สถาปัตยกรรมวิจิตรศิลป์

สถาปัตยกรรมวิจิตรศิลป์ หรือ สถาปัตยกรรมโบซาร์[1] (อังกฤษ: Beaux-Arts architecture) เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมแบบฟื้นฟูคลาสสิกแบบสถาบันที่สอนกันที่สถาบันวิจิตรศิลป์แห่งกรุงปารีส (École des Beaux-Arts) ลักษณะของสถาปัตยกรรมวิจิตรศิลป์เป็นลักษณะของสถาปัตยกรรมที่ผสานคำสอนที่ดำเนินมาเป็นเวลาสองร้อยห้าสิบปีภายในสถาบันต่างๆ ที่เริ่มด้วยราชสถาบันสถาปัตยกรรม ต่อมาหลังจากการปฏิวัติฝรั่งเศสก็ดำเนินโดนแผนกสถาปัตยกรรมของสถาบันวิจิตรศิลป์ การบริหารภายใต้การปกครองระบบโบราณด้านการแข่งขันกรองด์ปรีซ์เดอโรมสาขาสถาปัตยกรรมมีรางวัลให้แก่ผู้ได้รับในการไปศึกษาที่กรุงโรม ซึ่งก็ทำให้มีอิทธิพลต่อแนวคิดของลักษณะของสถาปัตยกรรมที่เกิดขึ้นระหว่างจักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 2 (ค.ศ. 1850-ค.ศ. 1870) และ ที่ 3ที่ตามมา ลักษณะของการสอนที่ทำให้เกิดสิ่งก่อสร้างแบบสถาปัตยกรรมวิจิตรศิลป์ดำเนินต่อมาจนกระทั่งปี ค.ศ. 1968[2]

โรงอุปรากรพาเลส์การ์นิเยร์ (เปิด ค.ศ. 1875)
ศูนย์วัฒนธรรมในอาร์เจนตินา

ลักษณะของสถาปัตยกรรมวิจิตรศิลป์มีอิทธิพลเป็นอันมากต่อสถาปัตยกรรมอเมริกันระหว่างปี ค.ศ. 1880 ถึง ค.ศ. 1920[3] ส่วนลักษณะของสถาปัตยกรรมของประเทศในยุโรปอื่นๆ ระหว่างปี ค.ศ. 1860 ถึง ค.ศ. 1914 มีแนวโน้มที่มีลักษณะที่เป็นลักษณะประจำชาติของตนเองแทนที่มีอิทธิพลจากปารีส สถาปนิกอังกฤษของลักษณะอิมพีเรียลคลาสสิกที่เห็นได้จากงานการสร้างที่ทำการของรัฐบาลในนิวเดลีของเซอร์เอ็ดวิน ลูเต็นสก็มีลักษณะที่แยกออกไปจากสถาปัตยกรรมวิจิตรศิลป์ที่มีเหตุผลมากจากการเมืองทางด้านวัฒนธรรมของปลายคริสต์ศตวรรที่ 19

การฝึก แก้

 
โรงอุปรากรที่ระลึกทหารผ่านศึกซานฟรานซิสโกที่สร้างเสร็จในปี ค.ศ. 1932 เป็นสิ่งก่อสร้างชิ้สุดท้ายของสหรัฐที่เป็นสถาปัตยกรรมวิจิตรศิลป์
 
สิ่งตกแต่งของสิ่งก่อสร้างแบบสถาปัตยกรรมวิจิตรศิลป์เป็นประติมากรรมของเทพีโรมันเทพีโพโมนา และ เทพีไดแอนนา สิ่งที่น่าสังเกตคือลักษณะการวางท่าที่เป็นธรรมชาติของเทพีและงานหินที่สร้างให้ดูเป็นงานหินแบบของเก่า

การฝึกสถาปัตยกรรมวิจิตรศิลป์โดยทั่วไปเน้นตัวอย่างจากสถาปัตยกรรมโรมันระหว่างสมัยจักรพรรดิออกัสตัสจนถึงจักรพรรดิเซเวรัน, สถาปัตยกรรมฟื้นฟูศิลปวิทยาอิตาลี และ สถาปัตยกรรมบาโรกแบบฝรั่งเศสและอิตาลีโดยเฉพาะ แต่การฝึกก็อาจจะประยุกต์ไปใช้กับตัวอย่างของลักษณะสถาปัตยกรรมแบบอื่นเช่นด้านหน้าของคฤหาสต์หรือวังของคริสต์ศตวรรษที่ 15 ของฟลอเรนซ์ หรือ สถาปัตยกรรมกอธิคตอนปลายของฝรั่งเศส แต่สถาปนิกอเมริกันของสมัยสถาปัตยกรรมวิจิตรศิลป์มักจะหันกลับไปใช้สถาปัตยกรรมกรีกเป็นแบบอย่าง ซึ่งมีพื้นฐานที่เกี่ยวพันกับประวัติของการศิลปฟื้นฟูกรีกของอเมริกาของต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19

สถาปัตยกรรมวิจิตรศิลป์เป็นสถาปัตยกรรมที่ใช้การตกแต่งด้วยประติมากรรมตามแนวเส้นที่เป็นอนุรักษนิยมของสมัยใหม่ โดยใช้การตกแต่งแบบบาโรกของฝรั่งเศสและอิตาลีและสูตรของการตกแต่งแบบโรโคโคผสมกับอิมเพรสชันนิสม์และสัจนิยม ด้านหน้าของสิ่งก่อสร้างในภาพประกอบเทพีไดแอนนาเกาะบัวที่นั่งอยู่อย่างธรรมชาติซึ่งเป็นลักษณะที่แท้ของสถาปัตยกรรมวิจิตรศิลป์

สถาปัตยกรรมวิจิตรศิลป์บางแนวก็หันไปทางแมนเนอริสม์ การฝึกก็จะหนักไปในทางการใช้ agrafes ที่เชื่อมระหว่ารายละเอียดของสถาปัตยกรรมแบบหนึ่งกับอีกแบบหนึ่ง, การตีความหมายของรูปทรงซึ่งเป็นลักษณะของบาโรก, และการใช้ปรัชญา อัตวัจนสถาปัตย์ (architecture parlante หรือ speaking architecture) หรือ speaking architecture ซึ่งเป็นความคิดที่ว่าสิ่งก่อสร้างสามารถอธิบายการใช้สอยของตนเอง หรือ ความเป็นสถาปัตยกรรมของตัวเองแก่ผู้เห็นได้

การฝึกสถาปัตยกรรมวิจิตรศิลป์เน้นการเขียนงานร่างแบบความคิดอย่างรวดเร็ว, ภาพวาดลายเส้นแบบทัศนมิติที่คุณภาพสูง, เน้นรายละเอียดของรายละเอียด (Brief), และรายละเอียดของความรู้ของสิ่งก่อสร้าง ส่วนที่ตั้งก็จะเน้นการสร้างในบริบทของความเกี่ยวข้องของสิ่งก่อกับสังคมรอบด้านและในตัวเมือง[4]

อ้างอิง แก้

  1. ราชบัณฑิตยสถานให้ศัพท์บัญญัติของคำว่า “Beaux-Arts” ว่า “โบซาร์”[1] เก็บถาวร 2017-07-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน แต่คำว่า “Beaux-Arts” มักจะแปลว่า “วิจิตรศิลป์” ในบริบทของเนื้อหาที่ไม่เกี่ยวกับสถาปัตยกรรม
  2. Robin Middleton, Editor. The Beaux-Arts and Nineteenth-century French Architecture. (London: Thames and Hudson, 1982).
  3. Klein and Fogle, Clues to American Architecture, 1986, p.38, ISBN 0-913515-18-3.
  4. Arthur Drexler, Editor, The Architecture of the École des beaux-arts. (New York: Museum of Modern Art, 1977).

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ สถาปัตยกรรมวิจิตรศิลป์