สมเด็จพระธีรญาณมุนี (ธีร์ ปุณฺณโก)

สมเด็จพระธีรญาณมุนี นามเดิม ธีร์ จันทวีระ ฉายา ปุณฺณโก เป็นสมเด็จพระราชาคณะฝ่ายมหานิกาย ได้ตำแหน่งสำคัญในคณะสงฆ์ไทย เช่น เจ้าอาวาสวัดจักรวรรดิราชาวาสวรมหาวิหาร เจ้าคณะใหญ่หนเหนือ เจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก แม่กองงานพระธรรมทูต กรรมการมหาเถรสมาคม และอธิการบดีมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และเป็นผู้ถวายอนุสาสน์ในพระราชพิธีทรงผนวช พันตรี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระบรมมหาราชวัง[1]

สมเด็จพระธีรญาณมุนี

(ธีร์ ปุณฺณโก)
ส่วนบุคคล
เกิด5 เมษายน พ.ศ. 2440 (87 ปี 36 วัน ปี)
มรณภาพ11 พฤษภาคม พ.ศ. 2527
นิกายมหานิกาย
การศึกษาเปรียญธรรม 9 ประโยค
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดจักรวรรดิราชาวาส กรุงเทพมหานคร
บรรพชา5 ธันวาคม พ.ศ. 2453
อุปสมบท8 พฤษภาคม พ.ศ. 2461
ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดจักรวรรดิราชาวาสวรมหาวิหาร
เจ้าคณะใหญ่หนเหนือ
เจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก
อธิการบดีมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์

ประวัติ แก้

วัยเยาว์ แก้

สมเด็จพระธีรญาณมุนี มีนามเดิมว่า ธีร์ จันทวีระ เกิดเมื่อวันจันทร์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2440 ตรงกับวันขึ้น 4 ค่ำ เดือน 5 ปีระกา ภูมิลำเนาอยู่บ้านแดง หมู่ 3 ตำบลตะคุ อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา เป็นบุตรนายอ่ำ-นางอ่อน จันทวีระ ซึ่งมีอาชีพเกษตรกร

อุปสมบท แก้

สมเด็จพระธีรญาณมุนี บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2453 ณ วัดหน้าพระธาตุ จังหวัดนครราชสีมา โดยมีพระอธิการบุญเป็นพระอุปัชฌาย์ จากนั้นย้ายมาศึกษาพระปริยัติธรรมที่วัดจักรวรรดิราชาวาส กรุงเทพมหานคร แล้วอุปสมบทเป็นพระภิกษุในวันพุธที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2461 โดยมีพระมงคลทิพยมุนี (มุ้ย ปณฺฑิโต) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูประสิทธิสมณการ (ต้าน) ขณะเป็นพระครูปลัด เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระคุณาจารวัตร (ใช้ สุวณฺโณ) ขณะเป็นพระครูมงคลวิจิตร เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้ฉายาว่า ปุณฺณโก

การศึกษา แก้

หน้าที่การงานในคณะสงฆ์ แก้

สมณศักดิ์ แก้

ศิษยานุศิษย์ในท่านเจ้าประคุณสมเด็จ แก้

มรณภาพ แก้

คืนวันพฤหัสบดีที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2527 สมเด็จพระธีรญาณมุนี มีอาการเหนื่อยและหายใจไม่ปกติ จึงเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลตากสินในช่วงเช้าวันศุกร์ที่ 11 พฤษภาคม แพทย์ให้นอนพักและรับน้ำเกลือที่โรงพยาบาล ในช่วงบ่ายอาการอาพาธท่านหนักขึ้น ถึงเวลา 16:45 น. ท่านก็มรณภาพด้วยภาวะหัวใจวาย 87 ปี 36 วัน[10]

วันศุกร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2527 เวลา 14:20 น. เจ้าพนักงานเปลื้องเครื่องสุกำศพ แล้วเชิญบุพโพไปเผา ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส ในวันต่อมา เวลา 17:00 น. พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (เมื่อครั้งดำรงพระราชอิสริยยศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร) สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ ไปพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระธีรญาณมุนี ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส[11]

อ้างอิง แก้

เชิงอรรถ
  1. หมายกำหนดการ พระราชพิธีทรงผนวช พันตรี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฏราชกุมาร ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๒๑
  2. ราชกิจจานุเบกษา, การตั้งเปรียญ, เล่ม 37, 14 พฤศจิกายน 2463, หน้า 2623
  3. ราชกิจจานุเบกษา, รายนามพระสงฆ์สามเณรที่สอบไล่พระปริยัติธรรมได้ ใน พ.ศ. ๒๔๖๗ และ ๒๔๖๘, เล่ม 44, ตอน ง, 29 พฤษภาคม 2470, หน้า 616
  4. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนและตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 55, ตอน 0 ง, 13 มีนาคม 2481, หน้า 4165
  5. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 64, ตอน 27 ง, 17 มิถุนายน 2490, หน้า 1529
  6. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 65, ตอน 71 ง, 7 ธันวาคม 2491, หน้า 3964
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 69, ตอน 72 ง, 9 ธันวาคม 2495, หน้า 4618
  8. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนาสมณศักดิ์, เล่ม 80, ตอน 122 ก ฉบับพิเศษ, 27 ธันวาคม 2506, หน้า 9-12
  9. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนาสมณศักดิ์, เล่ม 89, ตอน 202 ก ฉบับพิเศษ, 31 ธันวาคม 2515, หน้า 7-10
  10. สมเด็จ คิด-เขียน-พูด-เทศน์, หน้า (19)
  11. สมเด็จ คิด-เขียน-พูด-เทศน์, หน้า (17)
บรรณานุกรม
  • กรมศิลปากร. เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๒. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2545. 450 หน้า. หน้า 145-148. ISBN 974-417-530-3
  • พระมหาอนันต์ ชยเสโน. การศึกษางานการเผยแผ่ของสมเด็จพระธีรญาณมุนี (ธีร์ ปุณฺณกมหาเถร). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2546. 184 หน้า. หน้า 161-168. ISBN 974-364-068-1 [วิทยานิพนธ์]
  • สมเด็จพระธีรญาณมุนี (ธีร์ ปุณฺณโก). สมเด็จ คิด-เขียน-พูด-เทศน์. กรุงเทพฯ : เจริญรัฐการพิมพ์, 2527. 404 หน้า. หน้า [25] - [??]. [พิมพ์โดยเสด็จพระราชกุศลในการออกเมรุพระราชทานเพลิงศพ สมเด็จพระธีรญาณมุนี (ธีร์ ปุณฺณกมหาเถร) 22 ธันวาคม 2527]