ในอินโดนีเซีย

สละเป็นพืชพื้นเมืองของอินโดนีเซียและมีการปลูกทั่วประเทศ มีพันธุ์ที่หลากหลายถึง 30 พันธุ์ พันธุ์ที่นิยมมากที่สุดคือ สละปนโดะห์ (salak pondoh) จาก จังหวัดยอร์กยาการ์ตา และสละบาหลี (salak Bali) จากเกาะบาหลี

  • สละปนโดะห์ เป็นผลไม้ที่สำคัญในจังหวัดยอร์กยาการ์ตา ในช่วง พ.ศ. 2537 - 2542 เคยผลิตได้ถึง 28,666 ตัน สละพันธุ์นี้เป็นที่นิยมบริโภคในอินโดนีเซีย เพราะมีกลิ่นหอมและรสหวาน แบ่งย่อยได้อีกเป็น pondoh super, pondoh hitam (ปนโดะห์ดำ), และ pondoh gading(ปนโดะห์เหลือง)
  • สละบาหลี เป็นพันธุ์ที่พบมากในบาหลี และเป็นที่นิยมในกลุ่มคนพื้นเมืองและนักท่องเที่ยว รสอมเปรี้ยว เนื้อเยอะ พันธุ์ย่อยที่มีราคาแพงที่สุดเรียก gula pasir (น้ำตาลทราย)เป็นพันธุ์ที่ผลเล็กสุดและหวานสุด

การใช้ประโยชน์ แก้

สละนิยมกินเป็นผลไม้สด ทำน้ำผลไม้ หรือนำไปสกัดกลิ่นเพื่อใช้แต่งกลิ่นอาหาร ในอินโดนีเซีย นิยมนำสละบาหลีไปทำเป็นน้ำผลไม้ หรือทำไวน์ [2]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 นิดดา หงส์วิวัฒน์ และทวีทอง หงส์วิวัฒน์. สละ ใน ผลไม้ 111 ชนิด: คุณค่าอาหารและการกิน. กทม. แสงแดด. 2550 หน้า 235 - 237
  2. "Salak wine". November 17, 2011.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  • Supriyadi; Suhardi; M. Suzuki; K. Yoshida; T. Muto; A. Fujita; and N. Watanabe (2002). "Changes in the Volatile Compounds and in the Chemical and Physical Properties of Snake Fruit (Salacca edulis Reinw) Cv. Pondoh during Maturation". J. Agric. Food Chem. 50 (26): 7627–7633. doi:10.1021/jf020620e. PMID 12475281.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)