สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน)

สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน) (อังกฤษ: Thailand Institute of Justice (Public Organization)) เป็นสถาบันที่ได้จัดตั้งตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2554 [3] เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2554 ภารกิจสำคัญของ TIJ คือ การส่งเสริมให้เกิดการอนุวัติ “ข้อกำหนดกรุงเทพ” หรือข้อกำหนดสหประชาชาติว่าด้วยการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิงและมาตรการที่ไม่ใช่การคุมขังสำหรับผู้กระทำความผิดหญิง (The Bangkok Rules) รวมถึงส่งเสริมมาตรฐานสหประชาชาติอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะด้านเด็กและสตรีในกระบวนการยุติธรรม อีกทั้งยังทำหน้าที่ขับเคลื่อนประเด็นสำคัญต่างๆ ในเวทีระหว่างประเทศ เช่น หลักนิติธรรม การพัฒนา สิทธิมนุษยชน สันติภาพ และความมั่นคง

สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน)
Thailand institute of Justice (Public Organization)
ตราสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน)
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง13 มิถุนายน พ.ศ. 2554 (12 ปี)
สำนักงานใหญ่999 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร
งบประมาณประจำปี147.8667 ล้านบาท (พ.ศ. 2559)[1]
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
ต้นสังกัดหน่วยงาน[[รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม (ไทย)|]]
เว็บไซต์http://www.tijthailand.org

ประวัติ แก้

สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย ตั้งขึ้นมาจากโครงการ ELFI (enhancing lives of female inmates project) ในสังกัดสำนักงานกิจการยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม ซึ่งเป็นโครงการในพระราชดำริของ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ซึ่งเล็งเห็นถึงความสำคัญเกี่ยวกับความอ่อนไหวทางเพศชาย–หญิงของผู้ถูกคุมขังในเรือนจำ พระองค์จึงได้ริเริ่มโครงการดังกล่าวขึ้นมาเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ต้องขังหญิงในเรือนจำซึ่งกลุ่มผู้ต้องขังหญิงเปรียบเสมือนกลุ่มบุคคลที่ถูกลืมจากสังคมเนื่องจากมีจำนวนที่น้อย โดยพระองค์ภาได้ร่วมกับคณะผู้เชี่ยวชาญทางกฎหมาย และกลุ่มสิทธิมนุษยชนในการร่างกฎการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิง และมาตรการที่มิใช่การคุมขังสำหรับผู้กระทำผิดหญิงขึ้น และในท้ายที่สุดพระองค์ได้ทรงผลักดันกฎการปฏิบัติกล่าวนี้จนประสบความสำเร็จ ก้าวขึ้นไปสู่เวทีระดับโลกและได้รับความยอมรับจากสหประชาติในชื่อที่เรียกว่า ข้อกำหนดกรุงเทพ (The Bangkok Rules)

นอกจากนี้ TIJ ยังได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติในฐานะหน่วยงานที่มีความเป็นเลิศด้านการวิจัยและมีศักยภาพด้านการป้องกันอาชญากรรม การพัฒนากระบวนการยุติธรรมทางอาญา และส่งเสริมหลักนิติธรรม โดยในวันที่ 24 พฤษภาคม 2559 สำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Office on Drugs and Crime – UNODC) ได้รับรองสถานะให้ TIJ เป็นสถาบันเครือข่ายแผนงานสหประชาชาติด้านการป้องกันอาชญากรรมและความยุติธรรมทางอาญา (United Nations Programme Network Institutes – PNIs) โดยเป็นสถาบัน PNI ลำดับที่ 18 ของโลก และเป็นสถาบันแรกของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของ PNI

ต่อมาในวันพฤหัสบดีที่ 16 ธันวาคม ปี พ.ศ. 2564 ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน) พ.ศ. ๒๕๖๔ ขึ้นแทนที่พระราชกฤษฎีกาฉบับเดิมที่ถูกยกเลิกไปโดยให้มีผลบังคับใช้นับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาคือในวันศุกร์ที่ 17 ธันวาคม ปี พ.ศ. 2564[4]

อ้างอิง แก้