สมพร อัศวเหม (6 มิถุนายน พ.ศ. 2484 – 13 มิถุนายน พ.ศ. 2550) เป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ และเป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรปราการ 5 สมัย อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ

สมพร อัศวเหม
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
ดำรงตำแหน่ง
29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 – 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540
นายกรัฐมนตรีชวลิต ยงใจยุทธ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด6 มิถุนายน พ.ศ. 2484
อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ
เสียชีวิต13 มิถุนายน พ.ศ. 2550 (66 ปี)
เขตบางกอกน้อย จังหวัดกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองพรรคราษฎร
คู่สมรสวิไล อัศวเหม

ประวัติ แก้

สมพร เกิดเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2484 ที่จังหวัดสมุทรปราการ เป็นบุตรของนายสุขะชัย กับนางสำอางค์ อัศวเหม มีพี่ชายคือ วัฒนา อัศวเหม และ สมศักดิ์ อัศวเหม (เป็นพี่ชายของอัครวัฒน์ อัศวเหม) เขาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากสถาบันราชภัฏธนบุรี[1] เขาเสียชีวิต ด้วยโรคมะเร็งเม็ดเลือด เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2550[2]

นายสมพร สมรสกับนางวิไล อัศวเหม มีบุตร 3 คน คือ วรพร อัศวเหม วรพล อัศวเหม และชยุตม์วัฒน์ อัศวเหม

การทำงาน แก้

สมพร อัศวเหม ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรปราการครั้งแรกในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2531 สังกัดพรรคราษฎร และได้รับเลือกตั้งอีก 3 สมัยในสังกัดพรรคชาติไทย และในปี พ.ศ. 2539 สังกัดพรรคประชากรไทย และเขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ[3] จนกระทั่งนายกรัฐมนตรีลาออกจากตำแหน่งในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2540 ต่อมาเป็นรองหัวหน้าพรรคราษฎร[4] ในปี 2542

ในปีเดียวกันนั้นเขาเป็นหนึ่งในสมาชิกกลุ่มงูเห่า ที่หันไปสนับสนุนนายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี ต่อมาในปี พ.ศ. 2544 เขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคราษฎร แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง

นายสมพร ได้รับเลือกตั้งเป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ จนกระทั่งเสียชีวิตในปี 2550

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย]
  2. นายก อบจ.เมืองปากน้ำ เสียชีวิตแล้วด้วยโรคมะเร็งในเม็ดเลือด
  3. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๙ ราย)
  4. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรคราษฎร พ.ศ. 2541 (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม) (แก้ไขเพิ่มเติม ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2542) และคณะกรรมการบริหารพรรคราษฎร
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๒, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๙, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐