สนธิสัญญาชายแดนเยอรมนี-โปแลนด์ (2533)

สนธิสัญญาชายแดนเยอรมนี-โปแลนด์ ในปี พ.ศ. 2533 เป็นการตกลงครั้งสุดท้ายในการกำหนดพรมแดนโปแลนด์-เยอรมนี ซึ่งในแง่ของกฎหมายระหว่างประเทศแล้ว นับเป็นประเด็นปัญหาที่อยู่ในระหว่างการพิจารณามาตั้งแต่ พ.ศ. 2488 สนธิสัญญาดังกล่าวได้รับการลงนามในรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของทั้งสองประเทศ กชือชตอฟ ซกูบีแชฟสกี และฮันส์-ดีทริช เกนเชอร์ เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2533 ได้รับการให้สัตยาบันโดยเซย์มของโปแลนด์ เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2534 และบุนเดสทักของเยอรมนี เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2534 และมีผลบังคับใช้หลังการแลกเปลี่ยนเอกสารการให้สัตยาบันเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2535

สนธิสัญญาชายแดนเยอรมนี-โปแลนด์ (2533)
ประเภทสนธิสัญญาชายแดน
วันลงนาม14 พฤศจิกายน ค.ศ.1990
ที่ลงนามวอร์ซอ, ประเทศโปแลนด์
วันมีผล16 มกราคม ค.ศ.1992
ผู้ลงนามธงของประเทศโปแลนด์ โปแลนด์
ธงของประเทศเยอรมนี เยอรมนี
ภาษาเยอรมัน
โปแลนด์

สนธิสัญญาฉบับดังกล่าวมีชื่อเต็มว่า "สนธิสัญญาระหว่างสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีและสาธารณรัฐโปแลนด์ว่าด้วยการยืนยันพรมแดนระหว่างทั้งสองประเทศ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2534"[1] (เยอรมัน: Vertrag zwischen der Bundesrepublik Deutschland und der Republik Polen über die Bestätigung der zwischen ihnen bestehenden Grenze; โปแลนด์: Traktat między Rzeczpospolitą Polską a Republiką Federalną Niemiec o potwierdzeniu istniejącej między nimi granicy[2])

ประวัติศาสตร์ แก้

ในความตกลงพ็อทซ์ดัมในปี พ.ศ. 2488 ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สองได้กำหนดแนวโอเดอร์-นิซเซเป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างเขตปกครองโซเวียตในเยอรมนีและโปแลนด์ โดยให้การกำหนดพรมแดนด้านตะวันตกของโปแลนด์ครั้งสุดท้ายเกิดขึ้นในการตกลงสันติภาพในภายหลัง สนธิสัญญาซกอแชเล็ตส์ ในปี พ.ศ. 2493 ระหว่างเยอรมนีตะวันออกและสาธารณรัฐประชาชนโปแลนด์ได้ยืนยันพรมแดนดังกล่าวในขั้นสุดท้าย เยอรมนีตะวันตก ซึ่งมองว่าตนเป็นเพียงผู้เดียวที่เป็นผู้สืบทอดทางกฎหมายต่อจากนาซีเยอรมนี และไม่ยอมรับสถานะของเยอรมนีตะวันออก ยืนกรานว่าการตกลงขั้นสุดท้ายในปัญหาพรมแดนเยอรมนี-โปแลนด์จะต้องได้รับการยอมรับจากประเทศเยอรมนีที่รวมประเทศแล้วในอนาคตเท่านั้น ถึงแม้ว่าในทางปฏิบัติทั้งหมด เยอรมนีตะวันตกจะได้ยอมรับแนวโอเดอร์-นิซเซเป็นพรมแดนระหว่างทั้งสองประเทศแล้วตามสนธิสัญญาวอร์ซอ (2513) คำเคือนทางกฎหมานว่ามีเพียงสนธิสัญญาสันติภาพในอนาคตเท่านั้นจึงจะตกลงปัญหาดังกล่าวได้อย่างเป็นทางการยังคงมีผลอยู่

หลังจากการรวมประเทศเยอรมนีเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2533 ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ให้อธิปไตยสมบูรณ์แก่เยอรมนีโดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องให้การรับรองครั้งสุดท้ายต่อแนวโอเดอร์-นิซเซ ดังที่ระบุไว้ในมาตรา 1.2 ของสนธิสัญญาว่าด้วยการตกลงขั้นสุดท้ายเกี่ยวกับดินแดนเยอรมนี[3] การลงนามในสนธิสัญญาระหว่างเยอรมนีและโปแลนด์ในการรับรองแนวโอเดอร์-นิซเซเป็นพรมแดนภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศเป็นหนึ่งในเงื่อนไขของสนธิสัญญารวมประเทศระหว่างเยอรมนีตะวันตกและเยอรมนีตะวันออกซึ่งได้รับการลงนามและมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2533 โปแลนด์ยังได้ต้องการให้สนธิสัญญาดังกล่าวยุติความกำกวมที่เกี่ยวข้องกับประเด็นปัญหาด้านแนวพรมแดนตั้งแต่ พ.ศ. 2488

เนื้อหา แก้

ภายใต้เงื่อนไขของสนธิสัญญา ประเทศภาคีสัญญา:

  • ยืนยันแนวพรมแดนตามสนธิสัญญาซกอแชเล็ตส์ในปี พ.ศ. 2493 ตลอดจนรัฐบัญญัติซึ่งควบคุมบังคับในภายหลัง และสนธิสัญญาวอร์ซอ พ.ศ. 2513
  • ประกาศว่าพรมแดนดังกล่าวไม่สามารถถูกละเมิดได้นับจากนี้เป็นต้นไป และรับประกันการเคารพต่อเอกราชและบูรณภาพเหนือดินแดนระหว่างกัน
  • ประกาศว่าทั้งสองประเทศจะต้องไม่มีการอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนระหว่างกัน และจะไม่มีการอ้างสิทธิ์ดังกล่าวในอนาคต

ข้อตกลงดังกล่าวได้รับการเพิ่มเติมโดยสนธิสัญญาความเป็นเพื่อนบ้านและความร่วมมือฉันมิตร ได้รับการลงนามระหว่างเยอรมนีนและโปแลนด์เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2534

อ้างอิง แก้

  1. Treaty between the Federal Republic of Germany and the Republic of Poland on the confirmation of the frontier between them, 14 November 1990(PDF)
  2. "Polsko-niemiecka współpraca". www.pol-niem.pl. สืบค้นเมื่อ 2009-06-06.
  3. "German-American Relations - Treaty on the Final Settlement with Respect to Germany (two plus four)". usa.usembassy.de. สืบค้นเมื่อ 2009-06-06.