สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล มีฐานะเทียบเท่าคณะหนึ่งในมหาวิทยาลัยมหิดล เป็น “สถาบันแห่งชาติ” ด้านการพัฒนาเด็กและครอบครัวหนึ่งเดียวของประเทศ เน้นการมีส่วนร่วมของเด็ก เยาวชน และครอบครัว ทั้งในกระบวนการวิจัย พัฒนา และขับเคลื่อนองค์ความรู้ งานวิจัยบนพื้นฐานของสังคมไทย

สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว
มหาวิทยาลัยมหิดล
National Institute for Child and Family Development, Mahidol University
สถาปนา2 ตุลาคมพ.ศ. 2540
คณบดีรองศาสตราจารย์ นายแพทย์อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์
ที่อยู่
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล
999 ถนนพุทธมณฑล สาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
สี  สีโอโรส
เว็บไซต์https://cf.mahidol.ac.th/th/

ประวัติ แก้

ในปี พ.ศ. 2533 สืบเนื่องจากการประชุมสุดยอดเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ(World Summit for Children) และเมื่อวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2534 รัฐบาลไทยได้ลงนามรับรองปฏิญญาระดับโลกว่าด้วยความอยู่รอดของเด็กและการปกป้องและพัฒนาเด็ก [1]

ต่อมาในปี พ.ศ. 2535 รัฐบาลไทยได้จัดทำแผนปฏิบัติการหลักของปฏิญญาเพื่อเด็กของประเทศไทยซึ่งกำหนดให้มีการจัดตั้งสถาบันวิชาการระดับชาติ สำหรับพัฒนาเด็กให้มีประสิทธิภาพเพื่อเป็นการสนองนโยบายการพัฒนาเด็กและเยาวชนของประเทศ ในแผนปฏิบัติการพัฒนาการศึกษาอบรมเลี้ยงดูเด็กและวัยรุ่น มหาวิทยาลัยมหิดลจึงเสนอเป็นแกนจัดตั้ง "สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว" สำหรับพัฒนาวิชาการเรื่องเด็กและครอบครัวอย่างเป็นองค์รวมเพื่อเพิ่มพลังแก่ครอบครัว โดยจัดการศึกษาวิจัยพัฒนาและผลิตบุคลากรระดับต่างๆ เพื่อการส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของเด็กและครอบครัวตลอดจนการป้องกันและแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมที่เหมาะสมกับบริบทของสังคมวัฒนธรรมและสภาวะโลก

โครงการจัดตั้งสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ได้รับอนุมัติในหลักการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2537 ให้เป็นโครงการใหม่ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานกลางทางวิชาการในระดับชาติในมหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อให้ดำเนินการศึกษาวิจัยและผลิตบุคลากรด้านการพัฒนาเด็กและครอบครัวอย่างผสมผสาน โดยเป็นโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการพัฒนาการศึกษา อบรมเลี้ยงดูเด็กและวัยรุ่น ปีพ.ศ. 2538-2539 และตอบสนองแผนปฏิบัติการหลักของปฏิญญาเพื่อเด็ก ซึ่งได้กำหนดเป้าหมายในการพัฒนาเด็กของประเทศไทยในรอบ 10 ปี(พ.ศ. 2535 - 2544) ซึ่งระบุว่าเมื่อสิ้นสุดแผนฯ 7 จะมีการจัดตั้งสถาบันเพื่อพัฒนาเด็กเป็นเป้าหมายสนับสนุนข้อที่ 16 และดำเนินการอย่างต่อเนื่องในแผนฯ 8 และต่อไป

วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2538 แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายและคณะกรรมการบริหารโครงการจัดตั้งสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว เพื่อดำเนินงานตามนโยบายและแผนงานที่คณะกรรมการนโยบายระดับชาติ

ต่อมา วันที่ 2 ตุลาคมพ.ศ. 2540 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา จัดตั้งเป็น สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล ทำหน้าที่วิจัย พัฒนา และขับเคลื่อนองค์ความรู้ งานวิจัยบนพื้นฐานของสังคมไทย [2]


ทำเนียบผู้อำนวยการ แก้

สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล
รายนามผู้อำนวยการสถาบัน วาระการดำรงตำแหน่ง
1. รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงนิตยา คชภักดี 9 เมษายน พ.ศ. 2541 - 8 เมษายน พ.ศ. 2545 (วาระที่ 1)

9 เมษายน พ.ศ. 2545 - 8 เมษายน พ.ศ. 2549 (วาระที่ 2)

2. รองศาสตราจารย์ ดร.สายฤดี วรกิจโภคาทร 9 เมษายน พ.ศ. 2549 - 8 เมษายน พ.ศ. 2553
3. รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สุริยเดว ทรีปาตี 9 เมษายน พ.ศ. 2553 - 8 เมษายน พ.ศ. 2557 (วาระที่ 1)

9 เมษายน พ.ศ. 2557 - 3 เมษายน พ.ศ. 2561 (วาระที่ 2) [3]

4. รองศาสตราจารย์ นายแพทย์อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ 8 เมษายน พ.ศ. 2561 - ปัจจุบัน [4]

หลักสูตรการศึกษา แก้

ระดับปริญญามหาบัณฑิต แก้

เปิดสอนจำนวน 2 หลักสูตร ได้แก่

  • หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาการมนุษย์ (ภาคปกติและภาคพิเศษ)
  • หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาเด็ก วัยรุ่น และครอบครัว (โครงการร่วมสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี)



อ้างอิง แก้

  1. "ประวัติสถาบัน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-09-21. สืบค้นเมื่อ 2016-12-02.
  2. ราชกิจจานุเบกษา ,พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยมหิดล ทบวงมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2540, 2 ตุลาคม พ.ศ. 2540
  3. คำสั่งสภามหาวิทยาลัยมหิดล ที่ 5/2557,เรื่องแต่งตั้งผู้อำนวยการสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว[ลิงก์เสีย], 3 มีนาคม พ.ศ. 2557
  4. คำสั่งสภามหาวิทยาลัยมหิดล ที่ 16/2561,เรื่องแต่งตั้งผู้อำนวยการสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว เก็บถาวร 2018-08-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 21 มีนาคม พ.ศ. 255761


แหล่งข้อมูลอื่น แก้