สรรพันตรเทวนิยม

(เปลี่ยนทางจาก สรรพัชฌัตเทวนิยม)

สรรพัชฌัตเทวนิยม[1] (อังกฤษ: Panentheism) เป็นเทวนิยมรูปแบบหนึ่งที่เชื่อว่าพระเป็นเจ้าทรงสถิตแทรกซึมอยู่ทั่วโลก (ตลอดทั้งจักรวาล) มีลักษณะเป็นแนวคิดสายกลางระหว่างแนวคิดแบบเอกเทวนิยมด้ังเดิมที่มองว่าพระเป็นเจ้าทรงอยู่แยกขาดจากโลก กับแนวคิดสรรพเทวนิยมที่มองว่าพระเป็นเจ้ากับโลกเป็นสิ่งเดียวกัน สรรพัชฌัตเทวนิยมจึงเสนอว่าพระเป็นเจ้าทรงปรากฏพระองค์ในโลก (ไม่ได้แยกขาดจากกัน) แต่พระองค์ก็ไม่ใช่ภาวะเดียวกับโลก แนวคิดนี้ปรากฏในสาขาปรัชญาและเทววิทยามาหลายศตวรรษ แต่มาเฟื่องฟูมากในโลกตะวันตกเมื่อสองศตวรรษที่แล้ว เมื่อศาสนาคริสต์ต้องปรับตัวเข้ากับแนวคิดทางวิทยาศาสตร์[2]

ศาสนาที่มีแนวคิดแบบสรรพัชฌัตเทวนิยม เช่น ศาสนาฮินดูสำนักวิศิษฏาไทฺวตะ เวทานตะ และลัทธิอนุตตรธรรม เป็นต้น

ศัพทมูล แก้

สรรพัชฌัตเทวนิยม แปลมาจากภาษาอังกฤษ Panentheism ซึ่งมีที่มาคำในภาษากรีกโดย pan แปลว่า ทั้งปวง (สรรพ) en แปลว่า ใน (อัชฌัต) theism แปลว่า ความเชื่อว่ามีประเป็นเจ้า (เทวนิยม) Panentheism จึงหมายถึง ความเชื่อว่ามีพระเป็นเจ้าสถิตอยู่ในสรรพสิ่งทั้งปวง

อ้างอิง แก้

  1. กีรติ บุญเจือ, ศาสนาอรรถปริวรรตของมนุษยชาติ (ช่วงพหุนิยม), กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น, 2546, หน้า 326-7
  2. "Stanford Encyclopedia of Philosophy:Panentheism". มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด. 5 กุมภาพันธ์ 2556. สืบค้นเมื่อ 14 พฤษภาคม 2556. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)