สมเด็จพระเจ้าเปตาร์ที่ 1 แห่งเซอร์เบีย

สมเด็จพระเจ้าเปตาร์ที่ 1 แห่งเซอร์เบีย หรือ เปตาร์ที่ 1 การาจอร์เจวิช (ซีริลลิกเซอร์เบีย: Петар I Карађорђевић, อักษรโรมัน: Petar I Кarađorđević; 11 กรกฎาคม [ตามปฎิทินเก่า: 29 มิถุนายน] ค.ศ. 1844 – 16 สิงหาคม ค.ศ. 1921) เป็นพระมหากษัตริย์เซอร์เบียพระองค์สุดท้าย ทรงครองราชย์ตั้งแต่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 1903 ถึง 1 ธันวาคม ค.ศ. 1918 และเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ. 1918 พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งชาวเซิร์บ โครแอต และสโลวีน จนกระทั่งพระองค์เสด็จสวรรคตในอีกสามปีต่อมา ระหว่างรัชสมัยของพระเจ้าเปตาร์ถือเป็นช่วงแห่งความรุ่งเรืองอย่างมากของกองทัพเซอร์เบีย พระองค์เป็นที่จดจำจากประชาชนชาวเซอร์เบียว่าเป็น กษัตริย์ปีเตอร์ผู้ปลดปล่อย และ กษัตริย์ผู้ชรา

สมเด็จพระเจ้าเปตาร์ที่ 1
พระเจ้าเปตาร์ใน ค.ศ. 1904
พระมหากษัตริย์แห่ง
ปวงชนชาวเซิร์บ โครแอต และสโลวีน
ครองราชย์1 ธันวาคม 1918 – 16 สิงหาคม 1921
ถัดไปอาเล็กซานดาร์ที่ 1 แห่งคาราจอร์เจวิช
ผู้สำเร็จราชการอาเล็กซานดาร์ (1918–1921)
พระมหากษัตริย์แห่งเซอร์เบีย
ครองราชย์15 มิถุนายน 1903 – 1 ธันวาคม 1918
ราชาภิเษก21 กันยายน 1904
ก่อนหน้าอาเล็กซานดาร์ที่ 1 แห่งออเบรนอวิช
ผู้สำเร็จราชการอาเล็กซานเดอร์แห่งคาราจอร์เจวิช (1914–1918)
พระราชสมภพ11 กรกฎาคม [ตามปฎิทินเก่า: 29 มิถุนายน] 1844
เบลเกรด เซอร์เบีย
สวรรคต16 สิงหาคม ค.ศ. 1921(1921-08-16) (77 ปี)
เบลเกรด ราชอาณาจักรแห่งชาวเซิร์บ โครแอต และสโลวีน
ฝังพระศพโบสถ์นักบุญจอร์จ
คู่อภิเษกเจ้าหญิงซอร์กาแห่งมอนเตเนโกร (สมรส 1883; เสียชีวิต 1890)
พระราชบุตร
ราชวงศ์การาจอร์เจวิช
พระราชบิดาอาเล็กซานดาร์ คาราจอร์เจวิช
พระราชมารดาเปอร์ซีดา เนนาดอวิช
ศาสนาออร์ทอดอกซ์เซอร์เบีย
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ราชรัฐเซอร์เบีย
 ราชอาณาจักรเซอร์เบีย
ราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย ราชอาณาจักรแห่งชาวเซิร์บ
โครแอต และสโลวีน
ประจำการ1855–58
(สิ้นสุดการปฏิบัติการ)
ชั้นยศวอยวอดา (จอมพล)

พระเจ้าเปตาร์เป็นพระราชนัดดาของเจ้าชายคาราจอร์เจและเป็นพระราชโอรสพระองค์ที่สามในเจ้าชายอเล็กซานเดอร์ คาราจอร์เจวิชและเปอร์ซีดา เนนาดอวิช พระองค์อาศัยอยู่กับครอบครัวที่ถูกเนรเทศและร่วมต่อสู้กับกองทหารต่างด้าวฝรั่งเศสในสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย พระองค์ทรงเข้าร่วมเป็นอาสาสมัครภายใต้นามแฝง "ปีเตอร์ มรคอนจิช" (Peter Mrkonjić) ในการก่อการกำเริบเฮอร์เซโกวีนา (ค.ศ. 1875–1877) เพื่อต่อต้านจักรวรรดิออตโตมัน

พระองค์อภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงซอร์กาแห่งมอนเตเนโกร พระราชธิดาของพระเจ้านิกอลาใน ค.ศ. 1883 ซึ่งพระองค์ให้กำเนิดพระราชบุตรห้าพระองค์ รวมถึงเจ้าชายอเล็กซานเดอร์ด้วย หลังการสิ้นพระชนม์ของพระราชบิดาใน ค.ศ. 1885 พระองค์จึงทรงเป็นผู้นำของราชวงศ์คาราจอร์เจวิช และภายหลังการรัฐประหารโดยกองทัพและการปลงพระชนม์พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งออเบรนอวิชใน ค.ศ. 1903 ทำให้พระองค์ขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์เซอร์เบียในเวลาต่อมา

ในฐานะพระมหากษัตริย์ พระองค์ทรงสนับสนุนการร่างรัฐธรรมนูญของประเทศและการเมืองแบบเสรีนิยมเป็นสำคัญ การปกครองภายใต้กษัตริย์ปีเตอร์ให้ความสำคัญกับเสรีภาพทางการเมือง เสรีภาพสื่อ ความเจริญของชาติ เศรษฐกิจและวัฒนธรรม จึงทำให้บางครั้งถูกเรียกว่า "ยุคทอง" หรือ "ยุคเพริครีน"[1]

พระเจ้าเปตาร์ทรงเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งกองทัพหลวงเซอร์เบียในช่วงสงครามบอลข่าน เนื่องจากพระองค์ทรงมีพระชนมพรรษามาก ทำให้เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน ค.ศ. 1914 มีการประกาศให้พระราชโอรสของพระองค์ เจ้าชายอเล็กซานเดอร์ ผู้เป็นมกุฎราชกุมาร เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

รูปภาพ แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

อ้างอิง แก้

  1. Bataković, Dušan (2017). "On Parliamentary Democracy in Serbia 1903–1914 Political Parties, Elections, Political Freedoms". Balcanica (XLVIII): 123–142. doi:10.2298/BALC1748123B.
ก่อนหน้า สมเด็จพระเจ้าเปตาร์ที่ 1 แห่งเซอร์เบีย ถัดไป
พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งเซอร์เบีย    
พระมหากษัตริย์แห่งชาวเซิร์บ โครแอต และสโลวีน
(คาราจอร์เจวิช)

  สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย
สถาปนาตำแหน่ง    
พระมหากษัตริย์ยูโกสลาเวีย
(คาราจอร์เจวิช)

  สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย