สมาคมพิทักษ์สัตว์แห่งโลก

สมาคมพิทักษ์สัตว์แห่งโลก คือ World Society for the Protection of Animals หรือ WSPA เป็นองค์กรพัฒนาเอกชนนานาชาติ มีสมาชิกระดับท้องถิ่นเข้าร่วมกว่า 800 องค์กรจากกว่า 150 ประเทศ และในประเทศไทย ได้รับพระกรุณาคุณจาก พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เสด็จเป็นประธานในพิธีเปิดสมาคมพิทักษ์สัตว์แห่งโลก สำนักงานใหญ่ ประจำภูมิภาคเอเชีย (WSPA Asia) ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ที่ชั้น 19 ตึกOlympia Thai Tower ทั้งนี้เพื่อจะได้เข้าไปช่วยเหลือและยกระดับสัตว์ในภูมิภาคเชียได้ดียิ่งขึ้น ประเทศไทยสมาคมพิทักษ์สัตว์แห่งโลกมีสมาชิกเข้าร่วม 11 องค์กรด้วยกัน

สมาคมพิทักษ์สัตว์แห่งโลก

WSPA ได้จัดทำโครงการรณรงค์ลงนามสนับสนุน “ปฏิญญาสากลว่าด้วยสวัสดิภาพสัตว์ (Universal Declaration on Animal Welfare หรือ UDAW)” ด้วยการนำรายชื่อของประชาคมโลกจำนวน 10 ล้านรายชื่อ ยื่นต่อองค์การสหประชาชาติ (UN) ภายในปี พ.ศ. 2553 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อโน้มน้าวให้รัฐบาลนานาประเทศตระหนักถึงความสำคัญของสวัสดิภาพสัตว์ในฐานะที่เป็นสิ่งมีชีวิต มีความรู้สึก สามารถรับรู้ถึงความเจ็บปวดและความยินดีได้ พร้อมแสดงให้รัฐบาลเห็นว่าสวัสดิภาพสัตว์เป็นสิ่งจำเป็น และควรพิจารณาออกปฏิญญาสากลว่าด้วยสวัสดิภาพสัตว์ โดยให้ถือเป็นแนวทางปฏิบัติระหว่างประเทศ

ภารกิจหลัก แก้

6 ภารกิจหลักของสมาคมพิทักษ์สัตว์แห่งโลก

  1. คุ้มครองสวัสดิภาพสัตว์เลี้ยง - ให้ความคุ้มครองและพัฒนาสวัสดิภาพ สัตว์เลี้ยงทั่วโลก ให้ได้รับการดูแลเอาใจใส่ พร้อมทั้งรณรงค์ให้มีการ ควบคุมประชากรสัตว์จรจัดอย่างมีมนุษยธรรม ผ่านทางกิจกรรมต่างๆ อาทิ การคุมกำเนิดประชากรสุนัข และดูแลม้าใช้งาน
  2. คุ้มครองสวัสดิภาพสัตว์ป่า - รณรงค์ร่วมไปกับหน่วยงานภาครัฐของท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง เพื่อยุติการหาประโยชน์จากการจับสัตว์มากักขังทั้งเป็น หรือฆ่าอย่างทารุณเพื่อเป็นสินค้า และอาหาร โดยได้สร้างสรรค์กิจกรรมที่เป็นที่รู้จักทั่วโลก เช่น รณรงค์ การยุติฆ่าหมี วาฬ หรือโลมา เพื่อนำมาทำผลิตภัณฑ์หรือเป็นอาหาร
  3. คุ้มครองสัตว์เลี้ยงในระบบฟาร์ม - จุดมุ่งหมายของการรณรงค์คุ้มครองสัตว์เลี้ยงในระบบฟาร์ม ก็เพื่อให้สัตว์เหล่านั้นได้รับการเลี้ยงดูที่ดีตลอดช่วงชีวิตก่อนที่จะถูกนำไปฆ่าเพื่อเป็นอาหารให้กับมนุษย์ และบูรณาการให้กับการคุ้มครองสัตว์ที่ยั่งยืน
  4. ช่วยเหลือสัตว์ในภาวะภัยพิบัติ - ให้การช่วยเหลือสัตว์ที่ได้รับผลจากภัยพิบัติ ไม่ว่าจะจากน้ำมือมนุษย์ หรือภัยธรรมชาติ โดยร่วมงานกับ WHO และองค์กรระดับโลก ด้วยการจัดหาสัตว์แพทย์เข้าไปดูแล สวัสดิภาพและพยาบาลสัตว์ที่ถูกทอดทิ้ง ทั้งในรูปแบบ จัดทำคลินิกเคลื่อนที่ หรือสร้างปัจจัยพื้นฐานให้สัตว์ได้รับความสะดวกสบาย
  5. สร้างความตระหนักรู้ – ให้การศึกษาเยาวชน จัดทำโครงการให้การศึกษาถึงปัญหาการทารุณกรรมสัตว์ แก่ เยาวชน ประชาชนทั่วไป และสมาชิก เพื่อปลูกฝังทัศนคติที่ดีให้กับ เพื่อสร้างแนวร่วมสำคัญแห่งอนาคตที่จะมาสานต่อการส่งเสริมสวัสดิภาพชีวิตให้กับสัตว์ อีกทั้งยังมีโครงการด้านแนวคิดใหม่ สำหรับสวัสดิภาพสัตว์ ให้กับนักศึกษาคณะสัตว์แพทย์
  6. โครงการ UDAW – 10 ล้านชื่อเพื่อปฏิญญาสากล การออกกฎหมายที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญต่อการป้องกันการทารุณกรรมทั่วโลก ดังนั้น โครงการ Universal Declaration on Animal Welfare ของ WSPA จึงจัดขึ้นเพื่อรณรงค์รวบรวม 10 ล้านรายชื่อ ส่งมอบให้องค์กรสหประชาชาติออกปฏิญญาสากล ว่าด้วยสวัสดิภาพสัตว์

องค์กรที่สนับสนุน แก้

รัฐบาล และ องค์กรระหว่างประเทศที่ได้ประกาศสนับสนุน ได้แก่ รัฐบาลสหราชอาณาจักร, ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์, แทนซาเนีย, ลัตเวีย, ลิทัวเนีย, โปแลนด์, สโลวีเนีย, องค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (World Organization for Animal Health หรือ Office International des Epizooties, OIE), สหพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ (International Federation of Organic Agriculture Movements, IFOAM), สหพันธ์สัตวแพทย์แห่งยุโรป (Federation of Veterinarians of Europe, FVE), สมาคมสัตวแพทย์แห่งรัฐที่ปกครองตนเอง (Commonwealth Veterinary Association, CVA), เครือข่ายตะวันออกกลางเพื่อสวัสดิภาพสัตว์ (Middle East Network for Animal Welfare, MENAW) และสมาคมสัตวแพทยศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (Philippine Veterinary Medical Association, PVMA)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้